ผู้ก่อตั้งฟ็อกซ์คอนน์ประกาศตัวชิง ปธน.ไต้หวัน
นายเทอร์รี กัว มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งฟ็อกซ์คอนน์ หนึ่งในผู้รับเหมาผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศวันนี้ว่า จะลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีไต้หวัน ในฐานะผู้สมัครอิสระ
นายเทอร์รี กัว มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งฟ็อกซ์คอนน์ หนึ่งในผู้รับเหมาผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศวันนี้ว่า จะลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีไต้หวัน ในฐานะผู้สมัครอิสระ
ปักกิ่ง 24 พ.ย. – นครเจิ้งโจวในมณฑลเหอหนานของจีน สั่งล็อกดาวน์พื้นที่หลายเขต หลังเกิดเหตุประท้วงรุนแรงขึ้นที่โรงงานผลิตไอโฟนขนาดใหญ่ของฟ็อกซ์คอนน์ บริษัทผู้รับช่วงผลิตให้แก่แอปเปิล อิงค์ ของสหรัฐ นครเจิ้งโจวระบุในประกาศเมื่อคืนวันพุธว่า ประชาชนในนครเจิ้งโจวจะไม่สามารถเดินทางออกนอกเมืองได้ ยกเว้นผู้ที่มีผลตรวจหาเชื้อโควิดเป็นลบและได้รับอนุญาตจากทางการท้องถิ่น ทั้งยังระบุว่า นครเจิ้งโจวแนะนำให้ประชาชนงดออกนอกบ้าน ยกเว้นผู้ที่มีเหตุจำเป็นเท่านั้น โดยจะเริ่มใช้มาตรการนี้เป็นเวลา 5 วันเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ ซึ่งจะทำให้ประชาชนกว่า 6 ล้านคน คิดเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งเมือง ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ นครเจิ้งโจวยังกำหนดให้ประชาชนในพื้นที่ 8 เขตเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิดติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 5 วันเช่นกัน ประกาศดังกล่าวของนครเจิ้งโจวมีขึ้นหลังจากพนักงานของฟ็อกซ์คอนน์ ซึ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีของไต้หวัน ได้รวมตัวกันก่อเหตุประท้วงรุนแรงที่โรงงานผลิตไอโฟนขนาดใหญ่ในนครเจิ้งโจว เนื่องจากไม่พอใจต่อการใช้มาตรการควบคุมโรคโควิดที่เข้มงวดมาเป็นเวลานานหลังพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดในหอพักคนงาน ขณะที่ทางการนครเจิ้งโจวระบุเมื่อวันพุธว่า ขณะนี้ สถานการณ์ระบาดของโรคโควิดในนครเจิ้งโจวยังคงรุนแรงและยากเกินควบคุม ทั้งนี้ นครเจิ้งโจวแจ้งวันนี้ว่า พบผู้ป่วยโควิดรายใหม่ 675 คนเมื่อวันพุธ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโควิดที่ไม่แสดงอาการ ขณะที่ทางการจีนรายงานว่า พบผู้ป่วยโควิดรายใหม่ทั่วประเทศ 31,454 คนเมื่อวันพุธ ทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่พบการระบาดครั้งแรกในประเทศเกือบ 3 ปี. -สำนักข่าวไทย
ปักกิ่ง 2 พ.ย. – จีนสั่งล็อกดาวน์พื้นที่รอบโรงงานของฟ็อกซ์คอนน์ บริษัทผู้รับช่วงผลิตให้แก่แอปเปิล อิงค์ ของสหรัฐ ที่นครเจิ้งโจวในมณฑลเหอหนาน เป็นเวลา 7 วัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตไอโฟนของแอปเปิลอย่างหนัก นครเจิ้งโจวระบุในแถลงการณ์ผ่านวีแชต (WeChat) แอปพลิเคชั่นสมาร์ตโฟนยอดนิยมของจีน ในวันนี้ว่า ทางการจะสั่งล็อกดาวน์พื้นที่รอบโรงงานของฟ็อกซ์คอนน์ในนครเจิ้งโจวจนถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน ขณะที่สำนักข่าวบลูมเบิร์กของสหรัฐ รายงานว่า คำสั่งดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการใช้นโยบายทำให้ยอดผู้ป่วยโควิดเป็นศูนย์ของจีนเพื่อควบคุมการระบาด และมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในโรงงานสำคัญของฟ็อกซ์คอนน์อีกด้วย ขณะนี้ ฟ็อกซ์คอนน์ บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของไต้หวัน กำลังเร่งควบคุมการระบาดของโรคโควิดที่โรงงานในนครเจิ้งโจวและสั่งให้พนักงานราว 200,000 คนกักตัวในที่พัก จนทำให้มีพนักงานจำนวนมากพากันแห่หนีออกมาจากโรงงานเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีข่าวลือในสื่อโซเชียลมีเดียที่ระบุว่ามีพนักงานบางคนติดเชื้อโควิดและเสียชีวิต อย่างไรก็ดี ฟ็อกซ์คอนน์ได้ประกาศเพิ่มเงินค่าจ้างพิเศษ 4 เท่าให้แก่พนักงานที่โรงงานในนครเจิ้งโจว เพื่อบรรเทาความไม่พอใจของพนักงานที่ตกอยู่ภายใต้มาตรการควบคุมโรคโควิดอย่างเข้มงวด พร้อมวางแผนปฏิบัติงานสำรองที่โรงงานแห่งอื่น ๆ ในจีน หากโรงงานที่นครเจิ้งโจวไม่สามารถปฏิบัติงานได้.-สำนักข่าวไทย
ฟ็อกซ์คอนน์ บริษัทผู้รับช่วงผลิตให้แก่แอปเปิล อิงค์ ของสหรัฐ ประกาศเพิ่มเงินพิเศษ 4 เท่าให้แก่พนักงานในโรงงานที่นครเจิ้งโจว ในมณฑลเหอหนานของจีน เพื่อบรรเทาความไม่พอใจของพนักงานที่ถูกใช้มาตรการควบคุมโรคโควิด-19 จนมีคนหนีออกจากโรงงานเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
“ฟอกซ์คอนน์” ซัพพลายเออร์ของ “แอปเปิ้ล” ลงนามในบันทึกความเข้าใจมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์กับกิงบัค ซิตี้ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของเวียดนามเพื่อขยายโรงงานที่อยู่ทางตอนเหนือของเวียดนามเพื่อเพิ่มความหลากหลายและขยายการผลิตสินค้า
ไทเป 10 ส.ค.- เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของไต้หวันต้องการจูงใจให้ฟ็อกซ์คอนน์ ผู้รับช่วงผลิตให้แก่แอปเปิลอิงค์ของสหรัฐยกเลิกการลงทุนมูลค่าเกือบ 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 28,285 ล้านบาท) ในชิงหัว ยูนิกรุ๊ป ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์หรือชิปของจีน หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ รายงานวันนี้อ้างแหล่งข่าวว่า คณะกรรมาธิการในคณะรัฐมนตรีไต้หวันยังไม่ได้อนุมัติการลงทุนดังกล่าวอย่างเป็นทางการ เจ้าหน้าที่สภาความมั่นคงแห่งชาติและสภากิจการแผ่นดินใหญ่ของไต้หวันเห็นว่า จำเป็นต้องขัดขวางการลงทุนดังกล่าว เรื่องนี้ถูกยกระดับขึ้นเป็นประเด็นความมั่นคงแห่งชาติ และมีแนวโน้มจะไม่ผ่านความเห็นชอบจากทางการในช่วงที่สถานการณ์ในช่องแคบไต้หวันทวีความตึงเครียด หลังจากฟ็อกซ์คอนน์เผยเมื่อเดือนกรกฎาคมว่า ได้เป็นผู้ถือหุ้นในชิงหัว ยูนิกรุ๊ป ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของจีน จากการลงทุนมูลค่า 798 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 28,215 ล้านบาท) ผ่านบริษัทในเครือฟ็อกซ์คอนน์ ไต้หวันซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดในโลกมีความกังวลมากขึ้นเรื่องจีนเดินหน้าส่งเสริมอุตสาหกรรมชิปในจีน จึงได้เสนอกฎหมายใหม่ ๆ เพื่อป้องกันการถูกจีนโจรกรรมเทคโนโลยีชิป ท่ามกลางกระแสวิตกเรื่องจีนกำลังเพิ่มการจารกรรมทางเศรษฐกิจกับไต้หวัน รัฐบาลไต้หวันถึงกับห้ามบริษัทต่าง ๆ ตั้งโรงงานผลิตชิปที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในจีน เพื่อเก็บเทคโนโลยีที่ดีที่สุดไว้ในไต้หวัน.-สำนักข่าวไทย
ปักกิ่ง 14 มี.ค. – จีนสั่งล็อกดาวน์เขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้นเมื่อวันอาทิตย์ ซึ่งทำให้บริษัทและผู้ผลิตด้านเทคโนโลยีหลายแห่งได้รับผลกระทบ ในขณะที่จีนพบยอดผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่พุ่งสูงเกือบ 3,400 คน ทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปี ทางการท้องถิ่นของเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีทางตอนใต้ของจีนและมีพรมแดนติดไต้หวัน ประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์เมื่อช่วงค่ำวันอาทิตย์ และสั่งให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้าน เนื่องจากกำลังเผชิญกับการระบาดรุนแรงของโรคโควิด-19 ที่เชื่อมโยงกับฮ่องกง มาตรการล็อกดาวน์และคำสั่งห้ามใช้บริการขนส่งสาธารณะจะมีผลบังคับใช้ไปถึงวันที่ 20 มีนาคม และทางการท้องถิ่นจะตรวจหาเชื้อโควิดในประชาชนเป็นวงกว้างจำนวน 3 รอบ ทั้งนี้ ทางการท้องถิ่นยังระบุว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น ซึ่งมีประชากรราว 17 ล้านคน พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดรายใหม่ 66 คนเมื่อวันอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นจำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับฮ่องกงที่พบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 32,430 คนในวันเดียวกัน นอกจากนี้ ทางการท้องถิ่นของนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเงินของจีน ก็ยังคงใช้คำสั่งให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้าน ส่วนเมืองจี๋หลิน ซึ่งเป็นศูนย์กลางการระบาดของโรคโควิดทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ได้ใช้คำสั่งล็อกดาวน์ในบางพื้นที่เมื่อวันเสาร์ รวมถึงสั่งให้ประชาชนในเมืองหยานจี๋ ซึ่งเป็นเมืองชนบทที่มีพรมแดนติดเกาหลีเหนือ อยู่แต่ในบ้านเมื่อวันอาทิตย์ ในขณะเดียวกัน ฟ็อกซ์คอนน์ ผู้ผลิตเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของไต้หวันและเป็นผู้รับผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้แก่แอปเปิล จำเป็นต้องประกาศระงับการผลิตหลังจีนสั่งล็อกดาวน์พื้นที่บางส่วนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้นและนครเซี่ยงไฮ้เพื่อรับมือกับการระบาดของโรคโควิด ฟ็อกซ์คอนน์ระบุในแถลงการณ์วันนี้ว่า บริษัทจำเป็นต้องสั่งระงับกระบวนการผลิตที่โรงงานในเขตหลงหัวและเขตกวนหลานในเซินเจิ้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าทางการท้องถิ่นจะเปลี่ยนแปลงมาตรการรับมือโรคโควิด ทั้งยังระบุว่า ฟ็อกซ์คอนน์ได้วางแผนใช้โรงงานในเมืองอื่น ๆ […]
ปตท.-ฟ็อกซ์คอนน์ ตั้งบริษัทร่วมทุน HORIZON PLUS เดินหน้าสร้างโรงงานผลิตยานยนต์ EV ครบวงจร ผลักดันไทยสู่ศูนย์กลาง EV อาเซียน เริ่มผลิตสู่ตลาดภายในปี 2567
ปตท. ลงนามร่วมทุน ฟ็อกซ์คอนน์ เตรียมจัดตั้งโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร พร้อมดันไทยสู่ศูนย์กลางอาเซียน เล็งพื้นที่ EEC สร้างโรงงานใหม่ วางระบบการผลิต การบริหาร Supply chain พร้อมตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาทางวิศวกรรม ด้วยเงินลงทุน 1–2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ไทเป 30 ส.ค.- นายเทอร์รี กัว มหาเศรษฐีชาวไต้หวันเผยว่า ได้รับการตอบสนองที่ดีมาก หลังจากขอให้ไบออนเทค บริษัทเวชภัณฑ์ของเยอรมนี เก็บวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ให้ไต้หวันจำนวน 30 ล้านโดส นายกัว วัย 70 ปี ผู้ก่อตั้งฟ็อกซ์คอนน์ บริษัทไต้หวันที่เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ให้แก่แอปเปิลอิงก์ของสหรัฐ โพสต์เฟซบุ๊กยาวเหยียดเมื่อวันอาทิตย์ว่า ได้รับคำมั่นว่าวัคซีน 8-9 ล้านโดสจะส่งถึงไต้หวันภายในปีนี้ เริ่มส่งลอตแรกในเดือนกันยายน เขายังได้ขอให้ไบออนเทคเก็บวัคซีนไว้ให้ไต้หวัน 30 ล้านโดสสำหรับปีหน้า ณ เวลานี้ได้รับการตอบสนองที่ดีมาก ไต้หวันติดขัดปัญหาในการสั่งซื้อวัคซีนของไบออนเทคที่พัฒนาร่วมกับไฟเซอร์ โดยกล่าวหาว่าเป็นเพราะจีนใช้อิทธิพลแทรกแซงทางการเมือง ขณะที่จีนปฏิเสธ ต่อมารัฐบาลไต้หวันได้อนุญาตให้บริษัทไต้หวัน 2 แห่งคือ ฟ็อกซ์คอนน์และไต้หวันเซมิคอนดักเตอร์แมนูแฟคเจอริง (TSMC) เจรจาสั่งซื้อในนามรัฐบาล และเพิ่งลงนามสั่งซื้อ 10 ล้านโดสราคา 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 11,390 ล้านบาท) เมื่อเดือนก่อน เพื่อบริจาคให้รัฐบาลนำไปจัดสรรต่อไป ส่วนวัคซีนที่รัฐบาลไต้หวันสั่งซื้อเองประกอบด้วยโมเดอร์นา แอสตราเนเนกา และเมดิเจนวัคซีนไบโอโลจิกส์คอร์ปที่เป็นบริษัทไต้หวัน จนถึงขณะนี้ประชากรไต้หวัน 23 […]
ทีเอสเอ็มซี และฟ็อกซ์คอนน์ อยู่ระหว่างขั้นตอนลงนามจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 จากบริษัทไบออนเทค ของเยอรมนี หากการเจรจาจัดซื้อวัคซีนสำเร็จ ฟ็อกซ์คอนน์จะบริจาคต่อให้รัฐบาลไต้หวันนำไปฉีดให้ประชาชน
ปตท.ตั้งเป้าผลิตยานยนต์อีวี 1 แสนคัน/ปี เป็นหนึ่งในแผนศึกษาร่วมทุนกับ “ฟ็อกซ์คอนน์” ด้านประธานบอร์ดอีวี เร่งทำตามแผนนำประเทศไทยสู่เป้าหมายผลิตอีวี 30% ปี 2030