ซู จีจะถูกคุมตัวรอขึ้นศาลจนถึงวันพุธ
ทนายความของนางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของเมียนมาเผยกับผู้สื่อข่าวในกรุงเนปิดอว์ว่า ซู จี จะถูกควบคุมตัวเพื่อรอขึ้นศาลจนถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ไม่ได้รับการปล่อยตัวในวันนี้ตามที่คาดหมายในตอนแรก
ทนายความของนางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของเมียนมาเผยกับผู้สื่อข่าวในกรุงเนปิดอว์ว่า ซู จี จะถูกควบคุมตัวเพื่อรอขึ้นศาลจนถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ไม่ได้รับการปล่อยตัวในวันนี้ตามที่คาดหมายในตอนแรก
เอกอัครราชทูตสหรัฐ แคนาดาและ 12 ชาติยุโรปแถลงร่วมกันเรียกร้องให้เมียนมางดใช้ความรุนแรงกับผู้ประท้วงต่อต้านการรัฐประหาร
ย่างกุ้ง 11 ก.พ. – ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารในเมียนมาหลายร้อยคนเดินทางไปรวมตัวกันที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำเมียนมาในนครย่างกุ้ง และกล่าวหารัฐบาลจีนว่าเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลทหาร แม้จีนปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องก็ตาม กลุ่มผู้ประท้วงหลายร้อยคนรวมตัวกันหน้าสถานเอกอัครรราชทูตจีนประจำเมียนมา พร้อมกับชูป้ายที่เขียนข้อความเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีนว่า สนับสนุนชาวเมียนมา อย่าสนับสนุนผู้นำเผด็จการ ผู้ประท้วงคนหนึ่งกล่าวว่า รัฐมนตรีจีนหลายคนดูเหมือนจะแสดงท่าทีสนับสนุนการรัฐประหารของกองทัพเมียนมา ขณะที่สถานทูตจีนประจำเมียนมายังไม่ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น แต่ได้ออกแถลงการณ์ผ่านเฟซบุ๊กในช่วงคืนวานนี้ที่ระบุว่า มีเที่ยวบินขนส่งสินค้าจากจีนเพียงเที่ยวเดียวที่เดินทางมายังเมียนมาเพื่อนำเข้าและส่งออกสินค้าต่าง ๆ เช่น อาหารทะเล และไม่ได้ให้ความสำคัญกับรายงานข่าวในอินเทอร์เน็ตที่ระบุว่า จีนจัดเที่ยวบินพาผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเข้ามาในเมียนมา อย่างไรก็ดี เฟซบุ๊กของสถานทูตจีนประจำเมียนมาไม่สามารถเข้าถึงได้ในวันนี้ ในขณะเดียวกัน นายหวัง เหวินปิน โฆษกกระทรวงต่างประเทศของจีนกล่าวว่า เขาไม่เคยได้ยินเรื่องที่ว่า จีนกำลังส่งอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีไปยังเมียนมา แต่มักจะเกิดข่าวลือหรือข้อมูลปลอมเกี่ยวกับจีนในประเด็นที่เชื่อมโยงกับเมียนมา พร้อมทั้งเน้นย้ำว่า จีนกำลังติดตามสถานการณ์ในเมียนมาอย่างใกล้ชิด และหวังว่าทุกฝ่ายจะยึดถือความมั่นคงและการพัฒนาประเทศชาติเป็นหลัก ทั้งนี้ จีนมักถูกมองด้วยความสงสัยในการสานสัมพันธ์กับเมียนมา ซึ่งมีพรมแดนติดกับจีนและมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ที่สำคัญ อีกทั้งจีนยังสนับสนุนจุดยืนของเมียนมาจากการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากชาติตะวันตกอยู่บ่อยครั้ง สื่อของทางการจีนบางสำนักเรียกการรัฐประหารของกองทัพเมียนมาว่าเป็นการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งใหญ่ของเมียนมา.-สำนักข่าวไทย
