ชัวร์ก่อนแชร์ : ขวดน้ำดื่มแช่แข็งมีสารอันตราย จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์เตือนว่า ห้ามนำขวดน้ำดื่มไปแช่แข็ง เพราะจะมีสารไดออกซินที่เป็นสารพิษออกมาจากพลาสติก เรื่องนี้จริงหรือไม่


🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

1. ศ.ดร.ประณัฐ โพธิยะราช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


2. ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข้อมูลที่แชร์ว่า “ขวดน้ำดื่มแช่แข็งช่องฟรีซ มีสารอันตรายออกมา” เป็นเรื่องที่ไม่จริง

สำหรับขวดน้ำพลาสติกใส ๆ โดยทั่วไป จะเป็นพลาสติกที่เรียกว่า PET หรือโพลีเอทีลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate)


ส่วนถุงบรรจุอาหารนิยมใช้พลาสติกจำพวกโพลีโพรพีลีน (Polypropylene) หรือ PP

สารที่กำลังอยู่ในความสนใจคือ ไดออกซิน (Dioxins) พบว่าไม่ได้อยู่ในพลาสติกทั้งสองประเภทเลย

ในคลิประบุว่า จะมีสารไดออกซินออกมาปนกับอาหาร ?

“ไดออกซิน” เป็นสารพิษจริง แต่สารพิษที่เดิมพบในพลาสติกจำพวกที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ รู้จักกันในชื่อว่า โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride : PVC) ซึ่งตอนหลังมีการพัฒนาปรับปรุง PVC ให้มีสารเจือปนเหล่านี้น้อยลง

ที่ผ่านมายังไม่พบสารไดออกซินในพลาสติกจำพวกที่ไม่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นโพลีเอทีลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate : PET) หรือโพลีโพรพีลีน (Polypropylene : PP)

ความเห็นของอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ?

เรื่องนี้ไม่จริงเช่นกัน เพราะไม่มีหลักฐานใด ๆ ยืนยันว่าขวดน้ำที่เป็นโพลีเอทีลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate : PET) จะปล่อยไดออกซินที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เพราะฉะนั้นเขาถึงได้เลือกใช้ PET ในการผลิตขวดน้ำ ไม่ว่าจะทำให้อุณหภูมิผิดปกติ แช่แข็ง หรือแม้กระทั่งขวดน้ำอยู่ร้อน ๆ ในรถยนต์ก็ไม่ปล่อยสารอะไรทั้งนั้น

ในคลิปที่แชร์กันอธิบายว่า เมื่อแช่แข็งจะมีสารหลุดออกมา ?

เวลาพูดถึงเรื่องกลไกพวกนี้ ก็ต้องย้อนไปถึงกลไกทางเทอร์โมไดนามิกส์ (Thermodynamics) เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของโมเลกุล ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่า ยิ่งอุณหภูมิเย็น การเคลื่อนที่ของสารจะเกิดยากขึ้น เพราะฉะนั้นในภาวะที่มีความเย็นจัด ๆ ยิ่งจะทำให้การเคลื่อนที่ของสารเกิดขึ้นได้ยาก มากกว่าที่อุณหภูมิสูง

ในเชิงวิชาการ ช่วงที่เกิดการละลายเปลี่ยนจากน้ำแข็งไปเป็นน้ำ อุณหภูมิไม่ได้เปลี่ยน สมมุติถ้าเป็นน้ำ คือ 0 องศาเซลเซียสเท่าเดิมเลย แต่ว่าจะมีการดูดความร้อนจากภายนอกเข้าไป เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนจากน้ำแข็งเป็นน้ำ เพราะฉะนั้น ในช่วงที่เกิดการละลาย จึงไม่ได้เกิดการคลายความร้อนแบบที่เข้าใจกัน

เรื่องนี้ ในต่างประเทศก็เคยมีการกล่าวถึง?

เรื่องของการแช่น้ำไว้ในช่องแข็ง หรือการใส่ขวดน้ำไว้ในรถยนต์ มีการแชร์กันทั้งในไทยและต่างประเทศ ในต่างประเทศมีหลายองค์กรออกมาให้ข้อมูลว่า “เป็นความเชื่อ ไม่มีข้อมูลความจริง”

น้ำดื่มที่มีมาตรฐาน การนำไปแช่แล้วนำมาดื่มใหม่ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด แต่ว่ามีข้อควรระวัง ก็คือถ้าเป็นการนำขวดเดิมมาใช้ แล้วใส่น้ำเติมไปเอง ก็ต้องล้างทำความสะอาดให้ดีก่อนที่จะใส่น้ำเข้าไป หรือน้ำที่ใส่เข้าไปต้องมีความมั่นใจว่าสะอาดเพียงพอ

จริง ๆ แล้ว น้ำดื่มในขวดยังใช้อ้างอิง เมื่อตรวจหาสารก่อมะเร็งด้วย ?

