ก.ล.ต.สั่งปรับ “สุธี-พีรณัฐ ศิริพรพิทักษ์” รวมกว่า 71.7 ล้านบาท ฐานปั่นหุ้น RPC

ก.ล.ต. ดำเนินคดีด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งกับ “สุธี ศิริพรพิทักษ์-พีรณัฐ ศิริพรพิทักษ์” กรณีสร้างราคาหุ้น บมจ. อาร์พีซีจี (RPC) โดยเรียกให้ชำระเงินตามมาตรการลงโทษทางแพ่ง รวม 71,729,832 บาท รวมทั้งกำหนดระยะเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร

ก.ล.ต.ยื่นอัยการฟ้องแพ่ง ผู้กระทำความผิด 3 ราย ปั่นหุ้น BM

ก.ล.ต.ขอให้พนักงานอัยการฟ้องผู้กระทำความผิด 3 ราย ต่อศาลแพ่ง “นริศร์ พรพัฒนะแจ่มใส-อัจฉราภรณ์ ราชนาจันทร์-ศักดิ์สุมิตร สมรพิทักษ์กุล” กรณีสร้างราคาหุ้น BM ลงโทษขั้นสูงสุด

เกาหลีใต้จับผู้ก่อตั้ง “กาเกา” ข้อหาปั่นหุ้น

โซล 23 ก.ค. – อัยการเกาหลีใต้แจ้งว่า ผู้ก่อตั้งกาเกา (Kakao) บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ ถูกจับกุมในวันนี้ ข้อหาปั่นราคาหุ้น กรณีครอบครองกิจการเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ ที่เป็นบริษัททำธุรกิจเพลงเค-ป็อปรายใหญ่เมื่อปีก่อน ศาลแขวงโซลใต้เปิดการไต่สวน และออกหมายจับนายคิม บอม-ซู ผู้ก่อตั้งกาเกา วัย 58 ปี เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะหลบหนีและทำลายหลักฐาน การไต่สวนมีขึ้นหลังจากเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนอัยการได้สอบปากคำนายคิมฐานต้องสงสัยพัวพันกับการปั่นราคาหุ้นเอสเอ็ม (SM) ในช่วงที่กาเกากับไฮบ์ (Hybe) ที่มีบริษัทลูกเป็นผู้ดูแลวงบีทีเอส (BTS) แข่งกันครอบครองกิจการหรือเทคโอเวอร์เอสเอ็ม และกาเกาเป็นฝ่ายชนะไปในที่สุด อัยการสันนิษฐานว่า กาเกาซื้อหุ้นเอสเอ็มมูลค่า 240,000 ล้านวอน (ราว 6,280 ล้านบาท) ในราคาต่อหุ้นสูงกว่าที่ไฮบ์เสนอซื้อจากนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด 533 ครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ส่งผลให้ราคาหุ้นเอสเอ็มปรับตัวขึ้นอย่างพรวดพราด จากนั้นในเดือนมีนาคม กาเกาและกาเกาเอนเตอร์เทนเมนต์ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในเอสเอ็มร้อยละ 39.87 ทำให้ไฮบ์ซึ่งได้หุ้นร้อยละ 14.8 จากผู้ก่อตั้งเอสเอ็มถอนตัวจากการเทคโอเวอร์เอสเอ็ม มีรายงานว่า นายคิมให้การปฏิเสธระหว่างการสอบปาก โดยกล่าวว่าทราบเรื่องบริษัทจะซื้อหุ้นเอสเอ็ม แต่ไม่ทราบเรื่องกระบวนการแต่อย่างใด นายคิม บอม-ซู ก่อตั้งกาเกาในปี 2553 และขยายกิจการจนขึ้นมาเป็นกลุ่มธุรกิจอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการทั่วโลก […]

ยกฟ้องประธานซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์คดีฉ้อโกงและปั่นหุ้น

โซล 5 ก.พ.- ศาลกรุงโซลของเกาหลีใต้พิพากษายกฟ้องนายอี แจ-ยอง ประธานซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ในวันนี้ข้อหาฉ้อโกงและปั่นหุ้นเรื่องการควบรวมกิจการบริษัทในเครือเมื่อปี 2558 อัยการยื่นฟ้องเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 ให้ศาลพิพากษาจำคุกนายอีวัย 55 ปี เป็นวลา 5 ปี นายอีปฏิเสธว่า ไม่ได้กระทำผิด เขาและผู้บริหารคนอื่น ๆ ทำไปเพราะเชื่อว่าการควบรวมกิจการจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้น คำพิพากษานี้ทำให้นายอีไม่ต้องถูกจำคุกเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่เคยถูกตัดสินในปี 2560 ว่ามีความผิดในคดีติดสินบนเพื่อนของอดีตประธานาธิบดีปัก กึน-ฮี และถูกศาลสูงตัดสินในปี 2564 ให้ตัดสินจำคุก 30 เดือน แต่รับโทษจริง 18 เดือน เพราะประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล อภัยโทษในปี 2565 รัฐบาลเกาหลีใต้ให้เหตุผลในเวลานั้นว่า ต้องการให้เขามาช่วยแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจชาติ อย่างไรก็ดี อัยการยังสามารถอุทธรณ์การยกฟ้องในคดีควบรวมกิจการได้ อัยการระบุในคำฟ้องว่า นายอีและอดีตคณะผู้บริหารละเมิดกฎหมายตลาดทุนด้วยการวางแผนควบรวมกิจการซัมซุง ซีแอนด์ที กับแจอี อินดัสทรีส์ โดยไม่สนใจผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เพราะก่อนการควบรวม ครอบครัวนายอีและผู้เกี่ยวข้องถือหุ้นใหญ่ในแจอี แต่ไม่ได้ถือหุ้นใหญ่ในซัมซุง ซีแอนด์ที ที่เป็นผู้ถือหุ้นหลักในซัมซุง […]

ก.ล.ต.แจ้งความเอาผิด 13 ราย ปั่นหุ้น FVC

ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้กระทำความผิด รวม 13 ราย ต่อ บก.ปอศ. กรณีสร้างราคาและปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ของ FVC พร้อมทั้งแจ้งดำเนินคดีต่อ ปปง.

บุตรชายอดีตผู้นำสิงคโปร์ถูกตั้งข้อหาปั่นหุ้น

บุตรชายของอดีตนายกรัฐมนตรีโก๊ะ จ๊ก ตง ของสิงคโปร์ ถูกตั้งข้อหากระทำความผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์

“เศรษฐา” ชี้ตลาดหุ้นผันผวนบ่อย ทำตลาดทุนไทยขาดความเชื่อมั่น

“เศรษฐา” ตั้งข้อสังเกตตลาดหุ้นผันผวนบ่อย ทำตลาดทุนไทยขาดความเชื่อมั่นจากต่างชาติ ชี้รัฐบาลเพื่อไทย พร้อมสร้างธรรมาภิบาล ดันไทยกลับมาเป็นฮับเศรษฐกิจภูมิภาค

ก.ล.ต.แจ้งความ บก.ปอศ.เอาผิดกลุ่มคน 18 ราย ปั่นหุ้น MORE

“รื่นวดี สุวรรณมงคล” เลขาฯ ก.ล.ต. พร้อมคณะ เข้าแจ้งความ บก.ปอศ. เอาผิดบุคคลที่เกี่ยวข้อง จำนวน 18 ราย กรณีซื้อขายหุ้น MORE ของกลุ่มบุคคลที่เข้าข่ายเป็นการสร้างราคา (ปั่นหุ้น)

ก.ล.ต. ลงโทษทางแพ่ง 14 ราย ปั่นหุ้น

กรุงเทพฯ 8 ก.พ. – ก.ล.ต. ใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิด 14 ราย กรณีสร้างราคาหุ้น SCI GSC ASIAN FLOYD และ RP เรียกให้ชำระเงินรวม 27,398,667 บาท กำหนดระยะเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แจ้งว่าได้ดำเนินคดีด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิด 14 ราย ได้แก่ (1) นายขจรเกียรติ อึ้งอร่าม (2) นางสาวพรทิพย์ เมธีเจริญวงศ์ (3) นางทัศนีย์ แย้มประดิษฐ (นางทัศนีย์) (4) นางสาวมุทิตา เอกะวิภาต (5) นางสาวขณิษากาญจน์ โชคสหพิพัฒน์ (ชื่อเดิม นางสาววริศรา ชัยเจริญปัญญา) (6) นายเมธาสิทธิ์ มั่นชาวนา (7) นางสาวเมทินี สิทธิกรเมธากุล (8) นางสาววริยา เข็มทองประดิษฐ์ (9) […]

มหาเศรษฐีอินเดียยืนยันไม่ได้ใช้สายสัมพันธ์นายกฯ

นิวเดลี 3 ก.พ.- นายโกตัม อดานี มหาเศรษฐีชาวอินเดียยืนยันว่า การที่เขาขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของเอเชียไม่ได้เป็นเพราะมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี นายอดานีวัย 60 ปี เจ้าของอาณาจักรธุรกิจอดานีกรุ๊ป ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์อินเดียทูเดย์ในวันนี้ว่า ความสำเร็จในอาชีพของเขาไม่ได้เกิดจากผู้นำคนใด ข้อกล่าวหาเรื่องเขาสนิทสนมกับนายกรัฐมนตรีโมดีทำให้ธุรกิจเติบโตและรอดพ้นจากการถูกตรวจสอบนั้น เป็นเรื่องไร้มูล สาเหตุที่ถูกจับมาเชื่อมโยงเพราะทั้งคู่มาจากรัฐคุชราตเหมือนกัน นายอดานียืนยันว่า อาณาจักรธุรกิจของเขาขอสินเชื่อจากธนาคารในอินเดียเพียงร้อยละ 32 เท่านั้น เพราะสินเชื่อเกือบครึ่งได้จากการออกหุ้นกู้ในต่างประเทศ นายอดานีหลุดจากตำแหน่งมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของเอเชีย และอันดับ 3 ของโลก หลังจากธุรกิจในเครือถูกเทขายหุ้นอย่างหนัก จนมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดหายไปมากกว่า 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (มากกว่า 3.96 ล้านล้านบาท) คิดเป็นครึ่งหนึ่งของมูลค่าทั้งอาณาจักร นับตั้งแต่ฮินเดนเบิร์ก รีเสิร์ช ในสหรัฐที่ทำธุรกรรมขายชอร์ตหุ้นออกรายงานเมื่อสัปดาห์ก่อนกล่าวหาอดานีกรุ๊ปว่า ฉ้อโกงทางบัญชีและปั่นหุ้นด้วยการอัดฉีดเงินผ่านดินแดนที่มีอัตราภาษีต่ำ ด้านรัฐสภาอินเดียเลื่อนการประชุมในวันนี้เป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากฝ่ายค้านเรียกร้องให้รัฐบาลอนุญาตให้มีการอภิปรายเรื่องนายอดานีและสถาบันการเงินอินเดียที่ทำธุรกรรมกับอดานีกรุ๊ป.-สำนักข่าวไทย

ก.ล.ต.ให้ MORE แจงข้อมูลทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามมติ whitewash

ก.ล.ต. ให้คณะกรรมการ MORE ชี้แจงข้อมูลการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันและการขอผ่อนผันการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น (whitewash)​

1 2
...