หญิงเปรูทำ “การุณยฆาต” คนแรกของประเทศ

ลิมา 26 เม.ย.- หญิงชาวเปรูที่ป่วยด้วยโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เสียชีวิตแล้วจากการทำการุณยฆาตเป็นรายแรกของประเทศ หลังจากศาลสูงวินิจฉัยให้เธอสามารถทำการุณยฆาตโดยได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์ ตามที่เธอยื่นเรื่องร้องขอ อนา เอสตราดา นักจิตวิทยาวัย 47 ปี ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบมานานกว่า 30 ปี และในช่วง 5 ปีหลัง อาการของเธอแย่ลงเรื่อยๆ ถึงขั้นกล้ามเนื้อเกือบทั้งหมดไม่สามารถใช้การได้ ทำให้เธอไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ มีชีวิตแบบผู้ป่วยติดเตียง และอยู่ได้ด้วยเครื่องช่วยหายใจและอยู่ภายใต้การดูแลของบุคคลอื่น ล่าสุด ทนายความของเอสตราดาแจ้งผ่านเอ็กซ์ (X) ว่า เอสตราดาเสียชีวิตแล้วจากทำการุณยฆาตโดยได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน ก่อนหน้านี้ เอสตราดาไม่สามารถทำการุณยฆาตเพื่อจบชีวิตของตัวเองได้ เนื่องจากขัดต่อกฎหมายของเปรูที่ระบุไว้ว่า ผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือให้คนคนหนึ่งจบชีวิตตัวเอง จะมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 3 ปี แต่เอสตราดาได้ยื่นคำร้องต่อศาลสูง ระบุว่าสาเหตุที่เธอต้องการทำการุณยฆาต เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เธอต้องล้มหมอนนอนเสื่อเป็นผู้ป่วยติดเตียง และใช้ชีวิตอยู่กับเครื่องช่วยหายใจ จากโรคที่ไม่มีทางรักษา เธอต้องการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานเพื่อจากไปอย่างมีศักดิ์ศรี ภายใต้การดำเนินงานทางการแพทย์ ต่อมา ศาลสูงเปรูมีคำวินิจฉัยในปี 2566 โดยแม้จะยังยืนยันว่า การทำการุณยฆาตไม่สามารถทำได้ตามกฎหมายในประเทศเปรู แต่ศาลจะยกเว้นไม่เอาผิดกับแพทย์ที่ให้ยาเพื่อช่วยทำการุณยฆาตให้กับเอสตราดา เพื่อให้เธอได้จากไปอย่างมีศักดิ์ศรีตามที่ร้องขอ การทำการุณยฆาตยังคงถือว่าผิดกฎหมายในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงในเปรู ซึ่งผู้คนนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นส่วนใหญ่ […]

นอร์เวย์ตัดสินใจฆ่า “เฟรยา” วอลรัสชื่อดังแล้ว

ออสโล 15 ส.ค. – นอร์เวย์ฆ่า ‘เฟรยา’ (Freya) วอลรัสเพศเมียชื่อดังขวัญใจชาวนอร์เวย์ ที่มักโผล่ขึ้นมานอนเล่นบนเรือหรือนอนอาบแดดบนท่าเรือตามแนวชายฝั่งกรุงออสโล โดยให้เหตุผลว่า เฟรยาเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของมนุษย์ สำนักงานประมงของนอร์เวย์ระบุในแถลงการณ์ว่า ทางการนอร์เวย์ได้ตัดสินใจการุณยฆาตเฟรยา น้ำหนักตัว 590 กิโลกรัม เมื่อช่วงเช้ามืดวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น หลังประชาชนไม่สนใจคำเตือนหลายครั้งของทางการว่าให้เว้นระยะห่างจากเฟรยาเพื่อความปลอดภัย แนวทางนี้เป็นวิธีที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งยังระบุว่า นอร์เวย์ให้ความสำคัญเรื่องสวัสดิภาพของสัตว์ แต่ความสำคัญของชีวิตและความปลอดภัยของมนุษย์ต้องมาก่อน อย่างไรก็ดี การตัดสินใจฆ่าเฟรยาทำให้ทางการนอร์เวย์ถูกตำหนิอย่างหนักในสื่อโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้งานสื่อโซเชียลมีเดียหลายคนมองว่า การตัดสินใจดังกล่าวเป็นเรื่องน่าอับอายระดับชาติ และบางส่วนก็ตั้งคำถามว่า ทำไมนอร์เวย์ถึงไม่พยายามย้ายเฟรยาไปปล่อยในน่านน้ำที่ปลอดภัยก่อนใช้วิธีการุณยฆาต หนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ของสหรัฐ รายงานว่า วอลรัสเพศเมียตัวนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า ‘เฟรยา’ ตามชื่อของเทพธิดาแห่งความงามและความรักของนอร์เวย์ มันปรากฏตัวขึ้นตามท่าเรือในกรุงนอร์เวย์ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกรกฎาคมและได้รับความสนใจจากชาวเมืองอย่างล้นหลาม จนกระทั่งสื่อท้องถิ่นถึงขั้นติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อตามติดชีวิตของมันตลอด 24 ชั่วโมง ก่อนหน้านี้ เคยมีผู้พบเห็นเฟรยาในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาตามแนวชายฝั่งของประเทศในทวีปยุโรป เช่น อังกฤษ เดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ กลุ่มอนุรักษ์สัตว์ป่าคาดการณ์ว่า ทะเลน้ำแข็งที่ละลายเร็วขึ้นจากปัญหาโลกร้อนอาจมีส่วนทำให้วอลรัส ซึ่งปกติมักนอนพักบนทะเลน้ำแข็ง ต้องหันมานอนพักบนบกมากขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาดังกล่าวยังทำให้วอลรัสต้องอยู่ห่างไกลจากแหล่งหาปลาดั้งเดิมอีกด้วย. -สำนักข่าวไทย