ที่จริงน้ำขวดใช้เป็น reference คือใช้เป็นน้ำดื่มอ้างอิง เพื่อจะเปรียบเทียบว่า น้ำจากแหล่งต่าง ๆ มีมะเร็งมากหรือไม่ น้ำที่อยู่ในขวดเป็นอะไรที่ก่อมะเร็งน้อยที่สุด หรือเกือบใกล้ศูนย์ หรือเป็นมาตรฐาน เวลาทำวิจัยต้องมีตัวเปรียบเทียบว่า คนที่ดื่มน้ำจากแหล่งอื่นมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่านี้หรือไม่

อุณหภูมิที่เย็นจัดก็อาจส่งผลต่อพลาสติก ?

“ขวดน้ำ” มีอุณหภูมิเย็นลง การยืดหยุ่นของพลาสติกก็ต่ำลงด้วย และเมื่อน้ำกลายเป็นน้ำแข็งมีการขยายปริมาตร ก็จะไปดันให้ขวดเกิดการแตก

ตรงนี้ไม่มีสารอะไรออกมา แต่เป็นการแตกหักเสียหายทางเชิงกล

อีกกรณี ถ้านำน้ำร้อนจัด ๆ เทใส่ขวดน้ำดื่มพลาสติก จะเห็นว่ามีรูปร่างเปลี่ยน แล้วก็บิดตัวไปบ้าง แต่เป็นเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเชิงโครงสร้าง

การใช้ขวดน้ำพลาสติกซ้ำ ?

การนำขวดพลาสติกมาใช้งานซ้ำก็เป็นการลดขยะ แต่มีข้อพึงระวังคือ จะต้องทำความสะอาดให้เหมาะสมก่อนที่จะนำมาใช้อีกครั้งหนึ่ง

การใช้ขวดพลาสติกซ้ำหลาย ๆ รอบ สิ่งที่ต้องพึงระวังก็คือรอยขีดข่วนที่พื้นผิว ซึ่งมีโอกาสให้เชื้อราหรือเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปอยู่และเจริญเติบโตได้

นอกจากนี้ ยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่าการใช้ขวดพลาสติกซ้ำหลายครั้งปลอดภัย

สรุปว่าเรื่องที่แชร์ไม่จริง และไม่ควรแชร์ต่อ เพราะการนำขวดพลาสติกบรรจุน้ำไปแช่แข็งไม่มีสารไดออกซินออกมา และขวดพลาสติกเหล่านี้ก็ไม่มีสารไดออกซินเป็นองค์ประกอบ

สัมภาษณ์โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

เรียบเรียงโดย คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล

ชัวร์ก่อนแชร์ : ขวดน้ำดื่มแช่แข็งมีสารอันตราย จริงหรือ ?

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เร่งล่า 4 คนร้ายซุ่มยิงตำรวจ สภ.ยะรัง เสียชีวิต 2 นาย

เร่งล่า 4 คนร้ายซุ่มยิงตำรวจ สภ.ยะรัง เสียชีวิต 2 นาย ขณะที่ ผบ.ตร. อาลัยตำรวจกล้า สั่งต้นสังกัดดูแลสิทธิประโยชน์ เลื่อนเงินเดือนและชั้นยศ

นักโทษกลับใจ

อดีตนักโทษกลับใจ หลังติดคุก 30 ปี โทรคุยกับพ่อทั้งน้ำตา

อดีตนักโทษชีวิตโตมาในคุก ตั้งแต่อายุ 19 จนตอนนี้ อายุ 49 ปี ร่ำไห้กับตำรวจ ขอให้ช่วยพากลับบ้านที่จากมา 30 ปี ตำรวจโทรศัพท์หาพ่อ ให้ 2 พ่อลูกคุยกันทั้งน้ำตา

ตำรวจจีนพาผู้ต้องสงสัยฉ้อโกง 200 ราย กลับจากเมียนมา

พลเมืองจีน 200 รายที่ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฉ้อโกง ถูกส่งตัวจากเมืองเมียวดีในเมียนมากลับจีนแล้วเมื่อวานนี้ ภายใต้การคุ้มกันของเจ้าหน้าที่ตำรวจจีน

เด็ก 12 สูบบุหรี่ไฟฟ้า-ดื่มน้ำกระท่อม ทำปอดหาย

ย่าช็อก หลานวัย 12 ปี อาการวิกฤติ ปอดหายเกือบทั้งหมด ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หลังสูบบุหรี่ไฟฟ้าและดื่มน้ำกระท่อมตั้งแต่ ป.4

ข่าวแนะนำ

ทรัมป์สั่งปลด

“ทรัมป์” สั่งปลดประธานคณะเสนาธิการร่วมตามแผนปรับปรุงกลาโหม

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ออกคำสั่งในวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นปลด พลอากาศเอก ซี. คิว. บราวน์ จูเนียร์ (Charles Quinton Brown Jr.) เป็นประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐออกจากตำแหน่ง

สว.ยื่นถอดถอนรัฐมนตรี

สว. จ่อยื่นถอดถอน​ “รมต.” กล่าวหาอั้งยี่-ซ่องโจร

สว. ประกาศสงคราม​ เตรียมยื่นถอดถอน​ “รัฐมนตรี” กล่าวหาอั้งยี่-ซ่องโจร พ่วง​ยื่นอภิปราย-แจ้งความ​-เชิญสอบใน​กมธ.​