ผู้นำญี่ปุ่นขอให้จีนยกเลิกการห้ามนำเข้าอาหารทะเล

นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่น กล่าววานนี้ว่า เขาได้ขอให้จีนยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหารทะเลทุกประเภทจากญี่ปุ่นในทันที หลังจากที่จีนประกาศใช้คำสั่งนี้ทันทีที่ญี่ปุ่นปล่อยน้ำทิ้งที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีแต่ได้รับการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ลงในมหาสมุทรแปซิฟิก

จีนระงับนำเข้าอาหารทะเลทุกชนิดจากญี่ปุ่น

จีนประกาศวันนี้ห้ามนำเข้าอาหารทะเลทุกประเภทจากญี่ปุ่นจากกรณีที่ญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ฟูกูชิมะ ซึ่งจีนระบุว่าเป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัว

ฮ่องกงจะห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์โตในน้ำจาก 10 จังหวัดญี่ปุ่น

ฮ่องกง 22 ส.ค.- ฮ่องกงจะห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์โตในน้ำทุกชนิดจาก 10 จังหวัดของญี่ปุ่นเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันที่ญี่ปุ่นจะเริ่มปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ผู้บริหารด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยาของฮ่องกงแถลงข่าววันนี้ว่า รัฐบาลจะห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์โตในน้ำทั้งหมด ทั้งที่มีชีวิต แช่แข็ง แช่เย็น หรือแปรรูป เกลือทะเล สาหร่ายทะเลสดหรือแปรรูป และไม่มีกำหนดเวลาว่าจะยกเลิกคำสั่งห้ามเมื่อใด ขึ้นกับว่าระบบการกำกับดูแลของรัฐบาลญี่ปุ่นจะทำงานได้ดีเพียงใด 10 จังหวัดที่อยู่ภายใต้คำสั่งห้ามประกอบด้วยโตเกียว ฟุกุชิมะ ชิบะ โตชิกิ อิบารากิ กุนมะ มิยางิ นีงาตะ นางาโนะ และไซตามะ ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกัน นายจอห์น ลี ผู้บริหารฮ่องกงได้โพสต์เฟซบุ๊กหลังจากนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นประกาศเรื่องจะเริ่มปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะว่า รัฐบาลญี่ปุ่นไม่สนใจความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร รวมถึงมลภาวะและความเสียหายที่ไม่สามารถแก้ไขได้ที่จะเกิดขึ้นกับระบบนิเวศของมหาสมุทร ถือเป็นการผลักปัญหาของตนเองไปให้ผู้อื่นอย่างไร้ความรับผิดชอบ เขาขอแสดงความคัดค้านอย่างแข็งขัน และได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการควบคุมการนำเข้าอาหารจากญี่ปุ่นอย่างจริงจังโดยทันที.-สำนักข่าวไทย

ตรวจเข้มลักลอบนำเข้า-ขนย้ายสินค้าเกษตรต่างประเทศ

รองอธิบดีกรมการค้าภายใน สั่งการให้เจ้าหน้าที่สายตรวจเฉพาะกิจ บูรณาการตรวจสอบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจเข้มการลักลอบขนย้ายสินค้าเกษตรที่นำเข้าจากต่างประเทศ

