ITU มุ่งสร้างความตระหนักรู้ด้าน Cybersecurity ให้กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

หน่วยงานสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ส่งเสริมทักษะความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ (Cybersecurity) ผ่านการจัดงาน WTDC 2022 และผ่านโครงการ “การอบรมผู้สื่อข่าวเพศหญิงในภูมิภาคเอเชีย ในหัวข้อ “การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์” ร่วมกับองค์กรพาร์ทเนอร์อย่าง AIBD และ USIAD


Cybersecurity คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร ?

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) ระบุว่า Cybersecurity หรือ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ ความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ คือการนำเครื่องมือเทคโนโลยี กระบวนการ และวิธีการปฏิบัติ มารับมือและป้องกันการโจมตีจากแฮกเกอร์หรือบุคคลที่สามโดยไม่ได้รับอนุญาต ที่เข้ามายังอุปกรณ์เครือข่าย, โครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ, หรือโปรแกรม เพื่อสร้างความเสียหายในรูปแบบต่าง ๆ จนระบบสูญเสียทั้งข้อมูลสำคัญและเงินจำนวนมหาศาล


ในยุคปัจจุบัน หน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากภาครัฐหรือภาคเอกชนควรจะให้ความสำคัญกับ Cybersecurity มากขึ้น เนื่องจากรูปแบบการโจมตีทางด้านไซเบอร์มีความหลากหลายมากขึ้น และสามารถสร้างความเสียหายให้กับองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่มักจะเป็นเหยื่อจากจากถูกโจรกรรมทางไซเบอร์มักจะเป็นหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความสำคัญสูง รวมถึงผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปที่ยังขาดทักษะในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง


คุณ อัตสึโกะ โอคุดะ ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคของหน่วยงาน ITU

คุณ อัตสึโกะ โอคุดะ ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคของหน่วยงานสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) กล่าวว่า “สถาบันการเงินและธนาคาร มักจะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรมทางไซเบอร์ รวมถึงผู้ที่มีความเปราะบาง เช่น เด็ก ๆ และผู้สูงอายุที่เล่นอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก

สถิติในปี 2021 ระบุว่า ตั้งแต่ช่วงปี 2019-2021 มีประมาณ 800 กว่าล้านผู้ใช้จากทั่วโลก ที่เพิ่งเข้าร่วมอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ซึ่งมันยากมากที่จะจัดประเภทและจัดอันดับได้ ว่ากลุ่มผู้ใช้ไหนเปราะบางมากที่สุด แต่ผู้ใช้ 800 ล้านเหล่านี้ล้วนเป็นกลุ่มผู้เปราะบางทั้งสิ้น”


หน่วยงานสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และองค์กรพาร์ทเนอร์มีบทบาทในการช่วยเหลืออย่างไร ?

จากปัญหาและความสำคัญที่ได้กล่าวมาข้างต้น หน่วยงานระดับสากลอย่างสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ที่ซึ่งเป็นหนึ่งใน 21 หน่วยงานทางด้านโทรคมนาคมระหว่างประเทศของทีมสหประชาชาติในประเทศไทย ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้เช่นกัน

โดยหน่วยงาน ITU ได้จัดงาน WTDC 2022 ขึ้น ที่เมืองคิกาลี ประเทศรวันด้า ตั้งแต่วันที่ 6 จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2565 ซึ่งภายในงานก็ได้มีการนำประเด็นเรื่อง Cybersecurity ขึ้นมาเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ควรเร่งให้ความช่วยเหลือ

โดยเฉพาะกับชุมชนในประเทศที่ยังไม่พัฒนาเต็มที่ อย่างประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องไปกับคอนเซปต์หลักของงาน ที่ต้องการช่วยเหลือประชากรทั่วโลกที่ยังเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต ให้พวกเขาได้เชื่อมต่อกับโลกยุคดิจิทัล และมีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขั้นพื้นฐาน (Digital literacy) ซึ่งความรู้ด้าน Cybersecurity ก็คือหนึ่งในทักษะนั้น

นอกจากนี้ หน่วยงาน สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ยังร่วมมือกับองค์กรพาร์ทเนอร์อย่าง AIBD (The Asia-Pacific Institute for Broadcasting Development) และ USAID (U.S. Agency for International Development) เพื่อจัดทำโครงการ อบรมผู้สื่อข่าวเพศหญิงในภูมิภาคเอเชีย ในหัวข้อ “การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity)” เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการดูแลความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสารในวงการวารสารศาสตร์

โดย ดร. Tadas Jakštas ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างศักยภาพความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้ให้ความเห็นถึงเรื่องนี้ว่า “สำหรับวงการวารสารศาสตร์ (journalism) นั้น ผมว่าเรื่องนี้สำคัญมาก เพราะผู้สื่อข่าวจะเป็นผู้ที่ถือข้อมูลอยู่กับตัว พวกคุณล้วนถือข้อมูลที่ทั้งสำคัญและละเอียดอ่อน เพราะงั้น ถ้าจะให้เข้าใจแก่นแท้และพื้นฐานของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ คุณต้องรู้ว่าจะป้องกันตัวเองอย่างไร กล่าวคือ รู้ว่าควรจะต้องตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับมาอย่างมีวิจารณญาณอย่างไร หรือรู้ว่าจะต้องมีสุขอนามัยที่ดีในการใช้งานไซเบอร์ (Cyber Hygiene) อย่างไร

