ผู้อพยพโรฮีนจาในบังกลาเทศไร้ที่อยู่หลังไฟไหม้ค่ายพัก
ผู้อพยพชาวโรฮีนจากว่า 8,000 ตนต้องประสบภัยไร้ที่อยู่อาศัยในวันนี้ หลังจากเกิดเพลิงไหม้เป็นบริเวณกว้างในค่ายผู้อพยพในเมืองค็อกซ์บาซาร์ ทางใต้ของบังกลาเทศ
ผู้อพยพชาวโรฮีนจากว่า 8,000 ตนต้องประสบภัยไร้ที่อยู่อาศัยในวันนี้ หลังจากเกิดเพลิงไหม้เป็นบริเวณกว้างในค่ายผู้อพยพในเมืองค็อกซ์บาซาร์ ทางใต้ของบังกลาเทศ
ค็อกซ์บาซาร์ 14 พ.ค.- เจ้าหน้าที่พยากรณ์ว่า ไซโคลนโมคา (Mocha) จะขึ้นฝั่งพื้นที่ที่อยู่ระหว่างเมืองค็อกซ์บาซาร์ของบังกลาเทศกับเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ของเมียนมาราวเวลา 13:30 น.วันนี้ตามเวลาไทย เว็บไซต์ซูมเอิร์ธ (Zoom Earth) รายงานว่า ไซโคลนโมคามีความเร็วลมสูงสุด 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จัดเป็นซูเปอร์ไซโคลน ทางการบังกลาเทศอพยพคน 190,000 คนในเมืองค็อกซ์บาซาร์และอีก 100,000 คนในเมืองจิตตะกองไปยังพื้นที่ปลอดภัย เมืองค็อกซ์บาซาร์เป็นที่ตั้งของค่ายผู้ลี้ภัยจำนวนมากที่มีชาวโรฮีนจาลี้ภัยอยู่ร่วมล้านคน ค่ายเหล่านี้ตั้งอยู่ตามเชิงเขาที่เสี่ยงเกิดดินถล่ม และสร้างขึ้นอย่างลวก ๆ ด้วยผ้าใบกันน้ำและไม้ไผ่ เพราะทางการเกรงว่าหากสร้างถาวรผู้ลี้ภัยจะไม่เดินทางกลับเมียนมา หลังจากหนีมาตั้งแต่ 5 ปีก่อน ด้านชาวโรฮีนจาที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นในเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ ทางตะวันตกสุดของเมียนมาก็เสี่ยงภัยจากไซโคลนโมคาเช่นกัน แกนนำในค่ายเผยว่า ทางการไม่ได้อพยพพวกเขาไปยังสถานที่ปลอดภัย โดยจัดหาให้เพียงอาหารและสิ่งจำเป็นเท่านั้น พวกเขากังวลว่าจะตกอยู่ในอันตรายหากระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ชาวเมืองซิตตเวพากันอพยพขึ้นสู่ที่สูงตั้งแต่วันเสาร์ เพราะมีคำพยากรณ์เตือนว่า อาจเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งหรือสตอร์มเซิร์จสูงถึง 3.5 เมตร ด้านนครย่างกุ้งที่อยู่ห่างออกไป 500 กิโลเมตรมีฝนตกและลมแรงแล้วในวันนี้ ไซโคลนเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดียด้านทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล เทียบเท่ากับไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก และเฮอริเคนที่เกิดขึ้นทางเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก.-สำนักข่าวไทย
ธากา 10 ส.ค. – บังกลาเทศเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ให้แก่ชาวมุสลิมโรฮิงญาในค่ายผู้ลี้ภัยที่เมืองค็อกซ์บาซาร์ซึ่งเป็นค่ายผู้อพยพที่ใหญ่ที่สุดในโลกในวันนี้ หัวหน้าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของเมืองค็อกซ์บาซาร์ในบังกลาเทศเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์สว่า ชาวโรฮิงญาราว 48,000 คนที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ตั้งแต่วันอังคารไปจนถึงวันพฤหัสบดีด้วยความช่วยเหลือจากหน่วยงานของสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ทั้งยังระบุว่า การฉีดวัคซีนในครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น เพราะชาวโรฮิงญาวัยผู้ใหญ่จะได้รับการฉีดวัคซีนต่อไปเป็นระยะ ๆ อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ของรัฐยะไข่ทางตะวันตกของเมียนมาเคยกล่าวผ่านสื่อว่า ขณะนี้พวกเขายังไม่มีแผนฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ ก่อนหน้านี้ ทางการบังกลาเทศพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดพุ่งสูงขึ้นในค่ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้มียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมในค่ายดังกล่าวราว 20,000 คน และมีผู้เสียชีวิต 200 คนนับตั้งแต่พบการระบาดครั้งแรกเมื่อปีก่อน ในขณะเดียวกัน ทางการบังกลาเทศก็พยายามควบคุมยอดผู้ป่วยติดเชื้อและผู้เสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้มียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 1.36 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตกว่า 22,800 คน.-สำนักข่าวไทย
การส่งกลับชาวมุสลิมโรฮิงญาจากศูนย์ผู้อพยพในเมืองคอกซ์บาซาร์ของบังกลาเทศ ซึ่งมีผู้อพยพชาวโรฮิงญาจากเมียนมาอาศัยอยู่ประมาณ 1 ล้าน คนไม่เป็นไปตามแผน
โรฮิงญาในค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองคอกซ์บาซาร์ไม่ต้องการจะเดินทางกลับเมียนมา หากยังไม่ได้รับสิทธิเป็นพลเมืองและรับประกันความปลอดภัย
บังกลาเทศอ้างการประเมินของอาสาสมัครว่า ผู้อพยพชาวโรฮิงญาที่หนีข้ามพรมแดนมาจากเมียนมาตั้งแต่ปีก่อนไม่สมัครใจกลับตามแผนที่จะเริ่มในวันนี้แม้แต่คนเดียว
บังกลาเทศห้ามบริษัทโทรคมนาคมจำหน่ายโทรศัพท์มือถือให้ผู้อพยพชาวโรฮิงญา โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง
บังกลาเทศจะย้ายผู้ลี้ภัยโรฮิงญาไปบนเกาะห่างไกลที่ถูกน้ำท่วมทุกปี หลังจากมีชาวโรฮิงญาหนีเหตุรุนแรงในเมียนมาหลั่งไหลเข้ามากว่า 300,000 คนแล้วตั้งแต่ปลายเดือนก่อน