
อิหร่านเรียกร้องชาติอาหรับ-มุสลิมเผชิญหน้าอิสราเอล
ประธานาธิบดีอิบราฮิม ไรซี ของอิหร่าน เรียกร้องประเทศอาหรับและประเทศมุสลิม ให้ร่วมกันเผชิญหน้ากับอิสราเอลที่กำลังทำสงครามกับกลุ่มฮามาส
ประธานาธิบดีอิบราฮิม ไรซี ของอิหร่าน เรียกร้องประเทศอาหรับและประเทศมุสลิม ให้ร่วมกันเผชิญหน้ากับอิสราเอลที่กำลังทำสงครามกับกลุ่มฮามาส
นายกรัฐมนตรีฝากรัฐบาลหน้าสานต่อโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตต่อยอดสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ ดีใจทูตประเทศมุสลิมชื่นชม
ชาวมุสลิมนิกายซุนนีในเมืองการาจี ของปากีสถาน ประท้วงต่อต้านการเผาพระคัมภีร์อัลกุรอาน หน้ามัสยิดในกรุงสต็อกโฮล์ม
อิรัก อิหร่าน ซาอุดีอาระเบียและประเทศในตะวันออกกลางอื่น ๆ อีกหลายประเทศ ต่างประณามการเผาคัมภีร์อัลกุรอาน โดยชาวอิรักที่อาศัยอยู่ในสวีเดน โดยเตือนว่า การกระทำดังกล่าวเหมือนเป็นการจุดชนวนเผาความรู้สึกของชาวมุสลิมทั่วโลกให้ลุกเป็นไฟ
ชาวมุสลิมทั่วโลกฉลองวันอีฎิ้ลอัดฮา แจกจ่ายเนื้อสัตว์แก่คนยากจน และปฏิบัติศาสนากิจโดยพร้อมเพรียงกัน
เอดินเบอระ 28 มี.ค.- รัฐสภาสกอตแลนด์เตรียมให้การรับรองนายฮัมซา ยูซาฟ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันนี้ และจะเป็นนายกรัฐมนตรีมุสลิมคนแรกของสกอตแลนด์ นายฮัมซา วัย 37 ปี ชนะเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคแห่งชาติสกอต หรือเอสเอ็นพี (SNP) อย่างเฉียดฉิวเมื่อวันจันทร์ สืบทอดตำแหน่งต่อจากนางนิโคลา สเตอร์เจียน วัย 52 ปี ที่ประกาศลาออกอย่างกะทันหันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากดำรงตำแหน่งมานานกว่า 8 ปี นายฮัมซา ถือเป็นผู้นำอายุน้อยที่สุดนับจากมีการตั้งรัฐสภาสกอตแลนด์ในปี 2542 และเป็นผู้นำคนแรกของสกอตแลนด์ที่เป็นชนกลุ่มน้อย บิดามารดาเป็นผู้อพยพมาจากปากีสถาน ขณะที่เขาเกิดที่เมืองกลาสโกว์ของสกอตแลนด์ เขารับปากว่าจะเป็นผู้นำของชาวสกอตทุกคน และจะเริ่มต้นวิถีประชาเพื่อเป็นคนรุ่นที่จะทำให้สกอตแลนด์แยกตัวเป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ดี ผลการสำรวจเมื่อไม่นานมาพบว่า ชาวสกอตที่สนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักร ซึ่งประกอบด้วย อังกฤษ สกอตแลนด์ ไอร์แลนด์เหนือ และเวลส์ อยู่ที่ร้อยละ 45 ไม่ต่างจากผลการลงประชามติเมื่อปี 2557 สมาชิกสภาสกอตแลนด์จะลงมติในวันนี้ เพื่อรับรองให้นายฮัมซาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยจะได้รับการรับรองอย่างแน่นอน เนื่องจากพรรคเอสเอ็นพีเป็นพรรคใหญ่ที่สุดในสภา เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งในวันพุธ หลังจากได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ของอังกฤษ ด้านโฆษกนายกรัฐมนตรีริชี ซูนัค ของอังกฤษ […]
รัฐบาลเปิดตัว e-book “คู่มือเส้นทางท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อมุสลิมและการท่องเที่ยวเชิงอาหาร” ส่งเสริมการท่องเที่ยว 14 จังหวัดภาคใต้ เชื่อมโยงมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์
