รมว.เกษตรฯ สั่งเร่งแก้ปัญหานมโรงเรียน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สั่งการให้คณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนแก้ปัญหาเกี่ยวกับนมโรงเรียนทั้งระบบ โดยนำข้อผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นมาหาแนวทางป้องกันการเกิดซ้ำ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สั่งการให้คณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนแก้ปัญหาเกี่ยวกับนมโรงเรียนทั้งระบบ โดยนำข้อผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นมาหาแนวทางป้องกันการเกิดซ้ำ
คณะอนุกรรมการฯ มีมติตัดการจำหน่ายนมโรงเรียนของสหกรณ์โคนมไทยมิลค์ลงร้อยละ 25
อย.ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบนมโรงเรียนของโรงเรียนไผทอุดมศึกษา ที่พบปัญหาข้น คาดทราบผลเร็วๆนี้
กรุงเทพฯ 10 มิ.ย.-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับหนังสือขออภัยจากสหกรณ์โคนมไทยมิลค์กรณีนมที่จัดส่งโรงเรียนไผทอุดมศึกษามีปัญหาคุณภาพผิดปกติและสั่งการให้คณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนเพิ่มการคุมเข้มมาตรฐานนมโรงเรียนตลอดกระบวนการผลิตจนถึงมือเด็ก นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ประธานสหกรณ์โคนมไทยมิลค์ได้ทำหนังสือขออภัยมาถึงตนและผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลโครงการนมโรงเรียน รวมทั้งผู้บริหารโรงเรียนที่รับการจัดสรรนมที่ผลิตโดยสหกรณ์ไทยมิลค์ สหกรณ์ได้แสดงความรับผิดชอบโดยการขอเรียกคืนนมกล่องในรอบการผลิตนี้ทั้งหมดคืนและจะแก้ไขไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก นายกฤษฎากล่าวว่า ได้ให้กรมปศุสัตว์ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงโดยเร่งด่วนแล้วและกำชับให้คณะอนุกรรมการบริหารจัดการนมโรงเรียนปรับมาตรการกำกับดูแลให้มากขึ้นอีกตั้งแต่การผลิต การแปรรูป การขนส่งและการเก็บรักษา ตลอดจนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้บริโภคนมที่มีคุณภาพและปลอดภัยซึ่งปัจจุบันเด็กระดับอนุบาล 1-ป.6 ทุกคนจะได้ดื่มนมโรงเรียนภาคเรียนละ 100 วันสำหรับวันมาโรงเรียนและอีก 30 วันสำหรับนักเรียนกลับไปดื่มที่บ้านวันปิดภาคเรียน ทั้งนี้ รักษาการอธิบดีกรมปศสัตว์ได้รายงานว่า จะประชุมคณะอนุกรรมการนมโรงเรียนในวันที่ 14 มิถุนายนนี้ ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์กระบวนการกำกับดูแลมาตรฐานนมโรงเรียนโดยให้ความสำคัญตั้งแต่การพัฒนาคุณภาพน้ำนมดิบที่ฟาร์มและศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบรวมทั้งโรงงานแปรรูปจนถึงและการส่งมอบให้โรงเรียนโดยต้นทางการผลิตนั้นจะมีการตรวจน้ำนมดิบที่ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบและฟาร์มอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง ฟาร์มโคนมจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP และตรวจประเมินมาตรฐานฟาร์มอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและส่งตัวอย่างน้ำนมดิบในฟาร์มตรวจสอบในห้องปฏิบัติการส่วนกลางทุกเดือน มีการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำนมดิบหน้าโรงงานแปรรูปตรวจสอบมาตรฐานเซลล์โซมาติก (SCC) เพื่อคัดกรองไม่ให้นมที่มาจากเต้านมอักเสบปนเข้าสู่การผลิต ที่ระดับไม่เกิน 500,000 เซลล์/ลูกบาศก์เซนติเมตรและตรวจสอบปริมาณของแข็งรวม (Total solid : TS) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 12.25 เพื่อให้มีเนื้อนมที่เข้มข้น ไม่ใสอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง โดยโรงงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์มีการรายงานไปยังคณะอนุกรรมการบริหารฯ นมโรงเรียนเพื่อลดสิทธิการจำหน่าย และลงโทษตามหลักเกณฑ์ฯ ส่วนการขนส่งโรงเรียน […]
กรุงเทพฯ 6 มิ.ย.- รักษาการอธิบดีกรมปศุสัตว์สั่งการหน่วยงานปศุสัตว์พื้นที่กำกับการนำน้ำนมดิบที่จะมาผลิตเป็นนมโรงเรียนต้องมีมาตรฐานตามที่มิลค์บอร์ดกำหนดและตรวจสอบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาการอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า กรมปศุสัตว์มีหน้าที่ดูแลคุณภาพน้ำนมดิบที่จะนำมาผลิตในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ซึ่งตามมาตรฐานที่คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมหรือมิลค์บอร์ดกำหนด น้ำนมดิบที่จะนำมาผลิตนมโรงเรียนต้องมีจำนวนเซลล์โซมาติกไม่เกิน 500,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์เซนติเมตรและปริมาณของแข็งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 12.25 การกำกับดูแลนั้น กรมปศุสัตว์ดูแลตั้งแต่ต้นทางคือ ที่ฟาร์มโคนม โดยนมโรงเรียนต้องมาจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมหรือ GAP แม่โคต้องมีสุขภาพดี การรีดน้ำนมต้องมีสุขลักษณะที่ดี มีสัตวแพทย์ควบคุมการใช้ยาต่างๆ ไม่ให้ตกค้างในน้ำนม ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบต้องได้รับการรับรองการปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดีหรือ GMP ต้องตรวจสอบน้ำนมดิบที่เกษตรกรนำมาส่งทุกครั้ง คัดน้ำนมที่ไม่มีคุณภาพตามมาตรฐานออก ขั้นตอนการรวบรวมนมและขนส่งจนถึงโรงงานแปรรูปต้องลดอุณหภูมิให้น้ำนมเย็นเพื่อไม่ให้จุลินทรีย์เติบโต สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ต้องตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบที่หน้าโรงงานอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง โรงงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์จะถูกลดสิทธิการจำหน่าย การผลิตน้ำนมดิบจะมีคณะกรรมการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนระดับจังหวัดดูแลโดยเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์เป็นเลขานุการ ทำหน้าที่ตรวจสอบการขนส่ง คุณภาพบรรจุภัณฑ์ด้วยซึ่งกรมปศุสัตว์ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานของกรมดูแลคุณภาพน้ำนมดิบที่จะนำมาผลิตเป็นนมโรงเรียนอย่างเคร่งครัด สำหรับกระบวนการผลิตนมในโรงงานแปรรูปที่จะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มชนิดพาสเจอร์ไรส์หรือยูเอชที ดูแลโดยคณะกรรมการอาหารและยาหรืออย. ด้านปัญหานมโรงเรียนที่โรงเรียนไผทอุดมศึกษาซึ่งผลิตโดยสหกรณ์โคนมไทยมิลค์ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ที่พบว่า นมยูเอชทีที่เด็กดื่ม แม้ยังไม่ถึงวันหมดอายุ แต่น้ำนมขุ่นและจับตัวเป็นก้อนนั้น กรมปศุสัตว์ได้ส่งให้อย. ตรวจสอบในห้องปฏิบัติการแล้วว่า เป็นเพราะสาหตุใด รวมทั้งจะตรวจสอบนมโรงเรียนในรอบการผลิตเดียวกันที่สหกรณ์โคนมไทยมิลค์ส่งให้โรงเรียนอื่นว่า มีปัญหาเช่นนี้หรือไม่ หากไม่มีปัญหาอาจเป็นไปได้ว่า เกิดจากปัจจัยอื่นเช่น […]
หนองคาย 5 มิ.ย.- รองปลัดเกษตรฯ ห่วงโครงการนมโรงเรียน รุดตรวจ 4 โรงเรียนเมืองหนองคาย พบบางแห่งวันแรกเปิดภาคเรียนเด็กยังไม่ได้ดื่ม พร้อมแนะทางแก้เบื้องต้นและเน้นคุณภาพเป็นสำคัญ นายสัตวแพทย์ธนิตย์ อเนกวิทย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยขณะลงพื้นที่ จ.หนองคาย ติดตามการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม(นม)โรงเรียน จังหวัดหนองคาย ปีการศึกษา 2560 ที่โรงเรียน 4 แห่ง พร้อมประชุมหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดและผู้เกี่ยวข้อง วันนี้ (5 มิ.ย.) ว่า ปัญหาที่พบขณะนี้ปีการศึกษานี้ คือ โรงเรียนเอกชนบางแห่งเด็กยังไม่ได้ดื่มนมในวันแรกของการเปิดภาคเรียน เนื่องจากยังไม่ได้งบประมาณสนับสนุนและยังไม่มีการทำสัญญากับผู้ประกอบการ จึงแนะนำให้โรงเรียนไปเจรจากับผู้ประกอบการส่งนมให้นำมาส่งก่อนและทำสัญญาตามหลัง เช่นเดียวกับโรงเรียนรัฐที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการเจรจากับผู้ประกอบการส่งนมโรงเรียนให้เด็กได้ดื่มทันวันแรกของการเปิดภาคเรียน นอกจากนี้ ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเก็บนมโรงเรียน การตรวจสอบคุณภาพนมก่อนให้เด็กดื่ม การขนส่ง และให้เลือกซื้อนมพาสเจอร์ไรส์ เนื่องจากเป็นนมให้คุณค่าสูง ราคาถูกกว่านมยูเอชที ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับคุณภาพนมโรงเรียน.-สำนักข่าวไทย
อ.ส.ค.ระบุปิดภาคเรียนนี้ไม่มีปัญหานมล้นตลาด เตรียมส่งเจ้าหน้าที่คุมเข้มมาตรฐานผลิตรับเปิดเทอม
ก.เกษตรฯ วางเป้าหมายพัฒนานมโรงเรียนให้มีคุณภาพมากขึ้น จึงจะส่งเสริมให้เกษตรกรที่ส่งนมให้แก่โครงการนมโรงเรียนสามารถผลิตนมที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น
นายกรัฐมนตรี มอบรางวัลชนะเลิศและรางวัลดีเด่น โครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์นมโรงเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาทั่วประเทศ
อธิบดีกรมวิทย์ฯเผยผลเฝ้าระวังคุณภาพนมโรงเรียนทั้งชนิดพาสเจอร์ไรส์-ยูเอชที ล่าสุดเดือนมิ.ย.แนวโน้มดีขึ้นไม่ได้มาตรฐานเพียงร้อยละ 8.5จากเดิมร้อยละ 25