นักวิจัยชี้ เดลตาครอน ไม่ใช่สายพันธุ์ลูกผสม

หน.ศูนย์จีโนมฯ คาด “เดลตาครอน” ไม่ใช่โควิดสายพันธุ์ลูกผสม อาจมาจากเชื้อที่ปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการ  หลังวิเคราะห์รหัสพันธุกรรม 25 ตัวอย่าง พบไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกัน 


ศ.ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยถึงกรณีที่รายงานการค้นพบของศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพฯและไวรัสโมเลกุล ว่าขณะนี้ได้ค้นพบสายพันธุ์ของโควิด-19 ที่รวมเดลต้าและโอไมครอน ผสมเข้าด้วยกันใช้ชื่อว่า “เดลตาครอน” (Deltacron) ในประเทศไซปรัสเป็นครั้งแรกว่า  กรณีนี้ในเบื้องต้นไม่ใช่สายพันธุ์ลูกผสม  แต่อาจมาจากเชื้อที่ปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการ 

โดย Dr. Tom Peacock ผู้เชี่ยวชาญการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสระดับโลกชาวอังกฤษ ได้รีบทวิตแจ้งว่าจากการพิจารณารหัสพันธุกรรมมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดจากการปนเปื้อนระหว่างสารพันธุกรรมของ “โอไมครอน” และ “เดลต้า” ในห้องปฏิบัติการ เวลาถอดรหัสพันธุกรรมจึงมีรหัสปนกันออกมาเสมือนเกิดเป็นสายพันธุ์ลูกผสม และจากการนำเอาข้อมูลรหัสพันธุกรรมมาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ Phylogenetic tree พบว่าตัวอย่างทั้ง 25 รายไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกัน ซึ่งแปลก เพราะหากเป็นสายพันธุ์ลูกผสมเพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่ระบาดเป็นวงกว้าง ควรจะอยู่ในคลัสเตอร์เดียวกัน


ขณะที่ ศ. นิค โลแมน ผู้เชียวชาญด้านจีโนมของจุลินทรีย์จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมของอังกฤษ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา กล่าว แม้ว่าการเกิดลูกผสมระหว่างเดลต้าและโอไมครอนจะไม่ใช่เรื่องน่าแปลก แต่การค้นพบจากไซปรัสน่าจะเป็น “technical artifact” ที่เกิดขึ้นในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรมจจีโนมของไวรัสมากกว่า

ในขณะเดียวกัน ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ก็ได้นำรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจำนวน 25 ตัวอย่าง ที่ทางไซปรัสได้อัปโหลดขึ้นมาแชร์ไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” โลก มาวิเคราะห์ ก็เห็นพ้องตามที่ ดร. Tom Peacock กล่าวไว้ คือเมื่อนำข้อมูลรหัสพันธุกรรมมาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ Phylogenetic tree (ภาพ ขวามือ) พบว่าตัวอย่างทั้ง 25 รายไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องแปลก เพราะหากเป็นสายพันธุ์ลูกผสมเพิ่งเกิดใหม่ มีที่มาจากแหล่งเดียวกันยังไม่ระบาดเป็นวงกว้าง ควรจะอยู่ในคลัสเตอร์เดียวกันไม่แตกกิ่งก้านสาขาไปมากมาย และจากรหัสพันธุกรรมทั้ง 25 ตัวอย่างบ่งชี้ว่าเป็นสายพันธุ์ “เดลตา” ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนสารพันธุกรรมของ “โอไมครอน” เข้ามาระหว่างการถอดรหัสพันธุกรรม ทั้งนี้หากมีสายพันธุ์ลูกผสมเกิดขึ้นมาจริงๆ ทางศูนย์จีโนมฯ ก็น่าจะตรวจพบ เพราะขณะนี้เราถอดรหัสพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยีสายยาว (long-read sequencing) ประมาณ 1,000-2,000 ตำแหน่งต่อสาย ดังนั้นหากพบรหัสพันธุกรรมของ “เดลต้า” และ “โอไมครอน” ผสมปนกันอยู่ในสายเดียวกัน ก็แสดงว่าน่าจะเป็นสายพันธุ์ลูกผสม  อย่างไรก็ตามเพื่อความชัดเจนอาจต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลสักระยะ หากหลายสถาบันในไซปรัสยังสามารถถอดรหัสพันธุกรรมพบสายพันธุ์ลูกผสมดังกล่าวจากบรรดาตัวอย่างที่ส่งเข้ามาภายใน 1-2 อาทิตย์จากนี้ ก็มีความเป็นไปได้ว่าได้เกิดสายพันธุ์ลูกผสม “เดลตาครอน” ในไซปรัสเป็นที่แน่นอน ท้ายที่สุดทางองค์การอนามัยโลกคงจะจัดทีมเข้ามายืนยันผลที่ไซปรัส เหมือนกับที่เคยดำเนินการที่เวียดนาม


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ชิงทอง

สอบเครียด! คนร้ายชิงทอง 113 บาท สารภาพเอาไปจำนำบางส่วน

สอบเครียดทั้งคืน ผู้ต้องหาชิงทอง 113 บาท รับสารภาพนำทองไปจำนำบางส่วน ซื้อเบ้าหลอมเพื่อให้ยากต่อการติดตามของตำรวจ

เมียวดีระส่ำ! ปั๊มเหลือน้ำมันสำรองได้อีก 3-4 วัน

เมียวดีระส่ำหนัก หลังไทยตัดกระแสไฟฟ้า-อินเทอร์เน็ต-น้ำมันข้ามชายแดน โดยเฉพาะน้ำมันขาดแคลนหนัก ปั๊มน้ำมันกว่า 20 แห่ง เหลือน้ำมันสำรองได้อีก 3-4 วัน ประธานหอการค้าเมียวดี เรียกร้องรัฐบาลไทยทบทวน อยากให้ 2 ประเทศ ร่วมกันปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้ถูกจุด

ข่าวแนะนำ

ทำแผนชิงทอง

คุมทำแผนโจรบุกเดี่ยวชิงทอง 113 บาท

คุมตัวทำแผน โจรบุกเดี่ยวชิงทอง 113 บาท ในห้างฯ ย่านลำลูกกา สารภาพนำทองไปจำนำบางส่วน และซื้ออุปกรณ์หลอมทองเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่

จับเรือประมงเมียนมา

จับเรือประมงเมียนมา รุกล้ำน่านน้ำไทย

ศรชล.ภาค 3 จับกุมเรือประมงเมียนมาพร้อมลูกเรือ 13 คน ขณะลักลอบนำเรือประมงจอดลอยลำในทะเลอาณาเขตของไทย บริเวณ จ.ระนอง ใกล้เกาะค้างคาว