ชัวร์ก่อนแฉ : 7 ข่าวปลอมดาราดัง! อุทาหรณ์สอนใจผู้เสพข่าว

วันนี้ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท จะพาไปพบกับ 7 ข่าวปลอมของดาราดังที่สร้างความเสียหายต่อเจ้าตัวและคนรอบข้างอย่างมาก ทั้งผลกระทบด้านอาชีพ ชื่อเสียง และจิตใจ ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดจนต้องออกมาแก้ข่าวกันอย่างเร่งด่วน ซึ่งทุกคนได้ออกมาเล่าผ่าน Scoop “ชัวร์ก่อนแฉ” ช่วงที่จะพาดารามาแชร์เกี่ยวกับประสบการณ์ข่าวปลอมของตนเอง เรามาดูกันว่ามีใครบ้างที่ตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอม 1. บุ๊กโกะ ธนัชพันธ์ บูรณาชีวาวิไล ถูกปล่อยข่าวปลอมว่าขับรถชนคนเสียชีวิต สาเหตุจากตุ๊กตาลูกเทพขัดเบรก  ในขณะที่กำลังดำเนินการถ่ายงาน ดีเจบุ๊กโกะกลับได้รับสายโทรศัพท์จากผู้เป็นแม่อย่างเป็นห่วง เนื่องจากมีการปล่อยข่าวว่าเจ้าตัวขับรถชนคนเสียชีวิต ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ตุ๊กตาลูกเทพตกลงไปขัดเบรก สร้างความเข้าใจผิดเป็นวงกว้าง ตนเองจึงต้องเร่งอธิบายและชี้แจงผ่านอินสตาแกรมว่าไม่ได้ประสบอุบัติเหตุใด ๆ แต่บางครั้งก็ยังมีคนถามเกี่ยวกับคดีความเนื่องจากไม่เห็นคำชี้แจงบนโซเชียลมีเดีย สร้างความเดือดร้อนอย่างยิ่ง  ทั้งนี้ ยังส่งผลกระทบต่อจิตใจของครอบครัว คนใกล้ชิด และผู้คนรอบข้าง รวมไปถึงอาจจะกระทบต่ออาชีพการงานในอนาคต เจ้าตัวจึงได้ออกมาเตือนผ่านรายการว่าอยากให้คนสร้างข่าวปลอมตระหนักว่าปัจจุบันมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และกฎหมาย PDPA ที่สามารถฟ้องเอาผิดได้  และฝากถึงผู้เสพข่าวว่าต้องใช้วิจารณญาณในการเสพ ไม่อยากให้อ่านพาดหัวข่าวเอาสนุก บางครั้งอาจเป็นการพาดหัวข่าวเพื่อดึงดูดความสนใจและเรียกยอดไลก์ แต่เนื้อหาภายในอาจจะไม่มีอะไรเลยก็ได้ 2. ตุ๊ก ชนกวนันท์ รักชีพ ถูกนำข่าวเก่าเกี่ยวกับการแยกทางกับสามีมาใส่สีตีไข่เล่นข่าวใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า  แม้ว่าจะเลิกรากับสามีเก่าไปเป็นเวลานาน คุณแม่ตุ๊ก ชนกวนันท์ ก็ยังตกเป็นข่าวซ้ำ ๆ แถมยังมีการใส่สีตีไข่เพื่อความสนุกปาก […]

ชัวร์ก่อนแฉ : 5 ดาราถูกมิจฉาชีพแอบอ้าง สุดท้ายหลอกเอาเงิน!

วันนี้ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท จะพาไปพบกับ 5 ดาราที่ถูกมิจฉาชีพนำรูปและข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อหลอกลวงผู้บริโภคให้ซื้อสินค้าหรือหลอกให้ร่วมลงทุน ซึ่งทุกคนได้ออกมาเล่าผ่าน Scoop “ชัวร์ก่อนแฉ” ช่วงที่จะพาดารามาแชร์ประสบการณ์ข่าวปลอมของตนเอง เรามาดูกันว่ามีใครบ้างที่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรไซเบอร์ 1. บุ๋ม ปนัดดา วงศ์ผู้ดี กับการถูกแอบอ้างชื่อและปลอมแปลงเฟซบุ๊กเพื่อหลอกให้ร่วมลงทุนและหลอกโอนเงิน โดยมิจฉาชีพได้สร้างเฟซบุ๊กปลอม แนบเลขบัญชีของตนเองเข้าไปแทนที่เลขบัญชีของมูลนิธิ ก่อนแอบอ้างให้ร่วมลงทุนและนำเงินหนีไป เจ้าตัวกล่าวว่าตนเองทำมูลนิธิ หากถูกนำชื่อไปใช้และเปลี่ยนแปลงเลขบัญชีให้เป็นของมิจฉาชีพก็อาจถูกหลอกได้ง่าย ๆ และตามจับตัวผู้กระทำผิดได้ยาก แต่ถือเป็นโชคดีที่ในยุคปัจจุบันดาราและศิลปินมีช่องทางโซเชียลมีเดียส่วนตัว จึงสามารถชี้แจงผ่านด้วยตนเองได้ ทั้งนี้ยังเตือนสติผู้ที่คิดจะสร้างข่าวปลอมว่าหากใครคิดจะเลียนแบบผู้อื่นเพื่อหลอกลวงเอาเงิน อาศัยข่าวปลอมของคนดังมาสร้างประโยชน์ให้ตนเอง “คุกมีจริง” และไม่สามารถอ้างว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ภายใต้กฎหมาย แค่เริ่มทำก็ผิดแล้ว  ในส่วนของผู้เสพข่าวเจ้าตัวได้ฝากไว้ว่าหากได้รับข่าวหรือข้อความใด ๆ ควรอ่าน คิด และกลั่นกรองให้ดีก่อนส่งต่อเสมอ 2. เกรซ กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า ถูกแอบอ้างชื่อเพื่อสร้างเพจเฟซบุ๊กก่อนยิง ads โฆษณาชวนเชื่อหลอกลวงแฟนคลับให้มาร่วมลงทุน  โดยคนร้ายอ้างว่าเป็นเพจของเกรซที่เปิดขึ้นเพื่อใช้ทำธุรกิจ ก่อนหลอกลวงให้แฟนคลับมาร่วมลงทุนและจะได้ผลตอบแทนตามจำนวนเงินที่ลงทุนไป ซึ่งในช่วงแรกมีผู้ได้รับผลตอบแทนจริง ทำให้เกิดการแชร์ต่อเป็นวงกว้าง ก่อนมิจฉาชีพจะเชิดเงินหนีไปเป็นมูลค่ารวมหลายล้านบาท จนมีคนร้องเรียนไปยังดารารุ่นพี่ บุ๋ม ปนัดดา วงศ์ผู้ดี เจ้าตัวจึงได้ทราบเรื่องและแจ้งปิดเพจดังกล่าว รวมถึงเร่งดำเนินคดีทันที  อีกทั้งยังเตือนใจว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีก้าวล้ำไปไกล และมีการทำธุรกรรมทางการเงินบนออนไลน์มากขึ้นในชีวิตประจำวัน […]

สำรวจ 5 กิจกรรม “นักสืบสายชัวร์ฯ” ส่งต่อความรู้เท่าทัน สู่กลุ่มคนหลากหลาย

ในโลกยุคดิจิทัล การเรียนรู้ทักษะการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ด้วยความเข้าใจและเข้าถึงในวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคม เพื่อการรอดพ้นจาก “ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ และภัยไซเบอร์” นั้น ต้องอาศัยการเรียนรู้จากประสบการณ์ด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม แต่จากความหลากหลายของกลุ่มคนและความสนใจในปัจจุบัน การออกแบบเนื้อหาและสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม จะช่วยให้เนื้อหาเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น 1. กิจกรรม “นักสืบสายชัวร์ x ชัวร์ก่อนแชร์สโมสร TRICK OR TRUST” ที่ พัทยา “นักสืบสายชัวร์ x ชัวร์ก่อนแชร์สโมสร TRICK OR TRUST” มีการจัดกิจกรรมและโครงการเพื่อการเรียนรู้เท่าทันข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ และภัยไซเบอร์ ด้วยแนวคิดใหม่ คือ การรู้เท่าทันผ่านมุมมองของการสร้างกลลวง ซึ่งมีการจัดกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมโครงการหลายกลุ่มวัยได้สัมผัส จับต้อง และเรียนรู้คู่การปฏิบัติ กิจกรรมนี้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ และภัยไซเบอร์ จากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ได้แก่ § นักมายากล ร่วมกับ สมาคมวิทยากลแห่งประเทศไทย นักสร้างภาพลวงตาและนักวิทยาศาสตร์ […]

...