fbpx

เผยร่างข้อตกลงฉบับใหม่ COP26 ดันแก้โลกร้อนมากขึ้น

กลาสโกว์ 12 พ.ย. – ร่างข้อตกลงฉบับใหม่ที่เขียนขึ้นในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ของสกอตแลนด์ในวันนี้กดดันให้ประเทศต่าง ๆ ลงมือมากขึ้นในการวางแผนต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน แต่ยังคงมีความก้ำกึ่งระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและประเทศร่ำรวย สำนักข่าวรอยเตอร์สตั้งข้อสังเกตว่า แม้ร่างข้อตกลงฉบับใหม่ยังคงระบุถึงความต้องการหลักของประเทศต่าง ๆ ในการให้คำมั่นสัญญาด้านสภาพอากาศที่เข้มงวดยิ่งขึ้นในปีหน้า แต่กลับใช้ถ้อยคำที่เบากว่าร่างข้อตกลงฉบับเดิมที่ขอให้ประเทศต่าง ๆ เลิกใช้น้ำมันเชื้อเพลงฟอสซิลอย่างค่อยเป็นค่อยไป และพยายามสร้างสมดุลเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากปัญหาสภาพภูมิอากาศและประเทศขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่ต้องพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล นอกจากนี้ แม้ประเทศยากจนจะเห็นด้วยกับการให้ประเทศต่าง ๆ ให้คำมั่นสัญญาเพื่อเพิ่มเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศในปีหน้า และต้องการให้ลงมือมากขึ้นเพื่อรับมือกับภัยน้ำท่วมและไฟป่าที่รุนแรง รวมถึงระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ร่างข้อตกลงฉบับใหม่ก็ใช้ถ้อยคำที่เบากว่าร่างฉบับเดิมและล้มเหลวในเรื่องการทบทวนเป้าหมายประจำปีด้านสภาพภูมิอากาศที่ประเทศกำลังพัฒนาได้ผลักดันให้เกิดขึ้น ร่างข้อตกลงฉบับใหม่ยังระบุว่า การยกระดับคำมั่นสัญญาของแต่ละประเทศควรคำนึงถึงสถานการณ์ที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ ซึ่งหมายถึงความแตกต่างระหว่างประเทศร่ำรวยและประเทศยากจน สำนักข่าวรอยเตอร์สตั้งข้อสังเกตว่า การใช้ถ้อยคำดังกล่าวถือเป็นการปลอบใจประเทศกำลังพัฒนาที่อ้างว่าไม่ยุติธรรมที่จะให้พวกเขาเลิกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลและลดการปล่อยมลพิษในระดับเท่ากับประเทศร่ำรวย ซึ่งปล่อยมลพิษมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกและมีความรับผิดชอบสูงกว่าต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศ.-สำนักข่าวไทย

