จุฬาฯ-กรมสุขภาพจิต พัฒนาแอปฯ คัดกรองผู้ป่วยซึมเศร้า

รพ.จุฬาฯ 20 มิ.ย.- จุฬาฯ ร่วมกับ กรมสุขภาพจิต พัฒนาแอปฯ คัดกรองซึมเศร้าจากมือถือผ่านโปรแกรมหมอพร้อม ทั้งตอบคำถาม ประเมินสีหน้า น้ำเสียง คัดกรองส่งต่อผู้ป่วยถึงมือกรมสุขภาพจิต กระจายดูแลทันทีทั้ง 13 เขตสุขภาพ โดยโปรแกรมมีความแม่นยำ 75%


รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต, รศ.พญ.โสฬพันธ์ เหมรัญช์โรจน์ ผช.คณบดีด้านนวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ และ รศ.ดร.พีรพล เวทีกูล อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวนวัตกรรม DMIND Application สำหรับคัดกรองผู้ป่วยซึมเศร้า และส่งต่อข้อมูลให้กรมสุขภาพ เพื่อช่วยเหลือดูแลอย่างรวดเร็ว โดยโปรแกรมดังกล่าวเป็นการคัดกรองผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่เชื่อมต่อกับแอปฯ หมอพร้อม เพียงกดเลือกเมนูตรวจสุขภาพใจ จากนั้นระบบจะสอบถามคัดกรองเบื้องต้น และเข้าใจ การสอบถามผ่าน AI แบบโต้ตอบและรับฟัง ประเมินความเสี่ยงผ่าน การแสดงออกทางสีหน้า น้ำเสียง ซึ่งเป็นเสมือนการตอบคำถามกับนักจิตวิทยาแบบตัวต่อตัว โดยมีความแม่นยำอยู่ที่ 75% ทั้งนี้ ความแม่นยำยังขึ้นอยู่กับระบบสัญญาณโทรศัพท์และเสียงของผู้รับการประเมิน หากชัดเจนก็สามารถประเมินได้อย่างแม่นยำถูกต้อง

รศ.นพ.ฉันชาย กล่าวว่า สำหรับการประเมินผู้ป่วยจากระบบ DMIND นี้ จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มปกติ เป็นระดับสีเขียว 2.กลุ่มปานกลาง เป็นระดับสีเหลือง และ 3.กลุ่มรุนแรง ระดับสีแดง สำหรับผู้ป่วยสีเขียว ไม่มีปัญหา แต่กลุ่มสีเหลืองก็จะมีการประสานศูนย์สุขภาพจิตทั้ง 13 เขตสุขภาพ ให้ดำเนินการติดตามเคสต่อ ส่วนกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงรุนแรงหรือสีแดง จะมีทีมงานสายด่วนสุขภาพจิต 1323 โทรศัพท์ไปพูดคุยทันที


รศ.พญ.โสฬพันธ์ กล่าวว่าระบบการประเมินซึมเศร้านี้ เป็นการพัฒนาระบบต่อเนื่องมาตลอด 3 ปี ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งแต่ ปี 2020 และสำเร็จในปี 2022 และได้มีการประเมินในผู้ป่วยบางส่วนแล้ว โดยมีผู้ป่วยสมัครใจเปิดหน้ารับการประเมิน 400 คน พบว่ามีผู้ที่เข้าข่ายผู้ป่วยระบบสีแดง 82 คน และระบบข้อมูลของผู้ป่วยจะถูกขึ้นในคลาวด์ และส่งต่อให้กรมสุขภาพจิตรับช่วงต่อ หากมีอาการรุนแรงในเกณฑ์สีแดงก็มีสายด่วนของกรมสุขภาพจิตรับไปดูแลทันที โดยมีผู้ป่วยบางคนใช้เวลาผู้คุยกับ AI นานถึง 5-7 นาที ซึ่งจุดหมายสำคัญของการรักษาซึมเศร้า คือการรับฟังผู้ป่วยให้มากที่สุด

พญ.อัมพร กล่าวว่าสถานการณ์ภาวะซึมเศร้าที่พบในไทย ขณะนี้ส่อแววเพิ่มอัตราการสูงขึ้นถึง 8 ต่อแสนประชากร ทั้งนี้มาจากโควิดที่ส่งต่อตั้งแต่เศรษฐกิจและรายได้ แม้ตอนนี้จะผ่านพ้นแต่ยังคงต้องเฝ้าระวังต่อเนื่องไปอีก 1 ปี พร้อมยอมรับที่ผ่านมาสายด่วน 1323 มีปัญหาเรื่องความหนาแน่ในการให้บริการ แม้เพิ่มคู่สายก็ยังไม่เพียงพอ หนำซ้ำยังโดนพวกป่วนแกล้งโทรมา ทำให้ผู้เข้ารับบริการจริงเกิดอุปสรรค.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ครบ 72 ชม. ตึก สตง.ถล่ม ไม่หยุดค้นหาผู้รอดชีวิต

ปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุตึก สตง.พังถล่ม แม้เวลาผ่านมาครบ 72 ชั่วโมงแล้ว แต่เจ้าหน้าที่้ทุกฝ่ายยังไม่ละความพยายามในการค้นหาผู้รอดชีวิต หวังมีปาฏิหาริย์

นายกฯ สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือนภัย ลั่นยังไม่ได้ SMS แผ่นดินไหว

นายกฯ ลั่น จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับ SMS เตือนแผ่นดินไหว สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือน “กรมอุตุฯ ไป ปภ. เข้าเครือข่ายมือถือ” ไม่ต้องผ่าน กสทช. ระหว่าง รอ Cell Broadcast เต็มระบบ ก.ค.นี้