นายกฯ ยินดี ไทย-เยอรมนี ขับเคลื่อนกลไกการเงิน ลดโลกร้อน

นายกฯ ยินดี ไทย-เยอรมนี ร่วมมือกลไกการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลมีนโยบายพร้อมสนับสนุนทุกความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนา และเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ห่วงผู้ป่วยปอดอักเสบ กำชับ สธ. เน้นลดยอดติดเชื้อ-เสียชีวิต

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ห่วงผู้ป่วยปอดอักเสบ ที่รักษาตัวอยู่ในขณะนี้มี 22,292 ราย อัตราครองเตียงร้อยละ 25.9 กำชับ สธ. เน้นลดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 และผู้เสียชีวิตให้ได้มากที่สุด วอนประชาชนเร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

อดีตนายกฯ อังกฤษหนุนตั้งศาลสากลไต่สวน “ปูติน”

ลอนดอน 19 มี.ค.- อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ 2 คน คือ กอร์ดอน บราวน์ และ เซอร์ จอห์น เมเจอร์ สนับสนุนให้ตั้งศาลระหว่างประเทศขึ้นไต่สวนประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย กรณีรุกรานยูเครน อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษทั้ง 2 คน รวมอยู่ในกลุ่มนักวิชาการ ทนายความ และนักการเมือง ประมาณ 140 คน ที่ลงนามในคำร้องให้ตั้งระบบยุติธรรมแบบเดียวกับศาลนูเรมเบิร์กที่ตั้งขึ้นไต่สวนอาชญากรสงครามนาซี หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อดีตนายกรัฐมนตรีบราวน์ วัย 71 ปี เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์เดลีเมลว่า การตั้งศาลระหว่างประเทศจะช่วยปิดช่องโหว่ในกฎหมายสากลที่ปูตินสามารถใช้หลบเลี่ยงความยุติธรรมได้ เรื่องนี้ต้องรีบดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ชาวยูเครนว่า ทุกคนตั้งใจทำจริง ไม่ใช่เพียงคำพูดปลอบใจ และต้องทำให้พรรคพวกของปูตินตระหนักว่า หากไม่รีบออกห่างจากปูติน ก็จะถูกดำเนินคดีและคุมขังเช่นเดียวกัน คำร้องนี้มีผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนแล้วราว 740,000 คน หลายคนหวังว่า จะช่วยเสริมการทำงานของศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือไอซีซี (ICC) ที่กำลังไต่สวนปูติน ข้อหาก่ออาชญากรรมสงครามในยูเครน แต่ถูกมองว่ามีอำนาจจำกัดเพราะไม่สามารถดำเนินคดีได้ หากไม่มีการส่งเรื่องมาจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเอสซี ที่รัสเซียมีสิทธิยับยั้งหรือวีโต้ในฐานะสมาชิกถาวร.-สำนักข่าวไทย

ญี่ปุ่นจะย้ำกับอินเดียให้เป็นหนึ่งเดียวเรื่องยูเครน

มุมไบ 19 มี.ค.- นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะของญี่ปุ่นจะย้ำกับนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดีของอินเดียระหว่างเยือนอินเดียในวันนี้ ให้มีความเป็นหนึ่งเดียวกันในเรื่องยูเครน นายกรัฐมนตรีคิชิดะกล่าวก่อนเดินทางออกจากญี่ปุ่นว่า เนื่องจากเหตุการณ์รัสเซียรุกรานยูเครนเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับการเยือนอินเดียครั้งนี้ เขาจึงอยากจะย้ำถึงความสำคัญของความเป็นหนึ่งเดียวในระดับสากล และย้ำเรื่องญี่ปุ่นและอินเดียจะทำงานร่วมกันในประเด็นต่าง ๆ ญี่ปุ่นและอินเดียเป็นสมาชิกของการเจรจาด้านความมั่นคงภาคี 4 ฝ่ายหรือควอด (Quad) ที่มีสหรัฐและออสเตรเลียรวมอยู่ด้วย ญี่ปุ่นออกมาตรการคว่ำบาตรบุคคลและองค์กรในรัสเซียจำนวนหนึ่ง หลังจากรัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ และรับผู้ลี้ภัยชาวยูเครน แต่อินเดียเป็นสมาชิกควอดประเทศเดียวที่ไม่ประณามรัสเซีย หนังสือพิมพ์นิกเกอิรายงานคาดการณ์ว่า นายกรัฐมนตรีคิชิดะจะประกาศแผนการลงทุนเป็นเวลา 5 ปี มูลค่า 5 ล้านล้านเยน (ราว 1.39 ล้านล้านบาท) ในอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย ญี่ปุ่นสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมืองของอินเดีย และโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีหัวกระสุนของญี่ปุ่น ส่วนเมื่อปี 2563 ทั้งสองประเทศลงนามข้อตกลงว่าด้วยการจัดหาและการบริการต่างฝ่าย (ACSA) ให้กองทัพทั้งสองฝ่ายสามารถจัดหาเสบียงอาหาร เชื้อเพลิง และสิ่งของอื่น ๆ ต่างตอบแทนกัน.-สำนักข่าวไทย

นายกฯ ขอบริษัทประกันภัย เร่งจ่ายค่าประกันภัยโควิด-19

โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯ ขอบริษัทประกันภัย เร่งจ่ายค่าประกันภัยโควิด-19 เพื่อผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ

ยุบสภาหลังเอเปคไม่เหมาะสม

“สมศักดิ์” ชี้ ยุบสภาฯหลังเอเปคยังไม่เหมาะ รัฐบาลมีปัญหาภายนอก-ในประเทศต้องแก้ไข ระบุ ไม่มีรัฐบาลไหนแก้ปัญหาเศรษฐกิจดีเท่า “พล.อ.ประยุทธ์” มั่นใจต้องอยู่จนครบวาระ จะทำให้ประเทศดีขึ้น

นายกฯ ยันตัดสินใจเรื่องยุบสภาเองเมื่อพร้อม

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยนายกรัฐมนตรี ยืนยัน ยุบสภาจะตัดสินใจเองท่ามกลางสถานการณ์ที่เหมาะสม ย้ำพร้อมรับฟังความเห็นทุกฝ่าย

“ชัยวุฒิ” ชี้ยุบสภา ต้องรอดูสถานการณ์

“ชัยวุฒิ” ชี้ถ้ายุบสภาหลังประชุมเอเปคถือว่าอยู่ใกล้ครบเทอม แต่ขอรอดูสถานการณ์ ย้ำรัฐบาลตั้งใจจริงแก้ปัญหาให้ประชาชน

1 82 83 84 85 86 227
...