หวั่นประเทศรายได้น้อยเข้าไม่ถึงยาโมลนูพิราเวียร์

วอชิงตัน 18 ต.ค. – กลุ่มสุขภาพระดับนานาชาติเตือนว่า การผลิตยาเม็ดต้านเชื้อโควิด หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘โมลนูพิราเวียร์’ ของเมอร์ค แอนด์ โค บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐ อาจตอกย้ำปัญหาความไม่เท่าเทียมซ้ำรอยวัคซีนป้องกันโรคโควิดที่ประเทศยากจนจำเป็นต้องใช้ แต่กลับไม่สามารถเข้าถึง กลุ่มสุขภาพระดับนานาชาติยกตัวอย่างเรื่องการฉีดวัคซีนว่า ประชากรของทวีปแอฟริกาได้ฉีดแล้วเพียงร้อยละ 5 ขณะที่ประเทศร่ำรวยส่วนใหญ่มีอัตราฉีดสูงกว่าร้อยละ 70 ดังนั้นการที่เมิร์ค แอนด์ โค ให้ใบอนุญาตแก่ผู้ผลิตยาสามัญหลายราย ทั้งที่ยาโมลนูพิราเวียร์ในชื่อทางการค้าของบริษัทยังไม่ได้รับอนุมัติให้วางจำหน่ายนั้น อาจไม่สามารถทำให้กลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำเข้าถึงยาโมลนูพิราเวียร์ในจำนวนที่เพียงพอกับความต้องการปริมาณมากได้ นอกจากนี้การจัดสรรยายังอาจมีอุปสรรคจากข้อบกพร่องและกฎระเบียบขององค์กรระดับโลก เมิร์ค แอนด์ โค ได้ยื่นเอกสารขออนุมัติใช้ยาโมลนูพิราเวียร์เป็นกรณีฉุกเฉินต่อหน่วยงานกำกับดูแลยาของสหรัฐเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม เพื่อใช้เป็นยารักษาโรคโควิด-19 ขนานแรก หลังผลการทดลองทางคลินิกขนาดใหญ่ระบุว่า ยาดังกล่าวช่วยลดอัตรารักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิตได้ร้อยละ 50 และคาดว่าจะได้รับการอนุมัติเร็วสุดในเดือนธันวาคม เมิร์ค แอนด์ โค ได้วางแผนผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ 10 ล้านคอร์สในปีนี้ และตั้งเป้าผลิตให้ได้ 20 ล้านคอร์สในปี 2565 รวมทั้งได้ให้ใบอนุญาตผลิตยากับบริษัทเวชภัณฑ์ของอินเดีย 8 แห่ง ผลิตยาสามัญที่มีราคาถูกลงให้แก่ประเทศที่มีรายได้ต่ำและมีรายได้ปานกลาง 109 ประเทศ รวมถึงประเทศในทวีปแอฟริกา […]

อนามัยโลกวอนประเทศรวยหยุดฉีดวัคซีนโควิดเข็มสาม

เจนีวา 5 ส.ค. – องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกร้องให้ระงับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เข็มสามเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน เนื่องจากเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำสูงในการฉีดวัคซีนของประเทศร่ำรวยกับประเทศยากจน ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า เขาเข้าใจความวิตกกังวลของรัฐบาลทั่วโลกในการป้องกันประชาชนจากการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาที่พบครั้งแรกในอินเดียและแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่อาจยอมรับได้ว่ามีหลายประเทศที่ใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เป็นส่วนใหญ่จากปริมาณวัคซีนที่มีทั้งหมดทั่วโลกอยู่แล้ว และยังจะใช้วัคซีนมากขึ้นกว่าเดิมอีก ดร. ทีโดรส ระบุด้วยว่า มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการจัดส่งวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ส่วนใหญ่ส่งไปให้ประเทศที่มีรายได้สูง ให้เน้นส่งไปยังประเทศที่มีรายได้ต่ำโดยด่วน นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกยังเผยว่า ประเทศที่มีรายได้สูงได้ฉีดวัคซีนราว 50 โดสต่อประชาชน 100 คนในเดือนพฤษภาคมและเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าหลังจากนั้น ในขณะที่ประเทศที่มีรายได้ต่ำฉีดวัคซีนได้เพียง 1.5 โดสต่อประชาชน 100 คน เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนวัคซีน ในขณะเดียวกัน นางเจน ซากี โฆษกทำเนียบขาวของสหรัฐ ระบุเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า ข้อเรียกร้องของ ดร. ทีโดรสที่ต้องการให้ประเทศที่มีรายได้สูง เช่น สหรัฐ หยุดฉีดวัคซีนเข็มสามเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันจนกว่าประเทศที่มีรายได้ต่ำจะฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนได้นั้นเป็นแนวคิดที่ผิด เนื่องจากสหรัฐสามารถฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้แก่ชาวอเมริกัน หากได้รับการอนุมัติ และบริจาควัคซีนส่วนเกินให้แก่ประเทศอื่น ๆ […]

