ชัวร์ก่อนแชร์: มิชิแกนมีผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าผู้มีสิทธิ 5 แสนคน จริงหรือ?

05 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีการอ้างถึงความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้งที่รัฐมิชิแกน เมื่อพบว่าในมิชิแกนมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 7.9 ล้านคน แต่มีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง 8.4 ล้านคน นำไปสู่การกล่าวอ้างว่ามีแผนแทรกแซงผลเลือกตั้งในมิชิแกน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี การมีจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง (Registered Voter) มากกว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (Eligible Voter) ไม่ใช่หลักฐานว่ามีการโกงเลือกตั้งเกิดขึ้น เนื่องจากรัฐบัญญัติของสหรัฐฯ และกฎหมายระดับมลรัฐ ห้ามการยกเลิกสิทธิเลือกตั้งของผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง เพียงเพราะไม่ได้ไปลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง จึงมีการแบ่งผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งออกเป็นกลุ่ม Active Voter หรือผู้ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสม่ำเสมอหรือมีที่อยู่อาศัยชัดเจน และกลุ่ม Inactive Voter หรือผู้ที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นเวลานานหรือมีที่อยู่อาศัยไม่ชัดเจน เช่นมีการย้ายถิ่นฐานไปที่อื่นหรือเสียชีวิตไปแล้ว ผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งที่เข้าข่ายเป็น Inactive Voter คือผู้ที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนาน 6 ปีติดต่อกัน หรือไม่ตอบรับการแจ้งเตือนเพื่อยืนยันที่อยู่อาศัย โดยผู้มีสถานะ Inactive […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เครื่องลงคะแนนเปลี่ยนชื่อ “ทรัมป์” เป็น “แฮร์ริส” จริงหรือ?

03 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีผู้อ้างว่า การเลือกตั้งล่วงหน้าด้วยเครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีความโปร่งใส เมื่อพบว่าชื่อที่อยู่บนบัตรลงคะแนน ถูกเปลี่ยนไปจากตอนที่เลือกบนเครื่องลงคะแนนเลือกตั้ง บทสรุป : ฝ่ายดูแลการเลือกตั้งของแทร์แรนต์ เคาตี ยืนยันว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดส่วนบุคคล ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของเครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ผู้โพสต์อ้างว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นที่คูหาเลือกตั้งใน แทร์แรนต์ เคาตี รัฐเท็กซัส โดยผู้ร้องเรียนที่ชื่อว่า เจมส์ คริสโตเฟอร์ เล่าว่า ตนเองกดเลือกอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่เครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่เมื่อตรวจสอบบัตรลงคะแนนที่พิมพ์ออกมาแล้ว ปรากฏว่าชื่อที่พิมพ์ออกมา กลับเป็นชื่อของรองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส นำไปสู่เสียงวิจารณ์ต่อความบกพร่องของเครื่องลงคะแนนเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ จนถึงข่าวลือเรื่องแผนการแทรกแซงผลเลือกตั้งโดยพรรคคู่แข่ง อย่างไรก็ดี คลินต์ ลุดวิก หัวหน้าฝ่ายดูแลการเลือกตั้งของแทร์แรนต์ เคาตี ยืนยันว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดส่วนบุคคล ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของเครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์แต่อย่างใด แถลงการณ์ของ คลินต์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: จนท.นับคะแนน “ฉีกบัตรเลือกตั้ง” โดนัลด์ ทรัมป์ จริงหรือ?

02 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีผู้อ้างว่า เจ้าหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้งของ บักส์ เคาตี รัฐเพนซิลเวเนีย ลงมือทำลายบัตรลงคะแนนทางจดหมาย ที่ผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ อย่างจงใจ จนคลิปถูกแชร์ในวงกว้างและกล่าวหาว่าเป็นหลักฐานการแทรกแซงการเลือกตั้งเพื่อประโยชน์แก่พรรคเดโมแครต บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี คณะกรรมการเลือกตั้งของบักส์ เคาตี ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนของพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน ยืนยันเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2024 ว่า บัตรลงคะแนนทางจดหมายที่อยู่ในคลิปที่ถูกแชร์เป็นของปลอม เมื่อนำบัตรลงคะแนนทางจดหมายที่ใช้ในบักส์ เคาตี มาเปรียบเทียบกับบัตรลงคะแนนทางจดหมายในวิดีโอที่ถูกแชร์ จะพบความแตกต่างหลายประการ แถบบนซองจดหมายของบัตรลงคะแนนในวิดีโอที่ถูกแชร์จะมีสีเขียวเข้ม ส่วนแถบบนซองจดหมายของบัตรลงคะแนนของจริงจะมีสีเขียวสด ส่วนผิวสัมผัสบนแถบซองจดหมายของบัตรลงคะแนนของปลอมจะมีความมันวาว แต่ผิวสัมผัสบนแถบซองจดหมายของบัตรลงคะแนนของจริงจะมีสัมผัสด้าน นอกจากนี้ การตรวจสอบไม่พบว่า เจ้าหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้งของบักส์ เคาตี ไม่มีใครที่มีคุณลักษณะตรงกับบุคคลที่อยู่ในคลิปวิดีโอที่ถูกแชร์ และการกระทำที่อยู่ในคลิปก็เป็นเรื่องผิดกฎหมาย เนื่องจากรัฐเพนซิลเวเนียห้ามนำบัตรลงคะแนนล่วงหน้าหรือบัตรลงคะแนนทางจดหมายมานับก่อนวันที่ 5 พฤศจิกายน […]

