
กฟผ. เตือนภัย! มิจฉาชีพ ปลอมหลอกลงทุน
กฟผ. เตือนภัยมิจฉาชีพ ปลอมเป็นพนักงาน กฟผ. ชวนลงทุนกองทุนพลังงานหมุนเวียน บนเว็บไซต์ปลอม
กฟผ. เตือนภัยมิจฉาชีพ ปลอมเป็นพนักงาน กฟผ. ชวนลงทุนกองทุนพลังงานหมุนเวียน บนเว็บไซต์ปลอม
“วีวี่” อดีตทีมงานรายการ The Ghost Radio เข้าให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน บก.สอท.1 กรณีถูกมิจฉาชีพหลอกให้รีวิวสินค้าในแอปพลิเคชัน เพื่อติดตามเส้นทางเงินจากบัญชีม้าของมิจฉาชีพ
ตำรวจย้ำเตือนภัยอาชญากรรมออนไลน์ กลโกงมิจฉาชีพแนบลิงก์ดาวโหลดแอปฯ ปลอมดูดเงิน โดยอ้างชื่อหน่วยงานราชการ เช่น การไฟฟ้าฯ กรมที่ดิน จุดสังเกต SMS จากคนร้ายมักจะมีต่อท้ายลิงก์ด้วย line.cc ขณะที่ทุกธนาคารไม่มีการส่ง SMS แนบลิงก์อีกต่อไป
26 พฤษภาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์เตือนว่า “อย่ารับสาย เบอร์ 1175 ของ AIS เด็ดขาด เพราะมิจฉาชีพสามารถเข้าสู่บัญชีและเอาเงินออกทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องพูด” นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บริษัท AIS ออกประกาศยืนยันว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง และไม่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยหมายเลข 1175 เป็นช่องทางให้ลูกค้าสามารถโทร.เข้ามาสอบถามเกี่ยวกับบริการต่าง ๆ ของเอไอเอส รวมถึงโทร.ติดต่อลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการใช้บริการ เช่น การสมัครแพ็กเกจการใช้งาน และบริการอื่น ๆ เท่านั้น โดยไม่สามารถเข้าถึงบัญชีของประชาชนได้จากการรับสาย ดังนั้นจึงขอความกรุณาหยุดส่งต่อข้อความ ที่อาจสร้างความเข้าใจผิดในวงกว้าง ล่าสุด (21 กรกฎาคม 2566) มีการแชร์ข้อความเพิ่มเติมว่า มิจฉาชีพจะใช้ชื่อ .AIS 1175 โดยให้สังเกตเครื่องหมาย . ที่อยู่ข้างหน้า ทาง AIS ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง การแสดงเบอร์โทรเข้าของหมายเลขดังกล่าวบนหน้าจอมือถือของลูกค้า อาจแสดงได้ทั้งหมายเลข 1175 หรือ .AIS1175 […]
รวบแล้ว “แพรวพราวเจ้าแม่ทุเรียนเก๊” หลังแฝงตัวเข้าสู่โลกตลาด “ทุเรียนออนไลน์” ออกอาละวาดโพสต์ขายทุเรียนทิพย์
ทางการจีนแจ้งว่า เกิดคดีสแกมเมอร์หรือมิจฉาชีพในโลกออนไลน์ใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) ปลอมเป็นเพื่อนสนิทหลอกลวงให้นักธุรกิจรายหนึ่งโอนเงินให้หลายล้านบาท
ตำรวจไซเบอร์ แนะนำประชาชนสแกนใบหน้ายืนยันตัวตนที่สถาบันการเงิน ตัดวงจรภัยออนไลน์
ธ.ก.ส. เตือน! ระวังมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อและตราสัญลักษณ์ธนาคารปล่อยเงินกู้นอกระบบ
จับแล้วหนึ่งในแก๊งปลอมไลน์ผู้ว่าฯ ขอนแก่น หลอกยืมเงินข้าราชการในพื้นที่ สูญกว่า 5 แสนบาท ตำรวจเชื่อทำเป็นขบวนการ
