
แล้งหนัก! ชาวบ้าน จ.นครราชสีมา ซื้อน้ำอาบเดือนละ 2,000 บาท
แล้งหนัก! หลายพื้นที่ของ จ.นครราชสีมา แหล่งน้ำแห้งขอด ประชาชนหลายร้อยหมู่บ้านขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ต้องซื้อน้ำจากพ่อค้า ราคาถังละ 150 บาท เฉลี่ยเดือนละ 2,000 บาท
แล้งหนัก! หลายพื้นที่ของ จ.นครราชสีมา แหล่งน้ำแห้งขอด ประชาชนหลายร้อยหมู่บ้านขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ต้องซื้อน้ำจากพ่อค้า ราคาถังละ 150 บาท เฉลี่ยเดือนละ 2,000 บาท
นายกรัฐมนตรี ขอให้ทุกคนช่วยกันประหยัดน้ำในช่วงวิกฤติภัยแล้ง ประหยัดน้ำคนละ 1 นาทีต่อวัน ต่อคน ประหยัดได้ถึง 9 ลิตร คนกรุง 10 ล้านคน ประหยัดน้ำได้ถึง 100 ล้านลิตร หากช่วยกันได้ แล้งนี้ไทยต้องรอด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯสั่งการด่วนให้ทุกหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ทำแผนปฏิบัติการรับมือภัยแล้งทั่วประเทศ
ทำเนียบฯ 7 ม.ค.-ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้ง ว่า ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ในการทำฝนหลวง ที่ขณะนี้ต้องติดตามสภาพอากาศและความหนาแน่นของก้อนเมฆ ซึ่งแต่ละปีในการทำฝนหลวง จะมีขั้นตอนแตกต่างกัน พร้อมมีมาตรการการเยียวยาและป้องกัน เพราะขณะนี้ปริมาณน้ำอยู่ในภาวะวิกฤติที่จะต้องหาทางแก้ไขก่อน ซึ่งในฐานะที่ตนเป็นประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ มีการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำ โดยได้มีการจัดตั้งคณะทำงานศึกษารายละเอียดและนำแนวทางประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาวิธีแก้วิกฤติภัยแล้งที่จะหนักกว่านี้ โดยต้องมีการบูรณาการร่วมกัน.-สำนักข่าวไทย
ปัญหาภัยแล้งขยายวงกว้าง จ.ปทุมธานี แล้งหนัก น้ำน้อยสุดในรอบ 40 ปี น้ำในคลอง 9 ถึงคลอง 11 อ.หนองเสือ แห้งขอด สันดอนดินโผล่ น้ำไม่เพียงพอต่อภาคการเกษตร ชาวไร่ชาวสวนหวั่นขาดทุนสูง วอนหน่วยงานรัฐเข้าช่วยเหลือ
น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ลดต่ำลงต่อเนื่อง กระทบการเลี้ยงปลากระชัง ส่วน จ.ลพบุรี เกษตรกรปลูกชะอมโอดครวญ ปีนี้ภัยแล้งรุนแรง ส่งผลให้ต้นชะอมไม่แตกยอด บางแปลงกำลังยืนต้นตาย
นายกฯ ขอประชาชนเข้าใจปัญหาภัยแล้ง ระบุมีแผนบริหารจัดการน้ำ แต่ยอมรับบางพื้นที่น้ำต้นทุนน้อยเข้าไม่ถึง ชี้ตามกฎหมายขุดดินแลกบ่อสามารถทำได้
ห่วงแล้งเร็ว ! เกษตรจังหวัดสงขลากำชับทุกอำเภอแจ้งเตือนเกษตรกรรับมือน้ำปีนี้อาจไม่พอเพาะปลูก แนะปลูกพืชใช้น้ำน้อย ขณะที่อ่างเก็บน้ำทั้ง 3 แห่ง น้ำยังต่ำกว่าเกณฑ์
ปลัดเกษตรฯ ระบุยังไม่มีพื้นที่เกษตรเสียหายจากภาวะขาดแคลนน้ำ เตรียมพร้อมช่วยเหลือเกษตรกรทุกจังหวัดเสี่ยง
น้ำคลองระพีพัฒน์แห้ง กระทบถนนทรุดลึกกว่า 2 เมตร ชาวบ้านลอบสูบน้ำ หวังช่วยรักษาพืชผลทันเก็บเกี่ยว
ไม่ใช่เฉพาะคนที่กระทบเรื่องน้ำเค็ม ทุเรียนเมืองนนท์บางส่วนยังไม่ติดลูก เกษตรกรเชื่อว่า เป็นเพราะปัญหาภัยแล้ง น้ำทะเลหนุนสูง ทำให้ค่าความเค็มสูง ทำให้น้ำประปามารดทุเรียนไม่ได้ ติดตามจากรายงาน
ภัยแล้งเริ่มคุกคามในหลายพื้นที่ ทั้งที่ยังไม่ถึงฤดูแล้ง แม่น้ำโขงแปรปรวน และลดต่ำจนเห็นสันดอน ขณะที่ชาวนาปากน้ำโพสู้แล้ง ตระเวนคัดดอกอ้อนำมาทำไม้กวาดส่งขาย หลังนาข้าวยืนต้นตายแล้ง ขณะชลประทานนครสวรรค์เตรียมพัฒนาบึงบอระเพ็ดแบบครบวงจร