คุกกี้ทำนายผลเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ

ในขณะที่ใกล้ถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ในวันที่ 5 พฤศจิกายนเข้ามาทุกที ร้านเบอเกอรีแห่งหนึ่งมีการทำโพลทำนายผลการเลือกตั้งจากการขายคุกกี้ที่มีภาพผู้สมัครแปะเอาไว้ ยอดขายอันไหนมากกว่าก็ทำนายว่าคนนั้นจะชนะเลือกตั้ง

“แฮร์ริส” โจมตี “ทรัมป์” ที่ใช้ข้อความ “จะปกป้องผู้หญิงไม่ว่าจะชอบหรือไม่”

นายโดนัลด์ ทรัมป์ และนางคอมมาลา แฮร์ริส คู่ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ เดินหน้าหาเสียงในรัฐสมรภูมิ

ทรัมป์-แฮร์ริส มุ่งหาเสียงรัฐนอร์ทแคโรไลนา

รองประธานาธิบดีคอมมาลา แฮร์ริส และอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สองผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ต่างหาเสียงในรัฐนอร์ทแคโรไลนา หนึ่งในรัฐสมรภูมิ

ผู้สมัครชิงตำแหน่ง ปธน. สหรัฐเร่งหาเสียง

สองผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรครีพับลิกันและเดโมแครตเร่งหาเสียงในช่วงใกล้ถึงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง

“บียอนเซ่” ขึ้นเวทีหาเสียงที่รัฐเท็กซัส-ประกาศสนับสนุน “แฮร์ริส”

บียอนเซ โนวส์ ศิลปินอาร์แอนด์บีหญิงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่ง ขึ้นเวทีหาเสียงของรองประธานาธิบดีคอมมาลา แฮร์ริส ตัวแทนพรรคเดโมแครต

vote sign

รู้จัก “คณะผู้เลือกตั้ง” ในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ

วอชิงตัน 25 ต.ค.- ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ คะแนนเสียงของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะไม่ใช่เสียงชี้ขาดผู้สมัครที่จะเป็นผู้ชนะโดยตรง แต่เป็นเสียงของ “คณะผู้เลือกตั้ง” ที่จะลงคะแนนเลือกผู้สมัคร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไปตามเสียงของประชาชน ข้อมูลจากเอกสารวิชาการ Academic Focus เดือนมกราคม 2560 ในคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรของไทยอธิบายไว้ว่า คณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) เป็นระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยทางอ้อม เนื่องจากผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่เสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ.1787 เกรงว่า ประชาชนจะไม่มีวิจารณญาณที่ดีเพียงพอที่จะเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ดีได้ จึงสร้างระบบคณะผู้เลือกตั้ง เพื่อให้ผู้เลือกตั้ง (Elector) จากแต่ละรัฐเดินทางมาร่วมประชุมเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี ขณะเดียวกันการใช้ระบบนี้ทำให้ประธานาธิบดีมีความอิสระจากรัฐสภา เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจากสมาชิกรัฐสภา ขณะที่ผู้เลือกตั้งไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐบาลกลาง และทำหน้าที่ได้เพียงครั้งเดียว จึงไม่มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้ง คณะผู้เลือกตั้งมาจากไหน ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเลือกคณะผู้เลือกตั้งพร้อมกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี โดยที่แต่ละรัฐจะมีวิธีการเลือกแตกต่างกันไปตามกฎหมายระดับรัฐ บางรัฐอาจพิมพ์ชื่อผู้สมัครเป็นผู้เลือกตั้งในบัตรลงคะแนนเดียวกับผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี บางรัฐอาจพิมพ์บัตรลงคะแนนแยกออกไป ปัจจุบันจำนวนคณะผู้เลือกตั้งมีทั้งหมด 538 คน เป็นไปตามจำนวนสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 100 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) 435 คน จากทั้งหมด 50 รัฐ รวมกับคณะผู้เลือกตั้ง […]

รัฐสภาเวียดนามลงมติเลือก “เลือง เกื่อง” เป็น ปธน. คนใหม่

รัฐสภาเวียดนามลงมติในวันนี้เลือก พล.อ.เลือง เกื่อง (Luong Cuong) นายทหารของกองทัพบก เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายไว้อย่างกว้างขวาง

“ปราโบโว” สาบานตนรับตำแหน่ง ปธน.คนใหม่อินโดนีเซีย

นายปราโบโว ซูเบียนโต เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของอินโดนีเซียแล้วในวันนี้ หลังจากได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

1 2 3 4 71
...