รัฐบาลอินเดียบล็อกวิดีโอและทวีตที่แชร์สารคดีของบรรษัทกระจายเสียงอังกฤษหรือบีบีซี (BBC) เรื่องนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี พัวพันกับเหตุจลาจลระหว่างศาสนาปี 2545 ที่มีคนเสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 1,000 คน
เจ้าหน้าที่ตำรวจอินโดนีเซียกล่าววันนี้ว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างน้อย 3 ราย ได้รับบาดเจ็บจากเหตุระเบิดที่สถานีตำรวจที่เมืองบันดุง ในจังหวัดชวาตะวันตก และขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบหาที่มาของเหตุระเบิดในครั้งนี้
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เดินทางเยือนเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่จีนกวาดล้างกลุ่มต่อต้านที่รัฐบาลจีนถูกกล่าวหาว่า กักขังชาวมุสลิมอุยกูร์และมุสลิมอื่น ๆ ไว้มากกว่า 1 ล้านคนในค่ายกักกัน
อนุกมธ.งบฯ เพื่อไทย เสนอ 3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นมหานครทางเศรษฐกิจของโลกมุสลิม เปลี่ยนภาพความรุนแรงเป็นเมืองเศรษฐกิจ พร้อมฝาก ศอ.บต-กระทรวงศึกษา-กรมศิลปกร จัดงบบูรณาการเพิ่มศักยภาพพื้นที่
เบงกาลูรู 18 เม.ย.- ตำรวจอินเดียแจ้งว่า มีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 88 คน เนื่องจากพัวพันกับการใช้ความรุนแรงกับตำรวจ หลังจากมีการส่งต่อความเห็นดูหมิ่นชาวมุสลิมไปทั่วสื่อสังคมออนไลน์ ตำรวจเผยว่า ฝูงชนได้รุมทำร้ายตำรวจและทำลายทรัพย์สินสาธารณะในเมืองฮูบลี รัฐกรกณาฏกะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเมื่อคืนวันเสาร์ หลังจากข้อความดูหมิ่นชาวมุสลิมถูกส่งต่อไปทั่ววอตส์แอปป์ (Whatsapp) ที่เป็นแอปพลิเคชันสนทนาทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฝูงชนมารวมตัวใกล้สถานีตำรวจ จากนั้นได้ขว้างก้อนหินใส่ตำรวจ พยายามบุกเข้ามาในสถานีตำรวจและทำลายรถตำรวจ ทั้งที่ตำรวจได้จับกุมผู้โพสต์ข้อความไปแล้ว เหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้ตำรวจบาดเจ็บ 12 นาย ส่วนเมื่อคืนวันอาทิตย์เกิดเหตุรุนแรงในชุมชนในเมืองวาโดดารา รัฐคุชราต ทางตะวันตกของอินเดีย เมื่อฝูงชนชาวฮินดูและชาวมุสลิมขว้างปาก้อนหินเข้าใส่กันจนกลายเป็นเหตุจลาจล มีคนบาดเจ็บอย่างน้อย 3 คน และยวดยานถูกเผา 10 คัน เหตุเกิดหลังจากผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ 2 คันเฉี่ยวชนกัน ช่วงหลายสัปดาห์มานี้ชาวฮินดูและชาวมุสลิมในอินเดียเกิดเหตุวิวาทกันหลายครั้งระหว่างที่มีพิธีกรรมทางศาสนา แต่นายมุกตาร์ อับบาส นัควี รัฐมนตรีกิจการชนกลุ่มน้อยยืนยันระหว่างการให้สัมภาษณ์วานนี้ว่า ความขัดแย้งระหว่างชุมชนทางศาสนาไม่ได้เลวร้ายลงแต่อย่างใด ด้านพรรคภารติยะชนตะของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดีที่สนับสนุนให้กลุ่มสายเคร่งเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องศาสนาฮินดูยืนยันว่า ไม่มีความรุนแรงในชุมชนเพิ่มขึ้น.-สำนักข่าวไทย