สธ.เร่งสร้างภูมิคุ้มกันโควิดให้ อสม.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเร่งสร้างภูมิคุ้มกันโควิดให้ อสม. ตั้งเป้าได้วัคซีนเข็มกระตุ้น 3-4 ครบ 100% เป็นต้นแบบที่ดีให้ประชาชน
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเร่งสร้างภูมิคุ้มกันโควิดให้ อสม. ตั้งเป้าได้วัคซีนเข็มกระตุ้น 3-4 ครบ 100% เป็นต้นแบบที่ดีให้ประชาชน
“อนุทิน” ระบุ รัฐบาลพร้อมจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด19 สายพันธุ์ใหม่ ย้ำ เข็มกระตุ้นลดความรุนแรงได้ แนะประชาชน เข้ารับวัคซีนให้ได้อย่างน้อย 4 เข็ม
กรมควบคุมโรค ร่วมกับ พม.ฉีดวัคซีนโควิดเด็กเปราะบาง กระจายวัคซีนไปตามศูนย์ 3,000 โดส เพียงพอฉีดเด็ก 1,000 คน เร่งแผนกระตุ้นการฉีดแบบโมบายยูนิต ประสาน อปท.ร่วมฉีด
นิวเดลี 21 ต.ค. – สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลก ระบุว่าสถาบันฯ จำเป็นต้องทำลายทิ้งวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นเอง หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ โควิชิลด์ จำนวน 100 ล้านโดส เนื่องจากวัคซีนเหล่านี้หมดอายุในเดือนกันยายนที่ผ่านมา นายอดาร์ พูนาวัลลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ของสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย เผยเมื่อวันพฤหัสบดีว่า สถาบันฯ มีวัคซีนโควิชิลด์อยู่ในสตอกราว 100 ล้านโดส และวัคซีนเหล่านี้ซึ่งมีอายุ 9 เดือน หมดอายุในเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยสถาบันฯ ได้หยุดผลิตวัคซีนโควิชิลด์ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีก่อน เนื่องจากประชาชนมีความต้องการฉีดวัคซีนโควิดลดลง ทั้งยังระบุว่าสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียจะหันไปผลิตวัคซีนโควิดของแอสตราเซเนกา เพื่อนำมาใช้ในประเทศแทน ทั้งนี้ มีประชาชนอินเดียกว่าร้อยละ 90 ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิชิลด์ ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขอินเดียระบุว่า มีชาวอินเดียกว่า 2,000 ล้านคนที่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด ในจำนวนนี้มีประชาชนกว่าร้อยละ 70 ที่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 โดส ทางการอินเดียได้เริ่มฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข บุคลากรด่านหน้า และประชาชนอายุตั้งแต่ 60 ปี ที่มีโรคประจำตัว ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ก่อนที่จะเริ่มฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในกลุ่มผู้ใหญ่ […]
รัฐบาลเชิญชวนผู้ปกครอง พาบุตรหลานอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 4 ปี รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้แล้วในโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพิ่มภูมิคุ้มกันเด็กเล็ก ลดเสี่ยงจากแนวโน้มการแพร่ระบาดในต่างประเทศมากขึ้น
กรมควบคุมโรค เผยการฉีดวัคซีนโควิด-19 กระตุ้นในกลุ่มเด็กปฐมวัย อายุ 6 เดือน – 4 ปี เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยสามารถฉีดพร้อมกับวัคซีนอื่นๆ ในวันเดียวกันได้
ราชวิทยาลัยกุมารฯ ย้ำการรับวัคซีนโควิดในเด็กเล็ก 6 เดือน ไม่ถึง 5 ปี มีประโยชน์มากกว่าไม่รับ ฉีดแล้วลดป่วยหนัก เกิด MIS-C และลองโควิด เด็กอาจร้องงอแง หรือไข้ขึ้นบ้าง แต่ 1-2 วันหาย โดยเผยผลการฉีดในสหรัฐ เด็ก 1.5 ล้านคน ไม่มีรายงานผลข้างเคียง ทั้งกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรืออื่น ๆ
