กรมการแพทย์-ม.มหิดล พัฒนาเครื่องตรวจโควิดด้วยลมหายใจ
กรมการแพทย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาเครื่องตรวจโควิดด้วยลมหายใจ ตรวจจับก๊าซคาร์บอนฯ อะซิโตน ที่มีมากในคนป่วยโควิด แม่นยำใกล้เคียง RT-PCR หวังใช้ในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคเดือน พ.ย.นี้
กรมการแพทย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาเครื่องตรวจโควิดด้วยลมหายใจ ตรวจจับก๊าซคาร์บอนฯ อะซิโตน ที่มีมากในคนป่วยโควิด แม่นยำใกล้เคียง RT-PCR หวังใช้ในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคเดือน พ.ย.นี้
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ เผยโรคมาลาเรียเกิดจากการที่ยุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะนำโรคเข้าสู่ร่างกาย หลังจากปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะพัฒนาให้เกิดเป็นโรคมาลาเรีย ทำให้มีไข้สูง ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงคือ “ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง”
กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อสายใยแห่งรักจากแม่สู่ลูก
กรมการแพทย์ร่วม รพ.รามาธิบดี ย้ำจ่ายยาต้านไวรัสรักษาโควิดตามเกณฑ์ ไม่จำเป็นไม่อยากให้ใช้พร่ำเพรื่อ เตือนแพกซ์โลวิดแรง หากใช้ร่วมกับยาอื่น เช่น ไมเกรน ทำให้ปลายนิ้วดำ เสี่ยงตัดนิ้ว ส่วนคนป่วยลิ่มเลือดอาจเกิดภาวะเลือดออกในสมอง แนะใช้ยาและอยู่ในความดูแลของแพทย์
อธิบดีกรมการแพทย์ เผยผุดนวัตกรรมรักษาผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบแบบใหม่ ใช้วิธีลากลิ่มเลือดจากข้อพับตามแขนขา คล้ายสวนหัวใจ เพิ่มทางรอดผู้ป่วย หากรับยาละลายลิ่มเลือดไม่ทันใน 4 ชม. ใช้เวลาผ่าตัด 1-2 ชม. ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วรักษาไปแล้ว 120-130 คน ขยายในชุดสิทธิประโยชน์ สปสช. จากเดิมรักษา 2 แสนบาท เป็นรักษาฟรี
กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เผยโควิด-19 ระบาด ส่งผลให้มีเด็กอายุ 0-18 ปีติดเชื้อเพิ่มขึ้น คาดทำให้พบผู้ป่วย MIS-C (มิสซี) เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่หากวินิจฉัยและรักษาทันท่วงทีจะช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคนี้และลดภาวะแทรกซ้อนได้
กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยไม่ชอบดื่มน้ำเปล่า ไม่ใช่ปัจจัยหลักโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง หากมีอาการ พูดลำบาก ปากตก แขนขายกไม่ขึ้น ควรรีบไปโรงพยาบาลทันทีเพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องรวดเร็ว ย้ำเร็วก็รอด ปลอดอัมพาต
กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยภาวะจดจำใบหน้าไม่ได้ (Prosopagnosia) เป็นภาวะบกพร่องของสมองในการรับรู้และประมวลผล สูญเสียการจดจำใบหน้าอย่างสมบูรณ์
กรมการแพทย์ชี้ “มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” พบบ่อยในคนไทย แนะหมั่นสังเกตตนเองหากคลำพบต่อมน้ำเหลืองโตหรือมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์
กรมการแพทย์ 24 มิ.ย.-กรมการแพทย์จัดกิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติด ระบุแนวโน้มผู้ป่วยจากกัญชายังไม่ได้เพิ่มสูงขึ้น พบสูงสุดยังมาจากยาบ้า เฮโรอีน และไอซ์ กรมการแพทย์ โดยสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ร่วมมือกับโครงการ FRIEND OF JUNE จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลกปี 2565 เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้มีความรู้และตระหนักถึงโทษพิษภัย ร่วมแรงร่วมใจในการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้ห่างไกลจากยาเสพติด นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ บอกว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสังคมในทุกระดับที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ในส่วนของการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ปีนี้กรมการแพทย์ตั้งเป้าหมายจะเพิ่มการเข้าถึงบริการของประชาชน ผู้มีปัญหายาเสพติดได้รับการบำบัดรักษาใกล้บ้าน ลดความแออัด ค่าใช้จ่ายน้อย ลดการตีตรา สร้างระบบการเชื่อมต่อบริการตั้งแต่ระดับพื้นที่ถึงระดับ รพ.สถาบันเฉพาะทาง โดยเพิ่มความสามารถหน่วยบริการในพื้นที่ ให้เป็นมินิธัญญารักษ์ จัดระบบปรึกษาระหว่างแพทย์เป็น Tele consult หากเกินศักยภาพ ก็จะให้มีการส่งต่อมาที่โรงพยาบาลเฉพาะทางของกรมการแพทย์ และเมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น จะส่งกลับไปติดตามต่อเนื่องที่มินิธัญญารักษ์ในพื้นที่ ช่วยให้เกิดการดูแลแบบไร้รอยต่อตลอดช่วงชีวิต Life-long follow up ที่สำคัญจะมีการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบของกัญชาหลังประกาศไม่เป็นยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย รวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน และการวางระบบเฝ้าระวังการใช้กัญชาในทางที่ผิดด้วย ทั้งนี้ แนวโน้มหลังการปลดล็อกกัญชา จำนวนผู้ป่วยจากการใช้กัญชาที่เข้ารับการบำบัดรักษา ก็ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นจากภาวะปกติ ผู้ป่วยที่พบมากสุดยังคงมาจากการใช้ยาบ้า เฮโรอีน และไอซ์ พร้อมย้ำ […]
กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยการฝังเข็มบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท ช่วยปรับการทำงานของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ให้กลับสู่สภาพสมดุลปกติหรือใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด
อธิบดีกรมการแพทย์ เผย รพ.สังกัดกรมการแพทย์ ยังไม่มีรายงานได้รับผลกระทบจากกัญชา ในช่วงที่ยังไม่มี พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ควบคุม