WHO วอนประเทศรวยบริจาควัคซีนโควิดที่จะใช้เป็นเข็ม 3

องค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้ยังไม่มีหลักฐานมากเพียงพอว่า จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และขอให้ประเทศร่ำรวยบริจาควัคซีนให้ประเทศยากจนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนให้ประชาชนเลย แทนการนำไปใช้เป็นเข็มที่ 3

ชี้ประเทศรวยบริจาควัคซีนโควิดให้โคแวกซ์โดยไม่เดือดร้อน

นิวยอร์ก 17 พ.ค.- องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟชี้ว่า ประเทศร่ำรวยสามารถบริจาควัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 มากกว่า 150 ล้านโดสให้แก่ประเทศที่มีความจำเป็นได้โดยไม่กระทบต่อเป้าหมายการฉีดวัคซีนของตัวเอง ยูนิเซฟอ้างผลการศึกษาของแอร์ฟินิตี บริษัทบริการข้อมูลวิทยาศาสตร์ในอังกฤษว่า  กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศหรือจี 7 (G7) ซึ่งร่ำรวยที่สุดในโลกและสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) ช่วยลดช่องว่างวัคซีนโลกโดยไม่กระทบต่อพันธกรณีในการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนของตัวเอง ด้วยการบริจาควัคซีนเพียง 1 ใน 5 ของที่จะได้รับในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมให้แก่โครงการโคแวกซ์ขององค์การอนามัยโลกที่จะจัดสรรให้แก่ประเทศยากจนต่อไป ยูนิเซฟระบุว่า ช่วงที่อังกฤษจะเป็นเจ้าภาพประชุมจี 7 ในเดือนมิถุนายน โครงการโคแวกซ์จะยังขาดวัคซีนอยู่ 190 ล้านโดสของที่ตั้งเป้าจะแจกจ่าย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่สถานการณ์การระบาดในอินเดียเลวร้ายลง กระทบต่อการผลิตและส่งออกวัคซีนส่วนใหญ่ในโครงการ และต้องนำมาใช้ในอินเดียก่อน ดังนั้นขอให้ประเทศร่ำรวยบริจาควัคซีนให้แก่โคแวกซ์โดยทันทีจนกว่าการผลิตวัคซีนจะกลับมามีเสถียรภาพอีกครั้ง จนถึงขณะนี้ทั่วโลกฉีดวัคซีนโควิดไปแล้ว 1,400 ล้านโดส วัคซีนร้อยละ 44 ฉีดในประเทศร่ำรวยที่มีประชากรเพียงร้อยละ 16 ของโลก ขณะที่ 29 ประเทศยากจนที่สุดของโลกที่มีประชากรร้อยละ 9 ของโลก ฉีดไปเพียงร้อยละ 0.3 ของที่ฉีดไปแล้วทั่วโลก ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส […]

กลุ่มประเทศรวยกว้านซื้อวัคซีนโควิดไว้แล้วกว่าครึ่ง

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มประเทศร่ำรวยที่มีประชากรเพียงร้อยละ 13 ของโลก จองซื้อวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่อยู่ระหว่างการทดลองแล้วกว่าครึ่งหนึ่ง

สหรัฐตำหนิธนาคารโลกให้เงินกู้ประเทศร่ำรวยอย่างจีน

เจ้าหน้าที่คลังสหรัฐวิจารณ์ว่า ธนาคารโลกให้เงินกู้กับจีนซึ่งถือว่าเป็นประเทศร่ำรวยอยู่แล้ว และกระทบประเทศยากจนที่จำเป็นมากกว่า

ประเทศร่ำรวยมีอัตราคนเป็นอัลไซเมอร์ชะลอลง

ผลการศึกษาใหม่ชี้ ประเทศร่ำรวยมีอัตราคนเป็นอัลไซเมอร์รายใหม่ชะลอลงจากที่ผ่านมา บ่งชี้ว่าการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอาจช่วยป้องกันได้

...