เอ็นจีโอขอยูเอ็นห้ามขายอาวุธให้เมียนมา

นิวยอร์ก 25 ก.พ. – องค์กรนอกภาครัฐหรือเอ็นจีโอเกือบ 140 แห่งจาก 31 ประเทศทั่วโลกร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึกเมื่อวานนี้ เพื่อเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติใช้มาตรการโดยด่วนในการห้ามจำหน่ายหรือจัดส่งอาวุธกับเมียนมา หลังเกิดเหตุรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กลุ่มเอ็นจีโอระบุในจดหมายว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติควรลงมติใช้มาตรการเร่งด่วนในการขอให้ประเทศต่าง ๆ ทั่งโลกหยุดจำหน่ายหรือจัดส่งอาวุธให้เมียนมา เพื่อตอบโต้การก่อรัฐประหารและยับยั้งไม่ให้รัฐบาลทหารเมียนมารังแกประชาชนอีกต่อไป นอกจากนี้ รัฐบาลที่อนุญาตการส่งมอบอาวุธไปให้เมียนมา เช่น จีน อินเดีย อิสราเอล เกาหลีเหนือ ฟิลิปปินส์ รัสเซีย และยูเครน ควรยุติการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในทันที ผู้ที่ร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึก ซึ่งมีเอ็นจีโอในทวีปเอเชียหลายสิบแห่งรวมอยู่ด้วยยังระบุเพิ่มเติมว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติควรใช้มาตรการคว่ำบาตรแบบเจาะจง คำสั่งระงับการเดินทางทั่วโลก และการอายัดทรัพย์สินของเหล่าผู้นำรัฐบาลทหารและเครือบริษัทที่กองทัพเมียนมาเป็นเจ้าของ ขณะที่นายเคนเนธ รอธ ผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอชท์ องค์กรพิทักษ์สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ระบุว่า สิ่งที่คณะมนตรีควรทำอย่างน้อยที่สุดก็คือ การใช้มาตรการห้ามจำหน่ายอาวุธให้กับเมียนมา หลังเกิดเหตุสังหารหมู่ชาวโรฮิงญา การก่ออาชญากรรมสงครามหลายสิบปี และการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้ง.-สำนักข่าวไทย

ยูเอ็นเตือนเมียนมามิให้ตอบโต้ผู้ประท้วงรุนแรง

ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น กล่าวเตือนกองทัพเมียนมาว่า จะต้องพบกับผลกระทบที่รุนแรงตามมา จากการใช้วิธีการรุนแรงใด ๆ ในการตอบโต้การประท้วงต่อต้านการก่อรัฐประหาร

ยูเอ็นว่ามีผู้ถูกจับ 350 คนในเมียนมาตั้งแต่รัฐประหาร

สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าววันนี้ว่า มีผู้ที่ถูกจับกุมในเมียนมามากกว่า 350 คน นับตั้งแต่เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ซึ่งในจำนวนนี้มีทั้งเจ้าหน้าที่ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และพระสงฆ์ บางคนโดนข้อหาในคดีอาญา ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่น่าสงสัยเคลือบแคลงใจ

เริ่มแล้ว! ม็อบเมียนมาต้านรัฐประหาร

กทม.8 ก.พ. – ชาวเมียนมาในไทย เริ่มทำกิจกรรมต่อต้านรัฐประหารหน้า UN ประจำประเทศไทย ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศ บริเวณด้านหน้าองค์การสหประชาชาติ หรือ UN ประจำประเทศไทย เวลาประมาณ 14.30 น. พบว่าเริ่มมีชาวเมียนมาที่พักอาศัยอยู่ในประเทศไทยทยอยเดินทางมาจัดกิจกรรมต่อต้านรัฐประหารในมียนมา พร้อมเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางออง ซานซูจี หญิงชาวเมียนมา เปิดเผยว่า ทำงานเป็นแม่บ้านในไทยมา 20ปี พูดภาษาไทยได้ชัดเจน การชุมนุมก็เพื่อต่อต้านการยึดอำนาจในประเทศของตนเองร่วมกับชาวเมียนมาอีกหลายคน ยืนยันมาชุมนุมวันนี้ พวกตนไม่ได้นัดหมายกันและไม่ต้องการทำร้ายประเทศไทยหรือก่อความวุ่นวาย เพียงขอพื้นที่ในการแสดงออกเท่านั้น โดยทุกคนยินดีให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่และนั่งอยู่ในพื้นที่ที่จัดเอาไว้ไม่ลงถนนไปปิดการจราจร ส่วนช่วงนี้มีการระบาดของโควิด-19 ก็กังวลแต่ได้พยายามป้องกันด้วยการสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่าง ส่วนการรักษาความปลอดภัยที่ทำการ UN มีตำรวจ สน.นางเลิ้ง ยืนสังเกตการณ์และปิดประตูทางเข้าออก โดยเจ้าหน้าที่ขอความร่วมมือผู้ชุมนุม ให้ทำกิจกรรมบริเวณเกาะกลางถนน เพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร.-สำนักข่าวไทย

สหรัฐยกเลิกแผนการเยือนไต้หวันของทูตประจำยูเอ็น

โฆษกหญิงของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ กล่าววานนี้ตามเวลาท้องถิ่นว่า กระทรวงต่างประเทศสหรัฐยกเลิกการเดินทางทั้งหมดในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงแผนการเดินทางเยือนไต้หวันของนางเคลลี คราฟท์ ทูตสหรัฐประจำองค์การสหประชาชาติ