เช่น วิธีทั่วไปอย่างการตั้งค่ารหัสผ่านของคุณให้รัดกุมที่สุด การรู้ว่าควรจะเชื่ออะไรหรือไม่เชื่ออะไรบนโลกออนไลน์ เพราะฉะนั้น มันจึงสำคัญมากที่เหล่าผู้สื่อข่าวควรจะได้รับการอบรมในเรื่องเหล่านี้ เพราะทุกวันนี้ เราอยู่ในยุคของการ Digitalization (กล่าวคือ การปรับเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ที่เป็นแบบอนาล็อกไปเป็นดิจิทัล) ที่มีข้อมูลใหม่ ๆ ผุดขึ้นมามากมาย มันสำคัญมากที่เหล่านักข่าวจะต้องมีความยืดหยุ่นในด้านเหล่านี้โดยเฉพาะ”

ดร. Tadas Jakštas ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างศักยภาพความปลอดภัยทางไซเบอร

นอกจากการผลักดันเรื่อง Cybersecurity แล้ว ทางหน่วยงาน ITU ยังมีแนวทางในการช่วยเหลือประชากรโลกที่มีประมาณ 2.9 พันล้านคน ที่ยังเข้าไม่ถึงการเชื่อมอินเทอร์เน็ตอีกด้วย

คุณ อัตสึโกะ โอคุดะ ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคของหน่วยงานสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ให้สัมภาษณ์ว่า การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ไม่ได้เป็นแค่ประเด็นที่จำเป็นสำหรับผู้สื่อข่าวเท่านั้น หรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้าน IT แต่มันจำเป็นกับทุก ๆ คน เพราะอย่างที่พวกคุณรู้กัน สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเล่นอินเทอร์เน็ต พวกเขาไม่รู้หรอกว่าจะป้องกันตัวเองยังไง

มีหลายกรณีศึกษามากมายที่กล่าวถึงผู้ใช้ใหม่ที่แบ่งปันรหัสผ่าน ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ของตนเองลงบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งมันจะเป็นการสร้างช่องโหว่ให้กับตัวพวกเขาเอง ในการถูกแฮค หรือถูกสะกดรอยตาม ซึ่งล้วนถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงทางไซเบอร์ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เราจึงอยากให้ผู้สื่อข่าวรายงานเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ที่มันส่งผลกระทบกับทุกคน รวมถึงเด็ก ผู้สูงวัย และผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ เพื่อที่พวกเขาจะได้ใช้เป็นข้อควรระวังเวลาจะเล่นอินเทอร์เน็ต

“เรายังให้ความสำคัญกับประชากร 2.9 พันล้านคนเหล่านั้นเช่นกัน และรวมถึงผู้ที่เพิ่งจะได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมาไม่นานด้วย ซึ่งมีหลากหลายวิธีในการช่วยให้ 2.9 พันล้านคนเหล่านั้นเชื่อมต่อถึงเรา


โดย 96% เปอร์เซนต์ของคนกลุ่มนั้นอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา และส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในชุมชนที่ห่างไกลมาก ๆ ที่ซึ่งอาจจะไม่มีกำลังจ่ายมากพอสำหรับโครงสร้างพื้นฐานและบริการต่าง ๆ ดังนั้น พวกเขาจึงต้องการการดำเนินการที่มุ่งเป้าหรือจำเพาะเจาะจง (targeted and specialized interventions) จากพวกเราทุกคน


เพราะฉะนั้น หนึ่งในวิธีการที่ ITU กำลังส่งเสริมอยู่ คือ โครงการ เกาะอัจฉริยะ (smart island) และ หมู่บ้านอัจฉริยะ (smart village) มันไม่ใช่แค่การเชื่อมต่อกับหมู่บ้านและเกาะต่าง ๆ แต่ยังเป็นการพัฒนาขีดความสามารถและความรู้ด้านดิจิทัลของคนในชุมชนเหล่านั้นด้วย เช่น การจัดการอบรมเรื่อง cybersecurity

เราไม่ได้จะส่งเสริมชุมชนแค่ให้มีการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) หรือการเกษตรอิเล็กทรอนิกส์ (E agriculture) และยื่นโทรศัพท์ให้พวกเขาใช้อย่างเดียว แต่เราต้องมั่นใจด้วยว่า พวกเขารู้ว่าควรทำอย่างไร มีทักษะและความรู้ถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในพื้นที่ ๆ ห่างไกลแบบนั้นอย่างไร และนี่ก็คือ 1 ในวิธีที่จะเชื่อมต่อ 2.9 พันล้านคนเหล่านั้น”


เรียบเรียงบทความโดย: ชณิดา ภิรมณ์ยินดี

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง