ซีอีโอไทยกังวลขึ้นค่าแรงกระทบเศรษฐกิจ-ต้นทุน
ซีอีโอไทยกังวลขึ้นค่าแรงกระทบเศรษฐกิจและต้นทุน กังวลหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อาจเป็นความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจ
ซีอีโอไทยกังวลขึ้นค่าแรงกระทบเศรษฐกิจและต้นทุน กังวลหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อาจเป็นความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจ
ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หนักใจส่งออกไทยเตรียมรับมรสุมต้นทุนในครึ่งปีหลัง ขอภาครัฐช่วยดูแลต้นทุนผลิต เช่น ค่าไฟฟ้าและพลังงาน ให้กับเอกชนไทย พร้อมเร่งบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนผ่านจากปรากฏการณ์เอลนีโญไปสู่ลานีญา
อธิบดีกรมการค้าภายใน ไฟเขียวปรับราคานมสด เฉพาะส่วนต้นทุนน้ำนมดิบที่สูงขึ้น แต่ขอรอให้ทางผู้ประกอบการยื่นเรื่องขอขึ้นราคาให้กรมการค้าภายในได้พิจารณาอีกครั้ง ย้ำกรมฯพร้อมจะดูแลทุกฝ่ายให้เป็นธรรมเพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพประชาชน
นนทบุรี 13 ธ.ค.- ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ระบุการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ 2.37 ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อไม่มาก แม้สินค้าที่มีต้นทุนด้านแรงงานสูง แต่จำเป็นต้องบริหารจัดการต้นทุนบ้าง ขณะที่สินค้าที่มีการแข่งขันสูงการปรับขึ้นราคาสินค้าจึงจะมีน้อย
รองประธาน ส.อ.ท. กังวลดอกเบี้ยขาขึ้น กระทบต้นทุนการเงินกำลังซื้อหด เบรกการลงทุนใหม่
รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ลงพื้นที่ตรวจสตอกโรงงานปุ๋ยเคมีพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยาและชัยนาท พบปริมาณส่วนใหญ่เพียงพอ แถมราคาลดลงต่อเนื่อง แนะเกษตรกรรวมกลุ่มกันซื้อปุ๋ยจากโรงงานลดต้นทุนได้
ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรม เพิ่มสูงสุดในรอบ 43 เดือน เสนอปรับค่าไฟงวด 2 ลดภาระ-ต้นทุนผู้ประกอบการ
อธิบดีกรมการค้าภายใน ย้ำติดตามดูต้นทุนผลิตสินค้าทั้งระบบ หลังราคาน้ำมันและไฟฟ้าที่เป็นต้นทุนเริ่มลดลง ระบุสินค้าส่วนใหญ่แม้ต้นทุนสูงเอกชนแบกรับ แต่ยินดีช่วยผู้บริโภคลดค่าครองชีพไม่ได้ขึ้นราคาสินค้า พร้อมเดินหน้าจัดมหกรรมธงฟ้าของถูกตามแหล่งชุมชนทั่วกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์สรุปผลการประเมินต้นทุนราคาไข่ไก่ในครึ่งปีหลังของพ.ศ. 2565 เพิ่มขึ้นจากครึ่งปีแรกถึง 7.94% โดยต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่เท่ากับหรือมากกว่าราคาจำหน่ายไข่คละหน้าฟาร์มในเดือนธันวาคม 2565
ส.อ.ท.เผยมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวหนุนดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรม เดือน พ.ย.ดีขึ้น แตะ 93.5 แต่ยังห่วงต้นทุนสูงทั้งค่าไฟฟ้า – วัตถุดิบ
โตเกียว 1 พ.ค.- ผลสำรวจพบว่า บริษัทญี่ปุ่นมากกว่าร้อยละ 40 เตรียมขึ้นราคาสินค้าหรือบริการภายใน 1 ปี เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบแพงขึ้นจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 และสงครามยูเครน บริษัทเทอิโกกุ ดาตาแบงก์สอบถามบริษัทในญี่ปุ่น 1,885 แห่งช่วงต้นเดือนเมษายนพบว่า ร้อยละ 43.2 ได้ขึ้นราคาในเดือนเมษายนหรือเตรียมขึ้นราคาภายในสิ้นเดือนมีนาคมปีหน้า แต่หากรวมบริษัทที่ขึ้นราคาไปแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคมปีก่อนถึงเดือนมีนาคมปีนี้ ตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มเป็นร้อยละ 64.7 ของบริษัทที่สำรวจทั้งหมด ขณะที่ร้อยละ 16.4 เผยว่า ไม่สามารถผลักภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไปให้ลูกค้าแม้ว่าต้องการทำก็ตาม และมีเพียงร้อยละ 7.4 ที่ยืนยันว่าจะไม่ขึ้นราคาภายใน 1 ปี ญี่ปุ่นเผชิญภาวะเงินฝืดมานาน แต่บริษัทต่าง ๆ ต้องขึ้นราคาสินค้าหรือบริการ เนื่องจากโรคโควิด-19 และสงครามยูเครนทำให้ทุกอย่างขึ้นราคาไปหมด อีกทั้งยังถูกซ้ำเติมจากเงินเยนอ่อนค่าลงมาก ทำให้สินค้านำเข้าราคาแพงขึ้น ผลสำรวจพบว่า ธุรกิจด้านอาหาร โลหะ สารเคมี พร้อมขึ้นราคา แต่ธุรกิจที่มีการแข่งขันด้านราคาสูงอย่างการขนส่ง การโรงแรม ยังลังเลใจอยู่ เพราะเกรงจะเสียลูกค้า.-สำนักข่าวไทย
รมว.พาณิชย์ย้ำกรณีกลุ่มผู้ประกอบการภาคขนส่ง อาจปรับขึ้นราคาค่าขนส่ง ประมาณ 20% นั้น คงจะต้องวิเคราะห์ต้นทุนเป็นรายสินค้าก่อน