ผอ.โครงการอาหารโลกของยูเอ็นรับรางวัลโนเบล

ผอ.โครงการอาหารโลกของสหประชาชาติ รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แบบเรียบง่าย หลังโครงการอาหารโลกคว้าโนเบลสาขาสันติภาพ จากผลงานความพยายามต่อสู้ความยากจนทั่วโลก

ยูเอ็นชี้ควรเปิดโรงเรียนแม้โควิดระบาด

สหประชาชาติและธนาคารโลกเรียกร้องในรายงานล่าสุดให้โรงเรียนต่าง ๆ เปิดทำการสอนต่อไป แม้มีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19

ยูเอ็นเรียกร้องสืบสวนร่วม จนท. ประมงเกาหลีใต้ถูกสังหาร

สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประจำเกาหลีใต้เรียกร้องให้มีการสอบสวนอย่างเป็นกลางหลังกองทัพเกาหลีเหนือยิงเจ้าหน้าที่ประมงเกาหลีใต้เสียชีวิตกลางทะเลเมื่อเดือนก่อน

นายกฯใหม่ญี่ปุ่นพูดต่อยูเอ็นเป็นครั้งแรก

โตเกียว 26 ก.ย.- นายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูงะของญี่ปุ่นกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) เป็นครั้งแรก ขอให้โลกร่วมกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 และเผยว่าญี่ปุ่นสนับสนุนอาเซียนตั้งศูนย์สาธารณสุข นายซูงะวัย 71 ปีที่เพิ่งรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 กันยายนแถลงทางออนไลน์ในวันนี้ผ่านเทปที่บันทึกล่วงหน้าว่า โรคโควิด-19 นำทุกคนเข้าสู่วิกฤตที่ไม่เคยมีมาก่อน และทำให้ประชาคมโลกหันกลับมาร่วมมือกัน จากเดิมที่มุ่งไปสู่การแบ่งแยกและแยกตัวโดดเดี่ยว ขอเรียกร้องให้ทุกคนสามัคคีเพื่อพลิกวิกฤตในขณะนี้ให้เป็นโอกาสแห่งการกระชับความร่วมมือกัน ญี่ปุ่นสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อการพัฒนาวิธีการรักษา วัคซีนและการวินิจฉัย พยายามสร้างความมั่นใจว่าทุกประเทศรวมทั้งประเทศกำลังพัฒนาจะเข้าถึงอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม และขอสนับสนุนการปฏิรูปองค์การอนามัยโลก นายกรัฐมนตรีซูงะกล่าวว่า เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตสาธารณสุขในอนาคต ญี่ปุ่นจะเพิ่มความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาสร้างโรงพยาบาล ปรับปรุงระบบสุขภาพและการแพทย์ด้วยการสนับสนุนอุปกรณ์และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ขณะนี้กำลังสนับสนุนการสร้างศูนย์อาเซียนด้านเหตุฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ และจะสนับสนุนโครงการเดียวกันนี้ในแอฟริกา ผู้นำญี่ปุ่นยืนยันด้วยว่า จะจัดการแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิกโตเกียวในฤดูร้อนปีหน้าที่ถูกเลื่อนจากปีนี้ เพื่อเป็นเครื่องพิสูจน์ว่ามนุษยชาติสามารถเอาชนะการแพร่ระบาดนี้ได้.-สำนักข่าวไทย

ยูเอ็นอาจจัดประชุมหารือโควิดก่อนสิ้นปี

องค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นเผยว่า เจ้าหน้าที่สหประชาชาติต่างคาดหวังให้จัดการประชุมสมัชชาใหญ่แบบรายคนในนครนิวยอร์กของสหรัฐ เพื่อหารือเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ก่อนสิ้นปีนี้

ยูเอ็นผ่านญัตติโควิดให้อนามัยโลกเป็นแกนนำ

สหประชาชาติ 12 ก.ย.- สมาชิกสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) ผ่านความเห็นชอบอย่างท่วมท้นต่อญัตติรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 โดยให้องค์การอนามัยโลกเป็นแกนนำ มีเพียงสหรัฐและอิสราเอลที่คัดค้าน ญัตติดังกล่าวหารือมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม สมาชิกยูเอ็นผ่านความเห็นชอบเมื่อวานนี้ 169 ประเทศจากทั้งหมด 193 ประเทศ ครอบคลุมหลากหลายแง่มุมเกี่ยวกับการแพร่ระบาด ยอมรับบทบาทนำขององค์การอนามัยโลก และบทบาทพื้นฐานของยูเอ็นในการวิเคราะห์และประสานการรับมือแบบครอบคลุมในระดับโลก ขอให้เพิ่มความร่วมมือระดับสากลและร่วมใจกันควบคุม บรรเทา และเอาชนะการแพร่ระบาดและผลที่ติดตามมา ญัตติยังสนับสนุนตามที่นายอันโตนีโอ กูแตร์เรส เลขาธิการยูเอ็นขอให้แต่ละประเทศหยุดยิงเพื่อเปิดทางให้แก่การต่อสู้กับการแพร่ระบาด เรียกร้องให้ขจัดอุปสรรคอันไม่ชอบธรรมซึ่งหมายถึงการคว่ำบาตรเพื่อให้สามารถเข้าถึงเครื่องไม้เครื่องมือที่ต้องใช้รับมือกับเชื้อไวรัสโคโรนาได้ดีขึ้น ขอให้นานาชาติรักษาห่วงโซ่อุปทานอาหารและผลผลิตการเกษตร สนับสนุนให้นานาชาติมียุทธศาสตร์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกันเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ.-สำนักข่าวไทย

1 14 15 16 17 18 36
...