fbpx

พาชมเมืองโบราณของยูนนาน

ยูนนาน 4 ม.ค.- มณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนมีเมืองโบราณที่สร้างบนภูเขา โดยมีสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายและเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติทิเบต ยูนนานเดลี่เผยแพร่ภาพของเมืองโบราณดุคซง ที่ตั้งอยู่ในเมืองแชงกรีล่า แคว้นปกครองตนเองชนชาติทิเบต-ตี๋ชิ่ง มณฑลยูนนาน คำว่า “ดุคซง” เป็นภาษาทิเบต หมายถึง “ปราสาทที่สร้างขึ้นบนหิน” เมืองโบราณแห่งนี้ยังมีชื่อเรียกว่า “เมืองแห่งแสงจันทร์” สร้างขึ้นบนภูเขา โดยมีสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายแต่มีความน่ารื่นรมย์ เป็นเมืองบนที่ราบสูงโบราณที่อุดมไปด้วยลักษณะของชนชาติทิเบต.-814(813).-สำนักข่าวไทย

ยูเนสโกรับรอง ‘ตำราแพทย์ทิเบตโบราณ’ เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก

ลาซา, 25 พ.ค. (ซินหัว) –วันพฤหัสบดี (25 พ.ค.) โรงพยาบาลแพทย์แผนทิเบต ณ เขตปกครองตนเองทิเบต ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ประกาศว่าตำราแพทย์แผนทิเบตโบราณสี่เล่ม จำนวน 5 ฉบับ ถูกบรรจุในทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก (UNESCO Memory of the World Register) ณ การประชุมล่าสุดที่จัดขึ้นในกรุงปารีสของฝรั่งเศส ตำราแพทย์สี่เล่มที่รวบรวมขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 8-12 ถือเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมขั้นพื้นฐานสุดของการแพทย์แผนทิเบต รวมถึงมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่และพัฒนาการแพทย์แผนทิเบต โดยตำราโบราณทั้งห้าฉบับแบ่งเป็นฉบับไม้แกะสลัก 4 ฉบับ และฉบับจารึกหมึกทอง 1 ฉบับ คำนำของเอกสารบนเว็บไซต์ยูเนสโก ระบุว่าตำราโบราณนี้ไม่เพียงอธิบายภูมิปัญญาการรักษาขั้นสูงสุดของทิเบตในยุคโบราณเท่านั้น แต่ยังสะท้อนการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประเพณี วรรณคดี ศิลปะ และงานฝีมือของทิเบตในสมัยก่อนด้วย ชื่อเหริน ประธานโรงพยาบาลฯ กล่าวว่าการรับรองตำราแพทย์สี่เล่มของยูเนสโกนี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าการแพทย์แผนทิเบตได้ก้าวสู่เวทีนานาชาติแล้ว- สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230525/07e2095e517b4d2caaeb835b4703fae1/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/360122_20230526ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนพบฟอสซิล “ปีศาจแห่งทะเล” ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ใกล้ยอดเขาสูงสุดในโลก

ลาซา, 23 พ.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนค้นพบซากฟอสซิล “หิมาลายาซอรัส” (Himalayasaurus) สัตว์นักล่าใต้ทะเลลึกยุคก่อนประวัติศาสตร์ จำนวน 2 รายการ บริเวณพื้นที่ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลราว 4,000 เมตร ในเขตปกครองตนเองทิเบต (ซีจ้าง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน รายงานระบุว่ามีการค้นพบซากฟอสซิลหิมาลายาซอรัสใกล้กับตำบลกังกาของอำเภอติ้งรื่อ ซึ่งอยู่ห่างจากเบสแคมป์ภูเขาโชโมลังมาราว 100 กิโลเมตร โดยการค้นพบนี้จะเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ที่สุดบนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต และส่งเสริมการศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในภูมิภาคระหว่างมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era) หิมาลายาซอรัสถือเป็นสัตว์เลื้อยคลานสูญพันธุ์ที่เคยครอบครองท้องทะเลเมื่อ 210 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ไดโนเสาร์จะครอบครองผืนดิน โดยหิมาลายาซอรัสมีปากยาว ฟันแหลมคม และลำตัวยาวมากกว่า 10 เมตร จัดเป็นนักว่ายน้ำตัวฉกาจที่กินปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ เป็นหลัก คณะนักวิจัยของจีนเคยค้นพบซากฟอสซิลหิมาลายาซอรัสครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1960 ระหว่างการสำรวจพื้นที่ภูเขาโชโมลังมา ซึ่งยกตัวขึ้นจากทะเลลึกเพราะการชนกันของแผ่นเปลือกโลก และกลายเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกวันนี้ ส่วนการค้นพบครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อต้นปีนี้โดยทีมสำรวจอันประกอบด้วยคณะนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและบรรพมานุษยวิทยา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ซึ่งกำลังมุ่งวิจัยขนาด พฤติกรรม และถิ่นที่อยู่ของหิมาลายาซอรัสในปัจจุบัน หวังเวย นักวิจัยร่วมของสถาบัน ระบุว่าฟอสซิลเหล่านี้ประกอบด้วยกระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครงสภาพดีที่หาได้ยากในการค้นพบก่อนหน้านี้ โดยส่วนตัดขวางของกระดูกมนุษย์มีขนาดเท่าเหรียญ แต่ส่วนตัดขวางของกระดูกสันหลังที่เพิ่งค้นพบมีขนาดราวหมวกเบสบอล คณะนักวิจัยวางแผนแกะซากฟอสซิลหิมาลายาซอรัสออกจากก้อนหินที่ล้อมรอบ และตรวจสอบซากฟอสซิลเหล่านี้อย่างละเอียดด้วยการใช้กล้องจุลทรรศน์และการสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) […]

รู้จักสุดยอดช่างฝีมือผลิต “กระเป๋าม้า” ของทิเบต

าซา, 2 พ.ค. (ซินหัว) — สั่วหล่าง ฉุนเผย ช่างทำกระเป๋าม้า วัย 61 ปี ในอำเภอหล่าง เมืองหลินจือ เขตปกครองตนเองทิเบตของจีน สนใจการทำกระเป๋าม้ามาตั้งแต่วัยเด็ก และกลายเป็นผู้สืบทอดงานฝีมือชิ้นนี้ ซึ่งเป็นมรดกทางวัตนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของทิเบตตั้งแต่ปี 2018 สั่วหล่าง ฉุนเผยร่ำเรียนวิชาทำกระเป๋าม้าจากช่างฝีมือท้องถิ่นเมื่ออายุ 21 ปี และได้กลายเป็นผู้สืบทอดงานฝีมือชนิดนี้จนถึงปัจจบัน โดยทักษะการรังสรรค์กระเป๋าม้าที่ทำจากหนังวัว ซึ่งมีคุณสมบัติกันน้ำ เป็นหนึ่งในมรดกทางวัตนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของทิเบตตั้งแต่ปี 2018 กระบวนการทำกระเป๋าม้าอาศัยการทำงานหลายขั้นตอน จึงทำให้ใช้เวลานานและได้ผลผลิตไม่มากนัก ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและการสืบทอดงานฝีมือประเภทดังกล่าว หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นได้มอบเงินสนับสนุนการทำกระเป๋าม้าเมื่อปี 2015 เพื่อส่งเสริมการส่งต่อมรดกวัฒนธรรมนี้จากรุ่นสู่รุ่น ด้านสั่วหล่าง ฉุนเผยได้รับรางวัล “ช่างฝีมือแห่งทิเบต” (Tibetan Craftsman) ในปี 2022 – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230501/6c97a6c46b4646608c23a62bcc8a1b92/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/355253_20230502ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนกล่าวหายูเอ็นอ้าง “ไร้มูล” เรื่องจีนบังคับใช้แรงงานชาวทิเบต

ปักกิ่ง 28 เม.ย.- จีนกล่าวหาคณะผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) ว่า กล่าวอ้างโดยไม่มีมูลความจริงจากการกล่าวหารัฐบาลจีนว่าบังคับชาวทิเบตจำนวนมากไปเข้าโครงการที่คุกคามอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวทิเบต และอาจนำมาซึ่งการบังคับใช้แรงงาน โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนแถลงในวันนี้ว่า ทิเบตมีเสถียรภาพทางสังคม มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ มีเอกภาพทางชาติพันธุ์ มีความกลมกลืนทางศาสนา ประชาชนใช้ชีวิตอย่างสันติ ความกังวลของคณะผู้เชี่ยวชาญยูเอ็นจึงไร้มูลอย่างสิ้นเชิง ขอให้คณะผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เคารพข้อเท็จจริงพื้นฐาน และอย่าตกเป็นเครื่องมือหรือผู้สมรู้ร่วมคิดกับกลุ่มต่อต้านจีน คณะผู้รายงานพิเศษของยูเอ็น 6 คนออกแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสบดีแสดงความกังวลต่อโครงการฝึกอาชีพและเคลื่อนย้ายแรงงานในจีนว่า กำลังถูกใช้เป็นเครื่องบังหน้าเพื่อบ่อนทำลายอัตลักษณ์ทางศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมของชาวทิเบต และเพื่อเฝ้าจับตาและล้างสมองชาวทิเบต แถลงการณ์ระบุว่า มีรายงานว่าชาวทิเบตหลายแสนคนถูกทำให้เปลี่ยนจากการมีชีวิตชนบทแบบดั้งเดิม ไปเป็นแรงงานไร้ทักษะค่าจ้างต่ำตั้งแต่ปี 2558 ผ่านโครงการที่ระบุว่าเป็นความสมัครใจ แต่แท้จริงแล้วเป็นการบังคับให้ทำงาน.-สำนักข่าวไทย

“นักปั่นขาเดียว กับภารกิจพิชิตทางหลวงแผ่นดินยาวสุดในจีน

ลาซา, 20 เม.ย. (ซินหัว) — ซุนโหย่วจื้อ วัย 34 ปี นักปั่นจักรยานที่มีขาเพียงหนึ่งข้าง จากมณฑลเหอหนาน กำลังท้าทายแรงกายและแรงใจของตัวเองด้วยการปั่นจักรยานไปตามทางหลวงแผ่นดินที่ยาวและสูงที่สุดของจีน ซุนบอกเล่าว่าเขาเสียขาซ้ายไปในอุบัติเหตุตอนปี 2009 และเริ่มปั่นจักรยานในปี 2013 ก่อนจะสนใจกีฬานี้ตั้งแต่นั้นมา เขาเดินทางด้วยจักรยานทุกปี ซึ่งบางครั้งการเดินทางเหล่านี้ก็กินระยะทางไกล ซุนเริ่มปั่นจักรยานบนทางหลวง จี219 (G219) เมื่อวันที่ 20 ก.พ. และคาดว่าจะจบการเดินทางกว่า 10,000 กิโลเมตรครั้งนี้ช่วงกลางเดือนมิถุนายน เฟยหยวน หนึ่งในเพื่อนร่วมปั่นจักรยานของซุน บอกเล่าว่าซุนเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและความเร็ว เขาใช้เวลาแค่ครึ่งวันปั่นข้ามภูเขาขณะที่คนอื่นใช้เวลาหนึ่งวัน พร้อมเสริมว่าซุนสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเขา ตอนที่หวนนึกถึงซุนก็ดูเหมือนว่าความเหนื่อยยากทั้งหมดจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป การเดินทางดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นที่เมืองฝางเฉิงกั่ง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน และคาดว่าจะสิ้นสุดลงที่จุดชมวิวคาน่าซือ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยตอนนี้ซุนและกลุ่มเพื่อนนักปั่นอยู่ในเขตปกครองตนเองทิเบต (ซีจ้าง) ทางตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ช่วงสิบปีที่ผ่านมา ซุนปั่นจักรยานเป็นระยะทางกว่า 100,000 กิโลเมตร พิชิตถนนบางสายที่มีความสลับซับซ้อนและอันตรายที่สุดของโลก และยังปั่นไปถึงเบสแคมป์เขาโชโมลังมาที่ระดับความสูง 5,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล “ผมคิดว่าตัวเองเป็นแค่คนชอบขี่จักรยานทั่วไป ที่สามารถปั่นได้ค่อนข้างเร็ว” ซุนกล่าว ปัจจุบันซุนเป็นคุณพ่อของลูกสาวสองคนและดูแลกิจการโฮสเทลในบ้านเกิดกับภรรยา โดยในอนาคตเขาวางแผนที่จะพาทั้งครอบครัวไปเที่ยวรอบโลกด้วยกัน – […]

ทิเบตพบ “พระศากยมุนี-พระโพธิสัตว์นั่งหลังสิงห์” แกะสลักบนหน้าผา

ลาซา, 12 เม.ย. (ซินหัว) — สถาบันคุ้มครองวัตถุทางวัฒนธรรมเขตปกครองตนเองทิเบต (ซีจ้าง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน รายงานการค้นพบพระพุทธรูปแกะสลักจากช่วงยุคปลายศตวรรษที่ 8 จนถึงต้นศตวรรษที่ 9 จำนวน 10 องค์ รายงานระบุว่าคณะนักโบราณคดีค้นพบพระพุทธรูปเหล่านี้ที่มีลักษณะของอาณาจักรถู่โป (ราวปี 618-842) ของทิเบต บริเวณแหล่งหน้าผาแกะสลัก 3 แห่ง ในอำเภอหมางคางของเมืองชางตู ชื่อเลี่ยชื่อเหริน เจ้าหน้าที่สถาบันฯ กล่าวว่าพระพุทธรูปที่ถูกแกะสลักอยู่บนหน้าผามีองค์ประกอบเฉพาะตัว และแสดงลักษณะอันหายาก อาทิ พระศากยมุนี และพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์แห่งปัญญา “งานแกะสลักบนหน้าผาเหล่านี้มอบข้อมูลสำคัญแก่การวิจัยการกระจายตัวเชิงพื้นที่ การสืบสานศิลปะ และการเผยแพร่ลัทธิความเชื่อของพระพุทธรูปถู่โป” ชื่อเลี่ยชื่อเหรินกล่าว อนึ่ง ทิเบตเริ่มต้นการสำรวจวัดถ้ำและรูปปั้นแกะสลักบนหน้าผาเมื่อเดือนธันวาคม 2020 โดยปัจจุบันมีการตรวจสอบถ้ำและรูปปั้นแกะสลักบนหน้าผา 277 รายการแล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองวัตถุทางวัฒนธรรมหลักระดับชาติ 7 รายการ และการคุ้มครองวัตถุทางวัฒนธรรมระดับภูมิภาค 23 รายการ – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230411/d939753bf1a74dc2a4c3d54984151c1c/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/351085_20230412ขอบคุณภาพจาก Xinhua

“สถานีพลังความร้อนใต้พิภพ” สูงสุดในจีน ผลิตไฟฟ้าทะลุ 500 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ลาซา, 10 เม.ย. (ซินหัว) — สถานีพลังงานความร้อนใต้พิภพสูงที่สุดของจีนในแง่ระดับความสูง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตปกครองตนเองทิเบต (ซีจ้าง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ผลิตไฟฟ้ามากกว่า 500 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงแล้ว นับตั้งแต่เปิดดำเนินการในปี 2018 รายงานระบุว่าสถานีหยางอี้ ในอำเภอตังสยง นครลาซา เมืองเอกของทิเบต เป็นสถานีพลังงานความร้อนใต้พิภพเพียงแห่งเดียวของจีนที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ สถานีดังกล่าวประยุกต์ใช้หลายเทคโนโลยีใหม่เพื่อเติมพลังงานและหมุนเวียนท้ายน้ำที่เกิดจากการผลิตพลังงานอย่างเต็มรูปแบบ โดยสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 420,000 ตัน ไนโตรเจนออกไซด์ 6,200 ตัน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 12,000 ตัน และประหยัดถ่านหินมาตรฐาน 116,000 ตันในแต่ละปี ซุนเจียปิน ประธานสถานีพลังงานความร้อนใต้พิภพหยางอี้ กล่าวว่าสถานีฯ มีระยะเวลาการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 8,700 ชั่วโมงต่อปี โดยแหล่งจ่ายไฟที่มีเสถียรภาพมีส่วนช่วยปกป้องการปรับเปลี่ยนการจ่ายไฟฟ้าและการจัดหาพลังงานช่วงสูงสุดในฤดูหนาวของทิเบต พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นพลังงานความร้อนที่ถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก มีความสะอาด และมีความยั่งยืน โดยทิเบตอุดมไปด้วยทรัพยากรความร้อนใต้พิภพจำนวนมาก อีกทั้งวางแผนสร้างฐานพลังงานสะอาดระดับชาติในอนาคต ซึ่งจะมีพลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นส่วนสำคัญ ทั้งนี้ สถานีข้างต้นยังได้สำรวจความเป็นไปได้ของโครงการขยับขยายเพิ่มเติม โดยคาดว่าโครงการระยะที่ 2 ของสถานีฯ ซึ่งอาศัยเงินลงทุนประมาณ 480 ล้านหยวน (ราว 2.38 […]

หิมะถล่มในทิเบต เสียชีวิต 8 ราย

เหตุหิมะถล่มในเขตปกครองตนเองทิเบต พบผู้เสียชีวิตแล้ว 8 ราย เจ้าหน้าที่กู้ภัยเร่งค้นหาผู้ที่ติดอยู่ใต้กองหิมะ ซึ่งยังไม่ทราบว่ามีจำนวนเท่าไร

ทิวทัศน์เขาหิมะสูงตระหง่าน ฉากหลัง ‘สนามฟุตบอล’ ของนักเรียนทิเบต

น่าฉวี่, 21 พ.ย. (ซินหัว) — บรรยากาศนักเรียนโรงเรียนมัธยมอำเภอเจียหลี ในเมืองน่าฉวี่ เขตปกครองตนเองทิเบต (ซีจ้าง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เพลิดเพลินกับการเล่นฟุตบอลบนสนามขนาดใหญ่ ท่ามกลางฉากหลังของภูเขาที่ห่มคลุมด้วยหิมะสูงเด่นตระหง่านสงบนิ่งใต้มวลเมฆสีขาว ทำให้สนามฟุตบอลของโรงเรียนแห่งนี้ได้รับการขนานนามเป็น “สนามฟุตบอลแห่งห้วงฝันใต้ภูเขาหิมะ” อำเภอเจียหลีตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองน่าฉวี่ ระหว่างเทือกเขาถังกู่ลาและเทือกเขาเนี่ยนชิงถังกู่ลา ณ ระดับความสูงเฉลี่ย 4,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และแม้ว่าอำเภอเจียหลีจะตั้งอยู่บนพื้นที่สูงและมีความกดอากาศต่ำ แต่ไม่ได้ทำให้ความรักในกีฬาของเด็กๆ ลดน้อยลง ย้อนกลับไปเมื่อปี 2018 โรงเรียนมัธยมอำเภอเจียหลีได้เนรมิตสนามกีฬาจากเดิมที่เป็นลานวิ่งหินกรวดขนาด 300 เมตร ให้กลายเป็นลานวิ่งยางสังเคราะห์มาตรฐานขนาด 400 เมตร ภายใต้แผนการก้าวขึ้นเป็น “ชาติชั้นนำด้านกีฬา” ของประเทศ ทั้งนี้ ทีมนักกีฬาของโรงเรียนมัธยมอำเภอเจียลี สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันฟุตบอลชาย และรองชนะเลิศจากการแข่งขันบาสเกตบอลหญิง ระหว่างการแข่งขันบาสเกตบอลและฟุตบอลระดับเมืองในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 点击浏览中文新闻 (คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาจีน)http://www.news.cn/2022-11/20/c_1129143416.htm อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องhttps://www.xinhuathai.com/vdo/321520_20221121 ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนสั่งปิดพระราชวังโปตาลาในทิเบตหลังพบผู้ป่วยโควิด