จีนเริ่มตรวจรังสีอาหารทะเลนำเข้าจากญี่ปุ่น

เซี่ยงไฮ้ 19 ก.ค. – แหล่งข่าวเผยวันนี้ว่า จีนได้เริ่มการตรวจหารังสีอย่างครอบคลุมกับอาหารทะเลนำเข้าจากญี่ปุ่น หลังจากญี่ปุ่นประกาศแผนการปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงทะเลในช่วงหลายทศวรรษหน้า สำนักข่าวเกียวโดนิวส์ของญี่ปุ่นรายงานอ้างแหล่งข่าวว่า จีนเริ่มใช้มาตรการนี้ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้กระบวนการศุลกากรมีความล่าช้า และเป็นเหตุให้ธุรกิจบางแห่งในจีนยกเลิกการนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่น ขณะนี้กระทรวงต่างประเทศและกระทรวงเกษตรญี่ปุ่นได้เปิดการหารือเพื่อแก้ปัญหาแล้ว เจ้าหน้าที่ศุลกากรจีนแถลงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมว่า จะคงการเฝ้าระวังในระดับสูงต่อไป และจะดำเนินทุกมาตรการที่จำเป็นอย่างทันท่วงทีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป แหล่งข่าวเผยว่า หลังจากนั้นไม่นานจีนได้เริ่มการตรวจหาอย่างรังสีอย่างครอบคลุม ทำให้อาหารทะเลแช่เย็นต้องใช้เวลานานถึง 2 สัปดาห์ในการผ่านกระบวนการศุลกากร ส่วนอาหารทะเลแช่แข็งต้องใช้เวลานานถึง 1 เดือน จากเดิมที่การตรวจหารังสีในอาหารทะเลจะทำในญี่ปุ่นเท่านั้น ไม่ได้ทำในจีน ด้านร้านอาหารญี่ปุ่นในนครเซี่ยงไฮ้เผยว่า ไม่มีทางเลือกนอกจากต้องใช้ปลาทูน่านำเข้าจากสเปนแทน เพราะได้งดนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่แล้ว จีนได้ห้ามนำเข้าอาหารจากจังหวัดฟุกุชิมะ และ 9 จังหวัดใกล้เคียง ตั้งแต่เกิดแผ่นดินไหวและสึนามิถล่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะในเดือนมีนาคม 2554 หากญี่ปุ่นปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้าตามที่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอ (IAEA) ให้ความเห็นชอบ จีนอาจเพิ่มความเข้มงวดกับอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่น.-สำนักข่าวไทย

เกาหลีใต้จะตรวจสอบอาหารทะเลนำเข้าเข้มงวดเป็นพิเศษ

โซล 5 ก.ค.- เกาหลีใต้จะตรวจสอบเครื่องหมายประเทศต้นทางของอาหารทะเลนำเข้าด้วยความเข้มงวดพิเศษอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในช่วงที่กำลังมีกระแสวิตกเรื่องญี่ปุ่นมีแผนจะปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่ทะเล นายพัก ซัง-ฮุน รัฐมนตรีช่วยกระทรวงมหาสมุทรเกาหลีใต้แถลงวันนี้ว่า มาตรการตรวจสอบเข้มงวดเป็นเวลา 100 วันจะเริ่มใช้ในเดือนนี้ เพื่อตรวจสอบว่า ผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ค้าปลีกได้ทำเครื่องหมายแสดงประเทศต้นทางของอาหารทะเลที่มาจากต่างประเทศอย่างเหมาะสมหรือไม่ กระทรวงจะระดมบุคลากรที่มีอยู่ทั้งหมดทั้งจากในกระทรวง รัฐบาลท้องถิ่น หน่วยยามฝั่ง กลุ่มประชาชน และสมาคมบริการด้านอาหารมาช่วยกันตรวจสอบเข้มงวดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อให้ประชาชนซื้อและรับประทานอาหารทะเลได้อย่างสบายใจ ผู้ฝ่าฝืนมาตรการจะถูกลงโทษสถานหนัก ผู้ไม่ทำเครื่องหมายแสดงประเทศต้นทางจะถูกปรับเป็นเงินสูงสุด 10 ล้านวอน (ราว 268,150 บาท) ส่วนผู้ปลอมแปลงเครื่องหมายจะถูกจำคุกสูงสุด 7 ปี หรือปรับเป็นเงินสูงสุด 100 ล้านวอน (ราว 2.68 ล้านบาท) เกาหลีใต้ประกาศเรื่องนี้ หลังจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอ (IAEA) เผยเมื่อวานนี้ว่า รายงานการทบทวนที่ใช้เวลา 2 ปีพบว่า แผนการของญี่ปุ่นที่จะปล่อยน้ำปนเปื้อนรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่ทะเลในเร็ว ๆ นี้ เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของไอเออีเอ ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เกาหลีใต้นำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่น 10,710 ตัน คิดเป็นร้อยละ […]

มาเลเซียจะยกเลิกห้ามส่งออกไก่-ให้นำเข้าไก่และไข่จากไทย

กัวลาลัมเปอร์ 9 มิ.ย.- มาเลเซียจะยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกไก่ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ยุติมาตรการอุดหนุนผู้เลี้ยงไก่ และจะอนุญาตให้นำเข้าไก่และไข่ไก่จากไทยและอีกหลายประเทศ นายโมฮาหมัด ซาบู รัฐมนตรีความมั่นคงด้านอาหารและเกษตรกรของมาเลเซียเผยว่า การยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกไก่จะทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่มีรายได้จากตลาดส่งออกและนำรายได้เข้าประเทศ โดยจะอนุญาตให้ส่งออกไก่มีชีวิต ไก่ตัดแต่ง และชิ้นส่วนไก่ ยกเว้นลูกไก่ ขณะเดียวกันมาตรการอุดหนุนผู้เลี้ยงไก่จะยุติลงหลังจากวันที่ 30 มิถุนายน ราคาไก่และไข่ไก่จะลอยตัวตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม โดยมีกระทรวงค่าครองชีพและการค้าในประเทศเป็นผู้ตัดสินใจว่าควรกำหนดเพดานราคาหรือไม่ในช่วงที่มีเทศกาลงานฉลองต่าง ๆ ที่จะมีความต้องการบริโภคไก่และไข่ไก่เพิ่มขึ้น รัฐมนตรีความมั่นคงด้านอาหารและเกษตรกรของมาเลเซียเผยด้วยว่า รัฐบาลจะอนุญาตให้นำเข้าไก่จากประเทศที่ได้รับการรับรองประกอบด้วยบราซิล จีน เดนมาร์ก และไทย และจะอนุญาตให้นำเข้าไข่ไก่จากประเทศที่ได้รับการรับรองอย่างยูเครนและไทย รัฐบาลมาเลเซียชุดที่แล้วต้องการยกเลิกมาตรการอุดหนุนผู้เลี้ยงไก่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 แต่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติคัดค้านในช่วง 2 วันก่อนถึงกำหนด และเปลี่ยนไปใช้มาตรการขยายเพดานราคาแทน โดยเมื่อปี 2565 ได้ใช้งบอุดหนุนทั้งหมด 369.5 ล้านริงกิต (ราว 2,781 ล้านบาท) ผู้เลี้ยงไก่ในมาเลเซียประสบปัญหาราคาอาหารไก่แพงขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สาเหตุเพราะโรคโควิด-19 และสงครามในยูเครน.-สำนักข่าวไทย

ยอดส่งออกจีนลดลง 7.5% ในเดือน พ.ค.

ปักกิ่ง 7 มิ.ย.- สื่อทางการจีนรายงานว่า ยอดการส่งออกของจีนในเดือนพฤษภาคมลดลง หลังจากขยายตัวมา 2 เดือนติดต่อกัน สะท้อนว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลกหลังจากผ่านพ้นสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด เริ่มชะลอตัวลง สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานว่า ยอดการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศในเดือนพฤษภาคมปีนี้ลดลงร้อยละ 7.5 ต่อปี และลดลงร้อยละ 8.5 ต่อเดือน เป็นการลดลงครั้งแรกหลังจากยอดส่งออกขยายตัวติดต่อกัน 2 เดือนในเดือนมีนาคมและเมษายน ขณะที่ยอดการนำเข้าในเดือนพฤษภาคมลดลงร้อยละ 4.5 ต่อปี ตัวเลขดังกล่าวสวนทางอย่างยิ่งกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์กว่า ยอดส่งออกและยอดนำเข้าของจีนในเดือนพฤษภาคมจะหดตัวร้อยละ 1.8 และร้อยละ 8.0 ตามลำดับ ก่อนหน้านี้ยอดการส่งออกของจีนลดลงติดต่อกัน 5 เดือนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากการผลิตในโรงงานและการขนส่งสินค้าตามท่าเรือหยุดชะงักจากการใช้มาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวด ต่อมาทางการได้ยกเลิกมาตรการดังกล่าว ทำให้ยอดการส่งออกขยายตัวในเดือนมีนาคมและเมษายน แต่การฟื้นตัวเริ่มชะลอตัวลงเพราะปัญหาหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนและความเชื่อมั่นผู้บริโภคในจีนลดลง ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อสูงทั่วโลกและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างจีนกับสหรัฐส่งผลให้ความต้องการสินค้าจีนลดลง.-สำนักข่าวไทย

ทุเรียนจากไทยกว่า 4,000 ตัน ถึงท่าเรือจีนตอนใต้

กว่างโจว, 17 เม.ย. (ซินหัว) — บริษัท ไชน่า คอสโก ชิปปิง คอร์ปอเรชัน จำกัด ผู้ให้บริการเรือขนส่งสินค้า เปิดเผยว่าเรือสินค้าบรรทุกทุเรียนจากไทยมากกว่า 4,000 ตัน แล่นถึงท่าเรือหนานซา มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน เมื่อวันเสาร์ (15 เม.ย.) ที่ผ่านมา ทั้งนี้ คาดการณ์ยอดนำเข้า “ทุเรียน” ผ่านท่าเรือจีนตอนใต้ จะทะลุ 1.6 แสนตัน รายงานระบุว่าการขนส่งทุเรียนจากไทยสู่ท่าเรือหนานซาใช้เวลาเพียง 4 วัน โดยทุเรียนนำเข้าจะถูกขนส่งสู่ตลาดค้าส่งผักผลไม้เจียงหนานในนครกว่างโจว ซึ่งถือเป็นศูนย์กระจายสินค้าเกษตรขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคจีนตอนใต้ ภายในเวลา 2 ชั่วโมง ต่อจากนั้นจะถูกกระจายสู่ซูเปอร์มาร์เก็ตและตลาดผลไม้ทั่วจีน ทั้งนี้ กว่างโจว พอร์ต กรุ๊ป (Guangzhou Port Group) คาดการณ์ปริมาณการนำเข้าทุเรียนสู่ตลาดจีนผ่านท่าเรือหนานซาในปีนี้จะสูงกว่า 160,000 ตัน ความต้องการทุเรียนของผู้บริโภคชาวจีนเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ศุลกากรหนานซาจึงดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพพิธีการศุลกากรของการนำเข้าทุเรียน พร้อมกับจัดตั้งโครงการโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็นระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงขีดความสามารถตรวจสอบสินค้าห่วงโซ่ความเย็นนำเข้า คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ […]

ด่านบกพรมแดนจีน-เวียดนาม นำเข้า “ผลไม้ไทย” ครั้งแรก

คุนหมิง, 2 เม.ย. (ซินหัว) — ด่านบกเหอโข่วบนพรมแดนจีน-เวียดนาม ได้รับรองทุเรียนนำเข้าจากไทย 12 ตัน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ผลไม้ไทยเข้าสู่จีนผ่านด่านบกในมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน หานเทา ผู้จัดการบริษัท เหอโข่ว ซูเทา เทรดดิง จำกัด กล่าวว่าทุเรียนชุดนี้มาจากจังหวัดบุรีรัมย์ของไทย โดยการขนส่งจากบุรีรัมย์สู่ด่านบกระหว่างประเทศกิมแถ่งห์ในจังหวัดหล่าวกายของเวียดนามใช้เวลา 3 วัน หานเสริมว่าต่อจากนั้นทุเรียนชุดนี้ถูกขนส่งจากด่านบกเหอโข่วเมื่อวันที่ 27 มี.ค. ไปยังเมืองคุนหมิง และจะกระจายสู่ปักกิ่ง ซื่อชวน (เสฉวน) และกว่างโจว รวมถึงพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย ถานเฝ่ยหราน รองผู้อำนวยการสำนักพาณิชย์ อุตสาหกรรม และสารสนเทศอำเภอเหอโข่ว เผยว่าไทยผลิตผลไม้คุณภาพสูงหลากหลายชนิด โดยทุเรียนไทยนำเข้าชุดแรกสะท้อนว่าด่านบกเหอโข่วกำลังกลับมาคึกคัก อนึ่ง ด่านบกเหอโข่ววางแผนเปิดช่องทางพิธีการศุลกากรสำหรับผลไม้คุณภาพสูงจากไทยเพิ่มขึ้น โดยปีนี้ด่านบกเหอโข่วรับรองผลไม้นำเข้า 8 หมื่นตัน มูลค่า 300 ล้านหยวน (ราว 1.48 พันล้านบาท) แล้ว – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230402/7cc5e680f41c4efc9c5911472770376d/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/349084_20230402ขอบคุณภาพจาก […]

อังกฤษเสี่ยงขาดแคลนผักสดอีก

ชาวอังกฤษที่ต้องซื้ออาหารในราคาที่ปรับขึ้นมากที่สุดนับจากปี 2520 อาจต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนผักสดครั้งใหม่ เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นและสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวนกระทบต่อการปลูกพืชผักในประเทศ

1 2 3 4 14
...