จาการ์ตา 30 ก.ย. – อินโดนีเซียอนุมัติใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิดที่ใช้เทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทเวชภัณฑ์ของจีน เป็นกรณีฉุกเฉิน โดยถือเป็นประเทศแรกในโลกที่อนุมัติใช้วัคซีนดังกล่าว สำนักงานอาหารและยาของอินโดนีเซียประกาศอนุมัติใช้วัคซีนโควิดที่ใช้เทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเอ ซึ่งพัฒนาโดยวัลแวกซ์ ไบโอเทคโนโลยี บริษัทเวชภัณฑ์ของจีน เป็นกรณีฉุกเฉิน วัคซีนดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เอดับเบิลยูคอร์นา (AWcorna) ได้รับการพัฒนามาเป็นเวลากว่า 2 ปี และมีประสิทธิภาพต้านทานเชื้อโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม ทั้งนี้ อินโดนีเซียถือเป็นประเทศแรกในโลกที่อนุมัติใช้วัคซีนดังกล่าว ซึ่งเป็นการอนุมัติใช้ก่อนจีนที่เป็นประเทศผู้พัฒนาวัคซีนขนานนี้อีกด้วย สำนักข่าวรอยเตอร์สตั้งข้อสังเกตว่า การอนุมัติใช้วัคซีนดังกล่าวของอินโดนีเซียมีขึ้นอย่างรวดเร็วจนน่าประหลาดใจ เพราะวัลแวกซ์ ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างทดสอบวัคซีนในหลายประเทศรวมถึงอินโดนีเซีย เม็กซิโก และจีน ยังไม่ได้เปิดเผยประสิทธิภาพของวัคซีนในการต้านทานเชื้อโควิดหรืออัตราป้องกันความเสี่ยงจากอาการป่วยหนักหรือเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อ อย่างไรก็ดี เพนนี ลูกิโต หัวหน้าสำนักงานอาหารและยาของอินโดนีเซีย เผยว่า วัคซีนเอดับเบิลยูคอร์นามีประสิทธิภาพต้านทานเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้ร้อยละ 71.17 และต้านทานเชื้อโควิดสายพันธุ์ทั่วไปได้ร้อยละ 83.58 ขณะที่วัลแวกซ์ยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า อินโดนีเซียจะนำวัคซีนดังกล่าวมาใช้เป็นจำนวนเท่าใด เนื่องจากขณะนี้มีชาวอินโดนีเซียกว่าร้อยละ 63 ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิดครบสองโดส ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจากทั่วโลกต่างแนะนำให้ประเทศต่าง ๆ ใช้วัคซีนโควิดชนิดไบวาเลนต์ (bivalent) ซึ่งเป็นวัคซีนที่พัฒนาขึ้นเพื่อต้านเชื้อโควิด 2 สายพันธุ์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ […]
รัฐบาลเดินหน้าให้วัคซีนตามแผนงานแม้โควิด-19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังตั้งแต่ 1 ต.ค. ประชาชนสามารถเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคในสถานพยาบาลหรือจุดบริการได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ต.ค.นี้ ทยอยฉีดเข็ม 1 ในเด็ก 6 เดือน – 4 ปี จำนวน 5 แสนโดส
รองโฆษกรัฐบาล เผยวัคซีนโควิดฝีมือคนไทย ทดลองแล้วเสร็จ ปี 2566 คาดขึ้นทะเบียนนำออกใช้ภายในปี 2567 ด้านวัคซีนเชื้อตายความร่วมมือ อภ.-สถาบัน PATH สหรัฐฯ ขึ้นทะเบียนภายในปีหน้า
“อนุทิน” เผยรัฐบาลไทยเตรียมร่วมมือพัฒนาวัคซีนโควิด19 กับเกาหลี ขณะอธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุหลังปิดศูนย์ฉีดวัคซีนบางซื่อสิ้นเดือนนี้ จะกระจายวัคซีนไปรพ.ทั่วปท.
สธ.เตรียมเดินหน้าฉีดวัคซีนโควิดในเด็กเล็ก 6 เดือนถึง 5 ปี หลัง ครม.เห็นชอบขยายสัญญานำวัคซีนไฟเซอร์มาฉีดให้เด็กเล็ก ในไตรมาส 4 หรือราวเดือน ต.ค. โดย 1 คน รับ 3 เข็ม ขนาด 3 ไมโครกรัม ฉีดที่คลินิกเด็กดี หรือ รพ. คาดมีผู้ปกครองสมัครใจให้เด็กฉีด 60% ส่วนเด็กติดเชื้อแล้ว ต้องรับเข็มกระตุ้นเช่นกัน