วาฬเบลูกาที่หลงเข้าไปในแม่น้ำแซนในฝรั่งเศสตายแล้ว

วาฬเบลูกาสีขาวที่มีอาการป่วยและหลงว่ายเข้าไปในแม่น้ำแซนในฝรั่งเศสตายแล้วเมื่อวานนี้หลังจากเจ้าหน้าที่พยายามให้ความชวยเหลือนำมันกลับไปยังทะเลทางตอนเหนือของฝรั่งเศส

นิวซีแลนด์ผ่านประชามติกฎหมายการุณยฆาต

คณะกรรมการการเลือกตั้งของนิวซีแลนด์เผยวันนี้ว่า นิวซีแลนด์ลงประชามติสนับสนุนกฎหมายการทำให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบหรือการุณยฆาต แต่อาจไม่ผ่านกฎหมายที่อนุญาตให้เสพกัญชาเพื่อสันทนาการได้อย่างถูกต้อง

งานเข้าคลินิกการุณยฆาตแห่งเดียวในเนเธอร์แลนด์หลังข่าวช่วยวัยรุ่นจบชีวิต

คลินิกการุณยฆาตที่มีเพียงแห่งเดียวในเนเธอร์แลนด์เผยมีชาวต่างชาติโทรศัพท์มาขอใช้บริการเพิ่มขึ้น หลังมีข่าวคลาดเคลื่อนแพร่สะพัดว่า ช่วยวัยรุ่นสาวคนหนึ่งจบชีวิต

ชี้ข้อแตกต่างของการุณยฆาตกับ ม.12 ของ พ.ร.บ.สุขภาพไทย

แพทยสภาชี้ การุณยฆาต เป็นการแสดงเจตจำนงต้องการฆ่าตัวตาย ของผู้ที่มีสติสัมปชัญญะดี ซึ่งทำได้ในบางประเทศ เท่านั้น ส่วนไทยมี ม. 12 ของ พ.ร.บ.สุขภาพ ที่ผู้ป่วยสามารถแสดงเจตจำนงการจากไป ไม่ให้แพทย์ใช้เครื่องช่วยชีวิต

เปิดเวทีเสวนา การวางแผนวาระสุดท้ายของชีวิต

นักวิชาการวงการแพทย์ ย้ำLiving Will ต่างจาก การุณยฆาต ชี้คนไทยยังขาดการวางแผนวาระสุดท้ายของชีวิต ส่งผลกระทบต่อคนในครอบครัว

สิทธิการฆ่าตัวตาย

การุณยฆาต หรือการเร่งให้ตาย ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นอีกครั้งเมื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียตัดสินใจจบชีวิตตัวเองด้วยวิธีนี้ ส่วนไทยเองมีกฎหมายให้สิทธิการตายสำหรับผู้ป่วยในวาระสุดท้ายมากว่า 10 ปีแล้ว

นักวิทย์ออสเตรเลียวัย 104 จบชีวิตที่สวิตเซอร์แลนด์แล้ว

นักวิทยาศาสตร์อายุยืนที่สุดในออสเตรเลียจบชีวิตที่สวิตเซอร์แลนด์แล้วในวันนี้ตามความประสงค์ หลังออกเดินทางไปเมื่อสัปดาห์ก่อน

ศาลสูงอินเดียอนุญาตให้การุณยฆาตผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ศาลสูงของอินเดียอนุญาตให้ประชาชนสามารถทำพินัยกรรมชีวิต หรือหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับการรักษาเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนเองได้

ออสเตรเลียผ่านกฎหมายการุณยฆาต

รัฐสภาของรัฐวิคตอเรีย ผ่านร่างกฏหมายเรื่อง การุณยฆาต เป็นรัฐแรกของออสเตรเลีย โดยอนุญาตให้ผู้ป่วยหนักสามารถเลือกจบชีวิตตัวเองด้วยความช่วยเหลือจากแพทย์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

...