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐเปิดเผยวานนี้ว่า เขาอนุมัติคำสั่งพิเศษสำหรับมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ต่อเหล่าผู้นำกองทัพเมียนมาที่ก่อเหตุรัฐประหาร ทั้งยังเน้นย้ำถึงข้อเรียกร้องให้เหล่านายพลสละอำนาจและปล่อยตัวผู้นำพลเรือน
เวลลิงตัน 9 ก.พ. – นิวซีแลนด์ประกาศระงับการติดต่อทางทหารและการเมืองระดับสูงกับเมียนมา ซึ่งถือเป็นการเคลื่อนไหวระหว่างประเทศครั้งสำคัญในการปล่อยให้รัฐบาลทหารเมียนมาอยู่อย่างโดดเดียว หลังจากที่กองทัพก่อเหตุรัฐประหารเมื่อสัปดาห์ก่อน นายกรัฐมนตรีจาซินดา อาร์เดิร์น ของนิวซีแลนด์เรียกร้องให้ประชาคมนานาชาติร่วมกันประณามการก่อรัฐประหารที่เกิดขึ้นในเมียนมา ชาวนิวซีแลนด์ทุกคนรู้สึกเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาจากการกระทำของกองทัพเมียนมา ทั้ง ๆ ที่ชาวเมียนมาต้องพยายามต่อสู้อย่างหนักมาเป็นเวลาหลายปีเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตย นิวซีแลนด์จะใช้มาตรการห้ามการเดินทางของทหารเมียนมาระดับอาวุโส และเรียกร้องให้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) จัดการประชุมวาระพิเศษเพื่อหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าของสถานการณ์ในเมียนมา นางอาร์เดิร์นยังกล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการช่วยเหลือในเมียนมาของนิวซีแลนด์ที่ใช้งบประมาณ 42 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ (911 ล้านบาท) จะยังคงดำเนินต่อไป และจะป้องกันไม่ให้รัฐบาลทหารเมียนมาได้รับผลประโยชน์หรือเข้ามาควบคุมโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้นำนิวซีแลนด์กล่าวยอมรับว่า แม้นิวซีแลนด์มีข้อจำกัดในการใช้อำนาจกดดันกองทัพเมียนมา แต่นางออง ซาน ซู จี ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งของเมียนมาเคยกล่าวขอบคุณเธอเป็นการส่วนตัวที่งานประชุมแห่งหนึ่งสำหรับความช่วยเหลือของรัฐบาลนิวซีแลนด์ในระหว่างที่เมียนมากำลังเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตย.-สำนักข่าวไทย
ย่างกุ้ง 9 ก.พ. – การตรวจหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในประชาชนเมียนมาต้องหยุดชะงักลง หลังกองทัพเมียนมาก่อรัฐประหารที่ทำให้เกิดการต่อต้านด้วยวิธีการอารยะขัดขืนที่นำโดยคณะแพทย์และกลุ่มผู้ชุมนุมทั่วประเทศ ข้อมูลของทางการเมียนมาระบุว่า เมื่อวานนี้ได้ตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาในประชาชน 1,987 คน เป็นสถิติตัวเลขต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคมที่ผ่านมา ทั้งที่เมื่อสัปดาห์ก่อนสามารถตรวจหาเชื้อได้สูงกว่าวันละ 9,000 คน และสูงกว่าวันละ 17,000 คนในช่วงก่อนเกิดเหตุรัฐประหารในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และตั้งแต่เกิดรัฐประหารก็มียอดตรวจหาเชื้อเฉลี่ยวันละ 9,350 คน ขณะที่เมื่อวานนี้เมียนมาพบยอดผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่เพียง 4 คน ซึ่งลดลงอย่างมากจากตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 420 คนในช่วงปลายเดือนก่อน อย่างไรก็ดี กระทรวงสาธารณสุขเมียนมาปฏิเสธให้ความเห็นในประเด็นดังกล่าว แต่ระบุในแถลงการณ์เมื่อวานนี้ว่า กระทรวงได้ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปลายเดือนที่แล้ว ทั้งยังเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนกลับไปปฏิบัติงานตามเดิมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ถือเป็นแนวหน้าในการประท้วงด้วยวิธีการอารยะขัดขืนที่ต่อต้านรัฐประหาร พวกเขาได้นัดกันหยุดงานเพื่อเรียกร้องให้กองทัพเมียนมาปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี ซึ่งเป็นผู้นำประเทศที่มาจากการเลือกตั้ง และยอมรับผลชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ในเดือนพฤศจิกายนปีก่อน ขณะนี้ เมียนมามียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 31,100 คน และผู้เสียชีวิตกว่า 141,000 คน […]
สถานีโทรทัศน์ทางการเมียนมาเตือนว่า จะดำเนินการกับผู้ประท้วงที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ขณะที่ชาวเมียนมาจำนวนมากชุมนุมต่อต้านการรัฐประหารเป็นวันที่สามแล้วในวันนี้
เนปิดอว์ 8 ก.พ. – ตำรวจเมียนมาในกรุงเนปิดอว์ ฉีดน้ำใส่กลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านเหตุรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อน และทำให้นางออง ซาน ซู จี ผู้นำรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งถูกจับตัวไป รอยเตอร์รายงานว่า ได้รับคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นภาพตำรวจเมียนมาฉีดน้ำสลายกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐประหารหลายหมื่นคนที่รวมตัวกันเป็นวันที่สาม และทำให้มีผู้ประท้วงบางส่วนได้รับบาดเจ็บจากการล้มกระแทกพื้น เนื่องจากน้ำที่ฉีดมามีแรงดันสูง ผู้ประท้วงหลายคนต่างพากันตะโกนให้ตำรวจหยุดการกระทำดังกล่าว พร้อมกับตั้งคำถามว่า ทำไมตำรวจถึงกับต้องฉีดน้ำใส่กลุ่มผู้ประท้วงที่ชุมนุมกันอย่างสันติ ในเวลาต่อมาตำรวจเมียนมามีท่าทีหยุดฉีดน้ำแล้วหลังกลุ่มผู้ประท้วงพากันเรียกร้องให้หยุดการกระทำดังกล่าว และมีผู้ประท้วงบางคนนำดอกไม้ไปมอบให้ตำรวจเมื่อกลับมารวมตัวชุมนุมได้อีกครั้ง ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์คนหนึ่งกล่าวกับรอยเตอร์ว่า มีผู้ประท้วงบางคนได้รับบาดเจ็บจากแรงฉีดน้ำที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ และการชุมนุมก็ยังคงดำเนินต่อไปได้แม้ว่าจะมีการฉีดน้ำใส่ก็ตาม ทั้งนี้ การชุมนุมต้านรัฐประหารที่เกิดขึ้นยังคงดำเนินต่อไปอย่างสันติ และไม่รุนแรงจนเกิดเหตุนองเลือดเหมือนกับการชุมนุมทั่วประเทศในปี 2529 และ 2550 แต่การที่ทางการประจำกำลังตำรวจมากขึ้นทำให้เกิดความกังวลว่า สถานการณ์อาจจะเปลี่ยนไปได้. -สำนักข่าวไทย
พระสงฆ์เมียนมากลุ่มหนึ่งเข้าร่วมการชุมนุมต่อต้านรัฐประหารในเมืองย่างกุ้งที่มีการชุมนุมติดต่อกันเป็นวันที่สามแล้วในวันนี้
กลุ่มชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่ในไทย กว่า 300 คน รวมตัวชุมนุมทำกิจกรรมต้านรัฐประหารในเมียนมา ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6
ประชาชนจากชุมชนชาวเมียนมาของออสเตรเลีย ร่วมกับผู้สนับสนุนพรรคเอ็นแอลดี พากันออกมาประท้วงการยึดอำนาจในเมียนมา
ชาวเมียนมาในนครย่างกุ้งหลายพันคน เดินขบวนประท้วงการยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของกองทัพเมียนมา พร้อมเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี