
ครบ 100 ปี แผ่นดินไหว “คันโต” ญี่ปุ่นซ้อมรับมือหายนะภัย
ครบรอบ 100 ปี แผ่นดินไหวแถบภูมิภาคคันโต บาดเจ็บล้มตายกว่า 1 แสนคน ญี่ปุ่นนำบทเรียนมาสร้างความเข้มแข็งรับมือหายนะภัย
ครบรอบ 100 ปี แผ่นดินไหวแถบภูมิภาคคันโต บาดเจ็บล้มตายกว่า 1 แสนคน ญี่ปุ่นนำบทเรียนมาสร้างความเข้มแข็งรับมือหายนะภัย
นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่นและรัฐมนตรีหลายคน ร่วมรับประทานอาหารทะเลที่มีแหล่งที่มาจากทะเลนอกชายฝัทงจังหวัดฟูกูชิมะในวันนี้ ท่ามกลางประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้งเรื่องที่ญี่ปุ่นปล่อยน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ลงไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก
โตโยโต้าแก้ระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้องเรียบร้อย กลับมาเดินสายการผลิตที่โรงงาน 12 แห่งในญี่ปุ่นได้แล้ว
สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ ไอเออีเอ กล่าววานนี้ว่า ความเข้มข้นของทริเทียมในน้ำทิ้งที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ-ไดอิจิ อยู่ในระดับที่ได้คาดหมายเอาไว้แล้วและไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายกับประชาชนแต่อย่างใด
โตเกียว 29 ส.ค.- รัฐบาลญี่ปุ่นแสดงท่าทีว่า อาจร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลกหรือดับเบิลยูทีโอ (WTO) เรื่องจีนสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นทั้งหมด หลังจากญี่ปุ่นเริ่มการปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลงสู่มหาสมุทร นายซานาเอะ ทากาอิจิ รัฐมนตรีความมั่นคงทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นแถลงข่าววันนี้ว่า ญี่ปุ่นมาถึงจุดที่ควรพิจารณาเรื่องใช้มาตรการตอบโต้กับการที่จีนสั่งจำกัดการนำเข้าสินค้าญี่ปุ่น เช่น ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อดับเบิลยูทีโอ หากการประท้วงผ่านช่องทางทางการทูตไม่ได้ผล ขณะที่นายโยชิมาสะ ฮายาชิ รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นแถลงข่าวในวันเดียวกันว่า ญี่ปุ่นจะดำเนินมาตรการที่จำเป็นภายใต้กรอบต่าง ๆ เช่น ดับเบิลยูทีโอ เขาย้ำว่า ทั้ง 2 ประเทศจำเป็นต้องสื่อสารกันอย่างใกล้ชิดเพื่อรักษาความสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์เอาไว้ และขอให้รัฐบาลจีนยกเลิกคำสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นทั้งหมดโดยทันที เพราะไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ รัฐบาลจีนมีคำสั่งดังกล่าวในวันเดียวกับที่ญี่ปุ่นเริ่มการปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม นอกจากนี้ยังห้ามผู้ผลิตอาหารซื้อหรือใช้อาหารทะเลที่มีต้นทางจากญี่ปุ่นมาใช้ในกระบวนการผลิต ขณะที่ 2 เขตบริหารพิเศษของจีนอย่างฮ่องกงและมาเก๊าก็มีคำสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นเช่นกัน.-สำนักข่าวไทย
รัฐบาลญี่ปุ่นระบุในรายงานนโยบายการเงินการคลังประจำปีว่า ญี่ปุ่นมีโอกาสมากขึ้นที่จะได้เห็นภาวะเงินฝืดสิ้นสุดลง หลังจากเศรษฐกิจประเทศตกอยู่ในภาวะนี้มานานถึง 25 ปี
ญี่ปุ่นกล่าววันนี้ว่า การคุกคามชาวญี่ปุ่นในจีนหลังจากที่ญี่ปุ่นปล่อยน้ำทิ้งที่ได้รับการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ เป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างที่สุด พร้อมยืนยันด้วยว่า สถานทูตญี่ปุ่นในกรุงปักกิ่งถูกขว้างด้วยก้อนอิฐ
โตเกียว 29 ส.ค.- โตโยต้า ซึ่งเป็นผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลกแจ้งวันนี้ว่า ต้องหยุดเดินเครื่องที่โรงงานในญี่ปุ่น 12 โรงจากทั้งหมด 14 โรง เนื่องจากระบบบกพร่อง โฆษกของโตโยต้าเผยเพียงสั้น ๆ ว่า โรงงาน 12 โรงที่ประกอบด้วยสายการผลิต 25 สายไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ได้ตามคำสั่ง เนื่องจากระบบบกพร่อง แต่ไม่น่าจะเป็นการถูกโจมตีไซเบอร์ เหตุเกิดตั้งแต่เช้าวันนี้และบริษัทจะเดินหน้าสอบสวนหาสาเหตุและหาทางแก้ไขโดยเร็วที่สุด โฆษกไม่ได้เปิดเผยว่า โรงงานจะกลับมาเดินเครื่องตามปกติได้เมื่อใด และโรงงานในต่างประเทศได้รับผลกระทบหรือไม่ โตโยต้าเคยหยุดเดินเครื่องโรงงานในญี่ปุ่นทั้งหมดเมื่อปี 2565 หลังจากบริษัทสาขาแห่งหนึ่งถูกโจมตีไซเบอร์ โตโยต้ารั้งตำแหน่งบริษัทยานยนต์ที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในโลกเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันในปี 2565 แม้ว่าได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 และการขาดแคลนชิปทั่วโลก โดยตั้งเป้ากำไรสุทธิในปีการเงินสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2567 ไว้ที่ 2.58 ล้านล้านเยน (ราว 620,130 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 จากปีการเงินก่อน และตั้งเป้ายอดจำหน่ายไว้ที่ 38 ล้านล้านเยน (ราว 9.13 ล้านล้านบาท).-สำนักข่าวไทย
โตเกียว 28 ส.ค.- ญี่ปุ่นเรียกเอกอัครราชทูตจีนมาประท้วงเรื่องธุรกิจในญี่ปุ่นถูกโทรศัพท์จากจีนโทรก่อกวน หลังจากญี่ปุ่นเริ่มการปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นแถลงว่า นายมาซาทากะ โอกาโนะ รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศได้แจ้งกับนายอู๋ เจียงเฮ่า เอกอัครราชทูตจีนประจำญี่ปุ่นว่า จีนควรแจ้งข่าวต่อสาธารณชนอย่างเหมาะสม มากกว่าทำให้ประชาชนวิตกโดยไม่จำเป็น ด้วยการให้ข้อมูลที่ไม่ได้อ้างอิงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ และหลังจากที่ญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เมื่อสัปดาห์ก่อน ธุรกิจในญี่ปุ่นได้รับโทรศัพท์ก่อกวนจำนวนมากและการคุกคามจากหมายเลขโทรศัพท์ที่สันนิษฐานว่าต้นทางมาจากจีน สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นจนถึงขณะนี้ นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันกับสถานที่ของญี่ปุ่นในที่ตั้งอยู่ในจีนด้วย เป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างยิ่งและญี่ปุ่นมีความกังวลมาก จีนสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นทั้งหมดในวันเดียวกับที่ญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม หลังจากนั้นเริ่มมีการสุ่มโทรศัพท์ก่อกวนไปยังธุรกิจญี่ปุ่นโดยเป็นหมายเลขที่มีต้นทางจากจีน ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในจีนบางคนโพสต์คลิปเสียงและคลิปภาพการโทรก่อกวน หลายโพสต์มีคนกดถูกใจและแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง.-สำนักข่าวไทย
โตเกียว 28 ส.ค.- องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นหรือแจ็กซา (JAXA) ประกาศเลื่อนการปล่อยยานสำรวจดวงจันทร์เป็นครั้งที่ 3 ในวันนี้ เนื่องจากกระแสลมแรง แจ็กซาไม่ได้ประกาศกำหนดวันปล่อยครั้งใหม่ หลังจากยกเลิกในช่วงไม่ถึง 30 นาทีก่อนกำหนดการปล่อยมูน สไนเปอร์ (Moon Sniper) ซึ่งเป็นภารกิจการนำยานสลิม (SLIM) ย่อมาจาก Smart Lander for Investigating Moon ไปลงจอดภายในรัศมี 100 เมตรของเป้าหมายเจาะจงบนดวงจันทร์ พร้อมกับดาวเทียมวิจัยที่พัฒนาโดยแจ็กซา องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐหรือนาซา (NASA) และองค์การอวกาศยุโรปหรืออีซา (ESA) เจ้าหน้าที่มิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสตรีส์ที่รับผิดชอบเรื่องการปล่อยแจ้งสื่อว่า ภารกิจถูกเลื่อนเนื่องจากกระแสลมไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในการปล่อยยาน โดยจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 วันในการเตรียมการการปล่อยครั้งใหม่ และจะต้องปล่อยก่อนที่กระแสลมปัจจุบันจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 กันยายน ญี่ปุ่นเคยปล่อยยานสำรวจดวงจันทร์ชื่อโอโมเตนะชิ (Omotenashi) ไปกับภารกิจอาร์เทมิสวัน (Artemis 1) ของนาซาเมื่อปี 2565 แต่ภารกิจเกิดปัญหาและการสื่อสารกับยานขาดหายไป ส่วนเมื่อเดือนเมษายนปีนี้ไอสเปซ (ispace) สตาร์ทอัพญี่ปุ่นพลาดหวังที่จะได้เป็นเอกชนรายแรกที่ได้ลงจอดบนดวงจันทร์ เมื่อขาดการติดต่อกับยานสำรวจที่ตกกระแทกดวงจันทร์อย่างรุนแรง.-สำนักข่าวไทย
ทำเนียบประธานาธิบดียุน ซอก ยอล ของเกาหลีใต้กล่าววันนี้ว่า ตั้งแต่วันจันทร์เป็นต้นไปโรงอาหารภายในของทำเนียบประธานาธิบดีจะจัดเมนูอาหารทะเลไว้ให้บริการเเพื่อสร้างความเชื่อมั่นหลังจากที่มีกระแสความกังวลว่าการบริโภคอาหารทะเลจะลดลงเนื่องจากญี่ปุ่นปล่อยน้ำทิ้งที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีที่บำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลงในมหาสมุทรแปซิฟิก
กรมประมงยกระดับความเข้มงวดตรวจสอบสินค้าและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำนำเข้าจากญี่ปุ่น หลังญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกุชิมะ