ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : SMS M-Flow ปลอมระบาด ! ระวังโดนหลอก

หนึ่งในกลลวงที่กำลังระบาดและสร้างความเสียหายให้กับประชาชนคือ การแอบอ้างเป็นหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงส่งข้อความ SMS หลอกลวง ล่าสุด พบมีการแอบอ้างเป็น M-Flow ระบบเก็บเงินค่าผ่านทางอัตโนมัติ เพื่อหวังโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวและทรัพย์สินของผู้ใช้งาน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้ตรวจสอบพบว่า รูปแบบของข้อความ SMS ปลอมที่มิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวง มักจะมาในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ แล้ว SMS รูปแบบใดบ้างที่เราควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ? ช่องทางการชำระค่าบริการ M-Flow มี 3 ช่องทางหลักเท่านั้น คือ ขอย้ำอีกครั้ง! M-Flow ไม่มีการส่ง Link เพื่อให้ชำระค่าบริการผ่านทาง SMS โดยเด็ดขาด หากท่านได้รับ SMS ที่น่าสงสัย โปรดอย่าหลงเชื่อ และแจ้งไปยังหน่วยงาน M-Flow หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป 17 เมษายน 2568ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทเขียนและเรียบเรียงโดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ! 5 มุกมิจฉาชีพอาจ “สาด” ใส่คุณช่วงสงกรานต์

13 เมษายน 2568 เทศกาลสงกรานต์…เทศกาลแห่งความสุข ผู้คนต่างมองหาความสะดวกสบายและโปรโมชันพิเศษต่าง ๆ ทำให้มิจฉาชีพอาจจะฉวยโอกาส “สาด” กลโกงรูปแบบต่าง ๆ ใส่คุณได้ทุกเมื่อ ชัวร์ก่อนแชร์ได้รวบรวม 5 มุกที่มิจฉาชีพอาจนำมาใช้หลอกลวงคุณในช่วงสงกรานต์ เพื่อให้คุณเตรียมตัวรับมือและเล่นน้ำสงกรานต์ได้อย่างสบายใจไร้กังวล ! 1. ที่พักทิพย์ ใครที่กำลังวางแผนเที่ยวช่วงสงกรานต์ต้องระวัง !  “ที่พักราคาดี วิวสวย” ที่โผล่ขึ้นมาตามเพจเฟซบุ๊กหรือเว็บไซต์ที่ไม่คุ้นเคย อาจเป็นเพียงภาพลวงตา มิจฉาชีพมักสร้างบัญชีปลอม หรือเว็บไซต์เลียนแบบโรงแรม รีสอร์ท ที่พักต่าง ๆ พร้อมเสนอราคาที่ดึงดูดใจ เมื่อคุณหลงเชื่อโอนเงินมัดจำไปแล้ว พวกเขาก็จะเชิดเงินหนีหาย ทิ้งให้คุณเคว้งคว้างไร้ที่พักในช่วงวันหยุด วิธีรับมือ: จองที่พักผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่น่าเชื่อถือ มีรีวิวจากผู้ใช้งานจริง อย่าหลงเชื่อข้อเสนอที่ถูกเกินจริงจนน่าสงสัย หากเป็นเพจเฟซบุ๊กแนะนำให้ตรวจสอบที่ความโปร่งใสของเพจ ดูว่าเคยเปลี่ยนชื่อเพจมาหรือไม่ หากพบว่าเคยเปลี่ยนชื่อ หรือมีแอดมินอยู่ต่างประเทศ เสี่ยงเป็นมิจฉาชีพ แนะนำควรโทรศัพท์สอบถามข้อมูลกับทางที่พักก่อนเสมอ 2. ตั๋วทิพย์ อยากกลับบ้านไปรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ หรือเดินทางไปสังสรรค์กับเพื่อนฝูงต่างจังหวัด ต้องระวังการซื้อตั๋วรถไฟ ตั๋วเครื่องบิน หรือตั๋วรถโดยสารราคาถูกจากบุคคลที่ไม่รู้จัก หรือเพจที่ไม่น่าเชื่อถือ มิจฉาชีพอาจสร้างตั๋วปลอมขึ้นมา หรือหลอกให้โอนเงินแล้วไม่ส่งตั๋วให้ ทำให้คุณพลาดการเดินทางในช่วงเวลาสำคัญ วิธีรับมือ: […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: กฟภ. แจ้งเตือน! ไลน์ปลอมระบาด หลอกติดตั้งมิเตอร์

เตือนภัย ! ตอนนี้มีไลน์ปลอมแพร่ระบาดแอบอ้างเป็น “ฝ่ายมิเตอร์ไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)” หลอกลวงประชาชน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ยืนยัน บัญชี LINE ชื่อ “ฝ่ายมิเตอร์ไฟฟ้า” เป็นบัญชีปลอม โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดให้บริการติดต่อผ่านไลน์ ไอดี @PEAThailand และของแท้ต้องมีโล่สีเขียวเท่านั้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สามารถติดต่อได้ที่ จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า มิจฉาชีพมักแอบอ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทั้ง  หากได้รับข้อความหรือการติดต่อในลักษณะดังกล่าว ควรตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพย์สิน 10 เมษายน 2568ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : SMS จริง ! สนง.สถิติฯ ชวนตอบแบบสอบถาม ลุ้นรับรางวัลรวม 6 ล้านบาท

ตามที่มีการแชร์ รูป SMS สนง. สถิติ ชวนตอบแบบสอบถาม ลุ้นรับรางวัลรวม 6 ล้านบาท นั้น  📌 บทสรุป : เป็นข้อความ SMS จริง ที่ส่งโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สนง.สถิติฯ) ยืนยันผ่านเพจเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ทางการ ว่า ข้อความ SMS ดังกล่าว เป็นข้อความจริงที่ส่งโดย สนง.สถิติฯ เพื่อเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมตอบแบบสอบถามสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลที่อยู่อาศัยที่แท้จริงของประชาชน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ สนง.สถิติฯ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าการส่ง SMS ดังกล่าวเป็นการประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมตอบแบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” เว็บไซต์ “ทางรัฐ” หรือเว็บไซต์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเท่านั้น โดยมีรางวัลรวมมูลค่ากว่า 6 ล้านบาท  ทั้ง 3 ช่องทาง เมื่ออยู่ที่หน้าแบบสอบถามฯ แล้ว สามารถเริ่มตอบแบบสอบถามตามขั้นตอน ดังนี้  […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : ระวัง ! ไลน์ปลอมแอบอ้างการไฟฟ้า หลอกประชาชน

26 มีนาคม 2568 ระวัง! มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หลอกลวงประชาชนผ่านไลน์ปลอม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ออกโรงเตือนภัยประชาชนให้ระมัดระวังกลุ่มมิจฉาชีพที่กำลังแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ กฟภ. ให้บริการผ่านบัญชีไลน์ปลอม โดยเฉพาะการหลอกลวงประชาชนให้เพิ่มเพื่อนในไลน์ไอดีหมายเลข 0824800401 กฟภ. ขอย้ำชัดเจนว่าบัญชีไลน์ดังกล่าวไม่ใช่บัญชีทางการของ กฟภ. และ กฟภ. มีช่องทางการติดต่อสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันไลน์เพียงช่องทางเดียวเท่านั้นคือ LINE Official Account ชื่อว่า “@PEAThailand” ซึ่งจะมีสัญลักษณ์โล่สีเขียวปรากฏอยู่ข้างหน้าชื่อบัญชี ประชาชนควรตรวจสอบให้ดี อย่าหลงเชื่อบุคคลหรือบัญชีไลน์ที่ไม่เป็นทางการที่แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ กฟภ. โดยเด็ดขาดหากได้รับข้อความหรือการติดต่อที่น่าสงสัย ขอให้ติดต่อสอบถามกับ กฟภ. โดยตรงผ่านช่องทางต่อไปนี้เท่านั้น

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : ศธ.เตือนภัย โจรปลอมไลน์เป็นครูแนะแนว หลอกขอข้อมูลขโมยเงินนักเรียน

14 กันยายน 2567- นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งเหตุการณ์นักเรียนถูกหลอกลวงทางออนไลน์ เหตุเกิดในคืนวันที่ 11 กันยายน 2567 เวลาประมาณ 23.41 น. ผู้หลอกลวงได้สร้างบัญชีปลอมและใช้รูปโปรไฟล์ของครูแนะแนว ทำการติดต่อกับนักเรียนทางแอปพลิเคชันไลน์ Open Chat กลุ่มแนะแนวศึกษาต่อของนักเรียน ม.6 โดยแจ้งว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการยืนยันสถานะบัญชีของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และขอให้นักเรียนส่งข้อมูลส่วนตัว อาทิ ชื่อ-นามสกุล สถานะบัญชีในแอปพลิเคชัน กยศ. และข้อมูลทางการเงินอื่น ๆ เพื่อทำการแก้ไขปัญหา และอ้างเหตุผลว่านักเรียนมีปัญหาในการยืนยันบัญชีทางการเงิน ทำให้เด็กหลงเชื่อและให้ข้อมูลส่วนตัว เลขบัญชีธนาคาร ข้อมูลบัตรเครดิต และรหัส OTP ผ่านทางลิงค์ที่ผู้แอบอ้างส่งมา ทำให้เงินในบัญชีธนาคารของเด็กถูกโอนออกไปยังบัญชี ShopeePay (Thailand) เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,600 บาท ทั้งนี้ ครูแนะแนวของโรงเรียนได้ทำการตรวจสอบและยืนยันว่า บัญชีผู้ใช้ที่ติดต่อกับนักเรียนไม่ใช่ของครูแนะแนวตัวจริง และครูไม่เคยมีการติดต่อขอให้นักเรียนทำธุรกรรมทางการเงินแต่อย่างใด และเรียกประชุมนักเรียนที่กู้ยืมเงิน กยศ. เพื่อชี้แจงและเตือนภัยเกี่ยวกับการหลอกลวงทางการเงินออนไลน์ทันที พร้อมทั้งขอให้นักเรียนระมัดระวังในการส่งข้อมูลส่วนตัวและการทำธุรกรรมทางการเงินกับบุคคลที่ไม่ใช่ผู้รับผิดชอบโดยตรง “จากกรณีดังกล่าวพบว่ามิจฉาชีพปลอมบัญชีครูแนะแนว ติดต่อขอข้อมูลของนักเรียนในช่วงกลางดึก ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่เวลาที่จะมาขอข้อมูลกัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : รากฟันเทียมฟรี สำหรับคนอายุ 55 ปีขึ้นไป จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เพจเฟซบุ๊กทำรากฟันเทียมฟรี สำหรับคนอายุ 55 ปีขึ้นไป นั้น 📌 บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เพจดังกล่าวเป็นเพจปลอม ใช้ชื่อ “Healthy Living Services” อ้างว่ามีบริการทำรากฟันเทียมฟรี สำหรับผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป โดยเป็นเพจที่เพิ่งสร้างขึ้น เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 หากเผลอกดลิงก์จะนำไปสู่เว็บไซต์โฆษณาของคลินิกทำฟันต่าง ๆ คาดว่าเป็นการหลอกกดลิงก์เพื่อรับเงินค่าโฆษณา  ด้านเพจเฟซบุ๊กของทันตแพทยสภา (Thai Dental Council) ได้ออกประกาศยืนยันว่า ข้อความและรูปภาพที่แชร์กัน ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เป็นเพจปลอมของมิจฉาชีพ ห้ามแชร์ ห้ามกดลิงก์ ห้ามกรอกข้อมูล และห้ามติดตั้ง ทั้งนี้ การรักษารากฟันเทียม อยู่ในสิทธิทันตกรรมฟื้นฟู สำหรับคนทุกกลุ่มอายุที่มีปัญหาการใส่ฟันเทียมทั้งปากแล้วฟันเทียมหลวม ไม่แน่น ไม่กระชับหรือไม่สามารถใส่ฟันเทียมได้ หรือกรณีที่ทันตแพทย์วินิจฉัยแล้วว่า จำเป็นต้องได้รับการใส่รากฟันเทียม โดยผู้ที่สนใจเข้ารับการรักษา สามารถนำบัตรประชาชนไปตรวจสอบกับหน่วยบริการประจำตามสิทธิหรือหน่วยบริการปฐมภูมิได้ทุกแห่ง ดูรายชื่อคลินิกทันตกรรมที่เข้าร่วมได้ที่ https://www.nhso.go.th/page/dental-clinic  4 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : LINE เตือนภัย! คนร้ายส่ง SMS หลอกให้เข้าเว็บปลอม ลวงให้ลงชื่อกรอกรหัสผ่าน

30 สิงหาคม 2567 LINE Thailand – Official ประกาศเตือน ผู้ใช้ LINE : ขณะนี้ มี SMS แปลกปลอม แอบอ้างชื่อ LINE แจ้งว่าบัญชีของท่านผิดปกติ โดยให้คลิกลิงก์ไปยังเว็บไซต์ปลอม รวมถึงหน้าให้ล็อกอิน เพื่อกรอกอีเมลและพาสเวิร์ด จึงขอให้ผู้ใช้โปรดระมัดระวัง ไม่คลิกลิงก์หรือกรอกข้อมูลเด็ดขาด ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า เทคนิคดังกล่าว เป็นลักษณะที่เรียกว่า ฟิชชิ่ง (Phishing) ซึ่งหมายถึง การหลอกลวงบนออนไลน์ โดยใช้อีเมลหรือหน้าเว็บไซต์ปลอมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อ นามสกุล รหัสผ่าน หรือ ข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ที่ผ่านมาพบทั้ง การแอบอ้างเป็นธนาคาร หน่วยงานราชการ แพลตฟอร์มโซเซียลมีเดีย เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม เพื่อหลอกลวงให้เยื่อกรอกข้อมูลสำคัญและขโมยเงินออกจากบัญชี รับชมคลิปเกี่ยวกับฟิชชิ่งเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=kGqJ7bz-GUQ https://www.youtube.com/watch?v=Dp7G-nbDuTs 31 สิงหาคม 2567ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : ระวัง ! จม.ปลอม อ้างธ.กรุงไทย หลอกสแกนยืนยันตัวตน

เพจเฟซบุ๊กธนาคารกรุงไทย ประกาศเตือน ระวัง ! มิจฉาชีพอ้างธนาคารกรุงไทยส่งจดหมายปลอม แจ้งพบความผิดปกติของการใช้งานแอปฯ Krungthai NEXT และหลอกให้สแกน QR Code เพื่อระงับบัญชีและยืนยันตัวตน ธนาคารกรุงไทยย้ำ ! ไม่มีนโยบายส่งจดหมายให้สแกน QR Code เพื่อระงับบัญชี หรือเพื่อยืนยันตัวตน อย่าหลงเชื่อ ลูกค้ากรุงไทยสอบถามหรือแจ้งเหตุได้ที่ โทร. 02-111-1111 กด 108 ตลอด 24 ชั่วโมง 30 สิงหาคม 2567ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท

เก็ง 5 มุกมิจจี้ ดิจิทัลวอลเล็ต | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

30 กรกฎาคม 2567 คุณคิดว่า “มิจฉาชีพ” หรือแบบที่หลายคนเรียกว่า “มิจจี้” จะฉวยโอกาสนำ โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต มาหลอกลวงเรากันอย่างไรบ้าง ? วันนี้ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้รวบรวม 5 มุกมิจฉาชีพที่อาจมาพร้อมดิจิทัลวอลเล็ตมาเตือนภัย เพื่อให้ทุกคนสามารถลงทะเบียนได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจมากขึ้น  หนึ่งในกลลวงที่อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ คาดว่ามาแน่ คือ แอปพลิเคชันปลอม ที่ตั้งชื่อคล้าย โลโก้เหมือน มีตัวอย่างให้เห็นมาหลายเคส ทั้ง แอปพลิเคชันเป๋าตัง ไทยชนะ หมอพร้อม ที่ต่างก็เคยโดนมิจฉาชีพปลอมมาแล้วทั้งนั้น ซึ่งแอปพลิเคชันปลอมเหล่านี้ อาจมีการเข้าถึงและขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของเรา หรือเรียกเก็บค่าบริการแอปพลิเคชัน ทำยังไง ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อแอปผี ? ก่อนจะดาวน์โหลด ต้องเช็กให้ชัวร์ ว่าเป็นแอปพลิเคชันจริงหรือไม่ ของจริงต้องชื่อ “ทางรัฐ” เท่านั้น เป็นต้องเป็นแอปทางรัฐแท้ที่มาจาก App store (iOS) หรือ Play Store (Android)  สำหรับคนที่เข้าไปค้นคำว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ! SMS โจร อ้างชื่อ Line หลอกกดลิงก์ ล็อกอินเข้าบัญชี

18 มิถุนายน 2567 เพจเฟซบุ๊กไลน์ประเทศไทย (LINE Thailand – Official) ประกาศเตือนผู้ใช้งาน LINE ระวัง SMS ปลอม แอบอ้างชื่อ LINEแจ้งให้ผู้ใช้งานล็อกอินเข้าบัญชี LINE เพื่อรักษาสถานะการใช้งาน โดยให้คลิกลิงก์แปลกปลอม ที่นำไปสู่การให้ล็อกอินเข้าบัญชี LINE บนหน้าเว็บเบราเซอร์  จึงใคร่ขอเตือนผู้ใช้ LINE โปรดพิจารณาข้อความโดยละเอียดและระมัดระวังในการคลิกลิงก์เหล่านั้นหากพบข้อสงสัย กรุณาติดต่อ contact-cc.line.me

โจรปลอมเอกสาร AIS อ้างยกเลิกเบอร์ พัวพันกับเว็บพนัน l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

17 พฤษภาคม 2567 เว็บไซต์และเพจเฟซบุ๊ก AIS ประกาศเตือนระวังมิจฉาชีพปลอมแปลงเอกสารบริษัท ยืนยัน ! ไม่มีนโยบายแจ้งการดำเนินธุรกรรมเกี่ยวกับเลขหมายทุกรูปแบบ ในทุกช่องทาง จากกรณีที่ลูกค้าได้รับเอกสารแจ้งเตือนการยกเลิกสัญญา เนื่องจากมีการกล่าวอ้างว่าหมายเลขดังกล่าวได้การเข้าไปพัวพันกับการพนันออนไลน์และนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และจะถูกระงับการใช้งานภายใน 2 ชั่วโมง ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีการแอบอ้างโดยใช้แบบฟอร์มและลงนามโดยผู้บริหารจาก AIS ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ลูกค้า นั้น AIS จึงขอแจ้งเตือนลูกค้า และประชาชน อย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพที่ปลอมแปลงเอกสาร หรือ ข้อความที่ส่งต่อ โดยขอยืนยันว่า บริษัทไม่มีนโยบายในการส่งเอกสาร หรือ ข้อความในทุกช่องทาง ให้ดำเนินธุรกรรมเกี่ยวกับเลขหมายในทุกรูปแบบ รวมถึงจะไม่มีการทัก หรือ ติดต่อลูกค้าไปในทุกช่องทางเช่นกัน ดังนั้นหากพบเจอ เอกสาร หรือ ข้อความ ในลักษณะดังกล่าว สามารถแจ้งมาได้ที่ AIS Spam Report Center 1185 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

1 2 3 5
...