
“อาคม” เดินหน้าเจรจาแหล่งทุนจาก ADB ลดภาระดอกเบี้ยในประเทศ
“อาคม” เดินหน้าเจรจาแหล่งทุนจาก ADB สถาบันการเงินระหว่างประเทศ ลดภาระดอกเบี้ยในประเทศ ยอมรับขยายเพดานหนี้สาธารณะเป็นร้อยละ70 จากเดิมร้อยละ 60 รองรับวิกฤติการเงินโลก
“อาคม” เดินหน้าเจรจาแหล่งทุนจาก ADB สถาบันการเงินระหว่างประเทศ ลดภาระดอกเบี้ยในประเทศ ยอมรับขยายเพดานหนี้สาธารณะเป็นร้อยละ70 จากเดิมร้อยละ 60 รองรับวิกฤติการเงินโลก
วอชิงตัน 2 พ.ค.- กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) ปรับเพิ่มการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเอเชีย อันเป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน แต่เตือนว่ามีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อสูงและตลาดโลกผันผวนเพราะปัญหาภาคการธนาคารในโลกตะวันตก ไอเอ็มเอฟออกรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจภูมิภาคในวันนี้ว่า การที่จีนเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งจะมีผลสำคัญต่อเอเชียในแง่ของผลกระทบที่เกิดจากการบริโภคและความต้องการภาคบริการมากกว่าที่จะเกิดจากการลงทุน เอเชียและแปซิฟิกจะเป็นภูมิภาคที่มีพลวัตรมากที่สุดของโลกในปี 2566 โดยเกิดจากการขับเคลื่อนของจีนและอินเดียเป็นหลัก และจะยังคงมีการบริโภคในประเทศเป็นตัวขับเคลื่อนใหญ่ที่สุดต่อไป เช่นเดียวกับภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก ไอเอ็มเอฟคาดว่า เศรษฐกิจเอเชียจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.8 ในปี 2565 เป็นร้อยละ 4.6 ในปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่ประมาณการในรายงานเดือนตุลาคม 2565 เฉพาะจีนและอินเดียจะขยายตัวร้อยละ 5.2 และ 5.9 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ไอเอ็มเอฟได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเอเชียในปี 2567 ลงร้อยละ 0.2 เหลือร้อยละ 4.4 และเตือนว่าเอเชียเสี่ยงได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อยาวนานกว่าที่คาด ความต้องการของโลกชะลอตัว และผลกระทบจากปัญหาภาคการธนาคารในสหรัฐและยุโรป ไอเอ็มเอฟเตือนว่า แม้เอเชียมีเงินทุนและสภาพคล่องสูงมากพอที่จะรองรับผลกระทบจากตลาดภายนอก แต่ภาคธุรกิจและครัวเรือนที่มีหนี้สินสูงกำลังเสี่ยงมากขึ้นกับดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว ไอเอ็มเอฟยังขอให้ธนาคารกลางในเอเชีย ยกเว้นจีนและญี่ปุ่น คงนโยบายเข้มงวดทางการเงินต่อไปเพื่อดึงอัตราเงินเฟ้อให้ลดลง เพราะอัตราเงินเฟ้ออาจทรงตัวในระดับสูงต่อไปส่วนหนึ่งเพราะมีความต้องการบริโภคในประเทศอย่างคึกคัก.-สำนักข่าวไทย
กระทรวงการคลัง 26 เม.ย.- “อาคม” เผย ตลาดการเงิน เริ่มยอมรับ ดอกเบี้ยอ้างอิง THOR แบงก์แห่ประมูลตั๋วสัญญาใช้เงินของคลัง ระบุ เศรษฐกิจไทย ครึ่งปีหลัง ดีขึ้นต่อเนื่อง
แบงก์แห่ประมูลตั๋วสัญญาใช้เงินของคลัง อายุ 3 ปี มากกว่าวงเงิน 10,000 ล้านบาท 4 เท่า อ้างอิงดอกเบี้ย THOR ครั้งแรก หวังทดแทนดอกเบี้ยการกู้เงินระยะข้ามคืน ระหว่างธนาคาร
ธ.ก.ส. เปิดรับฝากออมทรัพย์พิเศษ “เงินฝาก Step Up” ระยะเวลา 10 เดือน รับดอกเบี้ยแบบขั้นบันได สูงสุด 6.20% ต่อปี เฉลี่ย 1.50% ต่อปี ฝากขั้นต่ำ 50,000 บาท ไม่จำกัดวงเงินรับฝากสูงสุด เริ่ม 17 เมษายน – 15 พฤษภาคม 2566
กรุงเทพฯ 11 เม.ย.- ธ. ออมสิน ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ รองรับแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบาย กนง. ขยับขึ้นร้อยละ 0.25 มีผล 10 เม.ย. 66
นนทบุรี 10 เม.ย.-สนค.เผยข้อมูลการส่งออกรายสินค้าที่ส่งออกโดยธุรกิจของคนไทยอย่างแท้จริง ซึ่งสามารถนำไปใช้กำหนดนโยบายส่งเสริมการค้าให้แก่ธุรกิจของคนไทยได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งวิเคราะห์สินค้าดาวรุ่งของไทยในปี 2565 ที่เติบโตได้ดีต่อเนื่องตลอดปี ท่ามกลางวิกฤตมากมาย ตั้งแต่ความไม่สงบในยูเครนในช่วงต้นปี จนถึงปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจากปัญหาเงินเฟ้อสูง และการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางทั่วโลกในช่วงกลางถึงท้ายปี
กรุงเทพฯ 3 เม.ย.- ที่สุดแห่งปี! กรุงไทยออก “สินเชื่อ SME” ดอกเบี้ยต่ำสุดร้อยละ 4.5 ผ่อนนาน 20 ปี ติดปีก SME เติบโตยั่งยืน
กรุงเทพฯ 3 เม.ย.-EXIM BANK ยืดเวลาปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ถึง 17 เม.ย. นี้ คงจุดยืน “กล้า พัฒนาเพื่อคนไทย” ด้วยดอกเบี้ยต่ำสุดในระบบ
กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.50 เป็นร้อยละ 1.75 ต่อปี โดยให้มีผลทันที
กรุงเทพฯ 27 มี.ค. –นักวิเคราะห์ประสานเสียง คาด กนง. 29 มี.ค.ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 1.75% และอาจเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายในรอบวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นรอบนี้ ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดล
นิวยอร์ก 27 มี.ค.- นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2566 นี้ และจะเผชิญภาวะเงินเฟ้อสูงไปจนถึงปี 2567 สมาคมเศรษฐศาสตร์ธุรกิจแห่งชาติของสหรัฐเปิดเผยผลการสำรวจกับสมาชิก 217 รายระหว่างวันที่ 2-10 มีนาคม ซึ่งเป็นการสำรวจรายครึ่งปีว่า ผู้ตอบมากกว่า 2 ใน 3 คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐน่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีนี้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อสูงจะต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า และจะยังคงสูงกว่าร้อยละ 4 เมื่อถึงสิ้นปีนี้ ส่วนผู้ตอบที่คิดว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังอยู่ในภาวะถดถอยแล้วมีเพียงร้อยละ 5 ลดลงอย่างมากจากร้อยละ 19 ในการสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือนสิงหาคม 2565 และผู้ตอบที่คิดว่าเฟดบรรลุเป้าหมายเรื่องการลดอัตราเงินเฟ้อได้โดยสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 27 ในการสำรวจครั้งก่อนเป็นร้อยละ 30 ในการสำรวจครั้งนี้ การสำรวจนี้มีขึ้นก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด (Fed) ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.75 ในการประชุมนโยบายเมื่อสัปดาห์ก่อน เพื่อต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่แตะระดับสูงสุดในรอบหลายทศวรรษเมื่อปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ถือว่าชะลอตัวลงอย่างช้า ๆ แต่ยังคงสูงกว่าเป้าหมายระยะยาวของเฟดที่ต้องการให้เงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.-สำนักข่าวไทย