ปักกิ่ง 9 ส.ค. – จีนสั่งปิดพระราชวังโปตาลาที่กรุงลาซาในเขตปกครองตนเองทิเบตของจีน ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หลังพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวนหนึ่งในเขตดังกล่าว พระราชวังโปตาลาโพสต์ประกาศผ่านสื่อโซเชียลมีเดียของจีนว่า ทางการจีนได้สั่งปิดพระราชวังโปตาลา สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของทิเบตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะมีการประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับวันเปิดบริการอีกครั้งในภายหลัง เนื่องจากพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดจำนวนหนึ่งในเขตดังกล่าว ประกาศดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า จีนยังคงยึดมั่นในนโยบายทำให้ยอดผู้ป่วยโควิดเป็นศูนย์ที่เน้นการใช้มาตรการล็อกดาวน์ การตรวจหาเชื้อโควิดรายวัน การกักโรค และการจำกัดการเดินทางอย่างเข้มงวด แม้หลายประเทศทั่วโลกจะหันไปเปิดประเทศและใช้แนวทางอยู่ร่วมกับเชื้อโควิด ทางการจีนรายงานวันนี้ว่า พบผู้ป่วยโควิดรายใหม่ 828 คน ในจำนวนนี้ มีผู้ป่วยโควิด 22 คน ติดเชื้อที่เขตปกครองตนเองทิเบต โดยที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ ขณะที่สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ขณะนี้มีนักท่องเที่ยวกว่า 80,000 คนยังคงติดอยู่ในมณฑลไห่หนาน หรือไหหลำ ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวทางใต้สุดของจีน เนื่องจากเกิดการระบาดของโรคโควิดจนทำให้ทางการท้องถิ่นต้องกำหนดให้นักท่องเที่ยวต้องมีผลตรวจหาเชื้อโควิดเป็นลบเป็นเวลาหลายวัน จึงจะได้รับอนุญาตให้เดินทางออกจากมณฑลนี้ ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ขณะนี้ จีนมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 5.8 ล้านคน และผู้เสียชีวิตกว่า 24,000 คน.-สำนักข่าวไทย

“องค์ดาไล ลามะ” ชี้ผู้นำจีนไม่เข้าใจวัฒนธรรมที่หลากหลาย

โตเกียว 10 พ.ย. – องค์ดาไล ลามะ ผู้นำจิตวิญญาณของทิเบต กล่าวตำหนิบรรดาแกนนำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในวันนี้ว่าไม่เข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่แตกต่างในจีน และชาวฮั่น ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรมากที่สุดในจีน ก็ใช้อำนาจควบคุมประเทศมากจนเกินไป องค์ดาไล ลามะ วัย 86 ปี ได้เข้าร่วมงานแถลงข่าวผ่านระบบออนไลน์ที่จัดขึ้นในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่น และได้ตอบคำถามที่ว่าประชาคมนานาชาติควรพิจารณาใช้มาตรการคว่ำบาตรการการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่จีนเป็นเจ้าภาพในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้าหรือไม่ เนื่องจากจีนใช้นโยบายปราบปรามชนกลุ่มน้อย ซึ่งรวมถึงชาวมุสลิมอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของจีน องค์ดาไล ลามะ กล่าวจากที่พำนักในเมืองธรรมศาลาในอินเดียว่า ท่านรู้จักบรรดาแกนนำพรรคคอมมิวนิสต์จีนหลายคนนับตั้งแต่สมัยประธานเหมา เจ๋อตง ผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน แนวคิดของแกนนำเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดี แต่บางครั้งก็สุดโต่งและใช้การควบคุมที่เข้มงวดจนเกินไป ท่านคิดว่าสิ่งต่าง ๆ ในประเทศจะเปลี่ยนไปเมื่อจีนได้ผู้นำประเทศที่เป็นคนรุ่นใหม่ องค์ดาไล ลามะ ยังกล่าวว่า ทิเบตและซินเจียงมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แกนนำพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ไม่เปิดกว้างจึงไม่เข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง ท่านตั้งข้อสังเกตว่า ประชาชนจีนไม่ได้มีแต่ชาวฮั่นเพียงกลุ่มเดียว แต่ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่แตกต่างกัน และชาวฮั่นก็ใช้อำนาจควบคุมมากจนเกินไป ทั้งนี้ องค์ดาไล ลามะ ได้ลี้ภัยจากทิเบตไปอยู่ในอินเดียเมื่อปี 2502 หลังไม่ประสบความสำเร็จในการต่อต้านการปกครองของจีน ขณะที่รัฐบาลจีนมองว่าท่านเป็นผู้นำการแบ่งแยกดินแดน.-สำนักข่าวไทย

1 2 3
...