กรุงเทพฯ 11 พ.ค. 66 – รู้ทันมุกใหม่แก๊งมิจฉาชีพ ‘Kid Model’ โมเดลลิ่งปลอม หลอกปั้นเด็กเป็นดาว ที่แท้หวังโกงเงิน กลโกงของคนร้าย 1. มิจฉาชีพโฆษณาผ่านทางเฟซบุ๊กเชิญชวนผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าคัดเลือกเป็นดารา2.ผู้เสียหายหลงเชื่อส่งภาพและคลิปแสดงความสามารถของบุตรหลาน3.มิจฉาชีพหลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันและกดไลก์รูปเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเด็ก พร้อมบอกโอนเงินจำนวนน้อยเป็นการมัดจำ โดยคนร้ายอ้างว่าเป็นการยืนยันว่าสนใจเข้าร่วมและเป็นการทดสอบระบบ จากนั้นจึงโอนเงินคืนผู้เสียหาย4.ครั้งแรกได้รับเงินคืน ครั้งต่อมาให้ดำเนินการตามเดิมแต่มูลค่ายอดรวมสินค้าสูงขึ้น แต่ไม่ได้รับเงิน โดยอ้างว่าระบบมีปัญหา ผิดเงื่อนไข โอนเงินคืนไม่ได้ คนร้ายจะชักชวนและดำเนินการจนผู้เสียหายเชื่อใจ จากนั้นจึงทำการหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินเป็นจำนวนมากและแจ้งว่าทำผิดเงื่อนไข จึงไม่ได้รับเงินคืน ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ⚠️ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน ⚠️ ไม่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพ ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์
12 พฤษภาคม 2566 ครั้งแรกของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท กับการทำละครสั้น “หนูฮาแอนด์บีบี้ ตะลุยภัยไซเบอร์” โดยมีตัวละครสมมติอย่าง “หนูฮา” และ “บีบี้” เด็กสาวสองเพื่อนซี้ มาถ่ายทอดภัยร้ายในมุมมองของผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อบนโลกไซเบอร์ในสถานการณ์ที่หลากหลาย อย่างที่ทราบกันดีว่า ในยุคที่โลกเดินไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด ข่าวสารก็แพร่กระจายได้รวดเร็วไม่ต่างกันผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้คนบางกลุ่มพยายามหาผลประโยชน์จากความสะดวกสบายนี้ หนูฮากับบีบี้จึงมาเป็นตัวแทนของคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน จนในบางทีก็หลงลืมที่จะป้องกันตัวเองจากภัยร้ายบนโลกออนไลน์ หรืออาจจะไม่เคยรู้เรื่องเหล่านี้มาก่อน ละครสั้นสอดแทรกกลลวงบนโลกอินเทอร์เน็ตชุดนี้ เป็นหนึ่งในโปรเจกต์ของนักศึกษาฝึกงานคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาไทยจากรั้ว มศว 4 คน ได้แก่ นางสาวพิชชาภา ชุกชุม (พิชชา) นางสาวพาพร พฤทธิสาริกร (เบลล์) นางสาวกัญญาลักษณ์ ยอดเยี่ยมแกร (นานา) และนางสาวเบญจมา ส้มเช้า (เมย์) น้อง ๆ ทั้งสี่คนได้ร่วมกันผลิตละครสั้นชุดนี้ขึ้นมา ภายใต้การดูแลของ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” หรือที่เรารู้จักกันดีในบทบาทของรายการตรวจสอบข้อมูลเท็จ ที่ออนแอร์ให้ทุกคนได้รับชมกันในช่วงข่าวค่ำของทุกวัน ผ่านช่อง 9 MCOT HD “การที่ทีมผลิตเนื้อหา ยกสถานการณ์ในห้องน้ำมาเป็นสถานที่ในการเล่าเรื่อง […]
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) รวบสมาชิกกระบวนการหลอกลวงสมัครสมาชิกเว็บไซต์ (Golike) กดไลก์ลวงโลก ความเสียหายมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาท