กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนระวัง “โรคอุจจาระร่วง”

กทม. 27 ก.ย.-กรมควบคุมโรค ห่วงใยสุขภาพประชาชน เตือนให้ระวังโรคที่มากับน้ำท่วม โดยเฉพาะ “โรคอุจจาระร่วง” ขอให้ยึดหลักรับประทานอาหาร “สุก ร้อน สะอาด” พร้อมแนะผู้ที่บริจาคอาหาร เช่น ข้าวกล่อง ควรปรุงไม่เกิน 4 ชั่วโมง

วันนี้ (27 กันยายน 2564) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ช่วงนี้มีฝนตกอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ บางแห่งตกหนัก ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง หรือเกิดน้ำป่าไหลหลาก ขอให้ประชาชนระมัดระวังโรคที่มากับน้ำท่วม คือ โรคอุจจาระร่วง โรคติดต่อที่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน โดยมีอาการ ดังนี้ ถ่ายอุจจาระเหลวอย่างน้อย 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นน้ำอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือถ่ายมีมูกเลือดหรือมูกปนเลือด อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แต่หากมีอาการรุนแรง ถ่ายเป็นน้ำคล้ายน้ำซาวข้าว คราวละมาก ๆ ผู้ป่วยจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่ เกิดภาวะขาดน้ำเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องระวังอาจจะมีอาการรุนแรงได้


“ช่วงที่น้ำท่วม ขอให้ประชาชนยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” เพิ่มความระมัดระวังด้วยการรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ใหม่ ร้อน ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุกหรือน้ำดื่มบรรจุขวด หากเป็นอาหารข้ามมื้อ ให้อุ่นร้อนอย่างทั่วถึง ส่วนเมนูที่ควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อจากความร้อน สำหรับการดูแลช่วยเหลือ ให้ผู้ป่วยดื่มสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ หรือผงโออาร์เอส (ORS) ผสมน้ำสะอาดตามสัดส่วนที่ระบุข้างซอง ดื่มแทนน้ำบ่อย ๆ หรือเตรียมได้เองโดยใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ กับเกลือป่นครึ่งช้อนชา ละลายในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 ขวดกลม หรือประมาณ 750 ซีซี ควรดื่มให้หมดภายใน 1 วัน และต้องคอยระวังภาวะขาดน้ำ ด้วยการให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหรือกินอาหารเหลว ทั้งนี้ ไม่ควรกินยาเพื่อให้หยุดถ่าย เนื่องจากจะทำให้เชื้อโรคคั่งค้างอยู่ในร่างกาย เป็นอันตราย แต่หากยังไม่ดีขึ้น ควรรีบไปสถานพยาบาลใกล้บ้าน” นายแพทย์โอภาสกล่าว

นายแพทย์โอภาส กล่าวเพิ่มเติมว่า การป้องกันโรคอุจจาระร่วง ขอให้ประชาชนล้างมือด้วยด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนปรุงหรือรับประทานอาหาร และภายหลังขับถ่ายหรือสัมผัสสิ่งสกปรก กำจัดสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอยให้มิดชิด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน ถ่ายอุจจาระลงส้วม ไม่ถ่ายอุจจาระและไม่ทิ้งขยะลงน้ำ เพื่อลดความสกปรกในน้ำท่วมขัง


อธิบดีกรมควบคุมโรค ยังกล่าวถึงการบริจาคอาหาร ว่า ในกรณีที่เป็นอาหารบริจาคอย่างข้าวกล่อง ควรปรุงไม่เกิน 4 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงเมนูที่บูดเสียง่าย อาทิ อาหารที่ปรุงจากกะทิ ควรเป็นอาหารที่สามารถเก็บไว้ได้ 1-2 วัน เช่น ข้าวเหนียวนึ่ง หมูทอด เนื้อทอด ปลาทอด ส่วนผู้ประสบภัยควรบริโภคอาหารบริจาคภายใน 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรเก็บไว้นาน หรือเก็บข้ามคืน สอบถามหรือขอรับคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เครื่องบินภูเก็ตมุ่งหน้ามอสโก ขอลงจอดฉุกเฉินที่สุวรรณภูมิ

เที่ยวบิน 777-300ER สายการบิน Aeroflot ขึ้นจากภูเก็ตไปมอสโก เตรียมลงสุวรรณภูมิ หลังบินวนกลางทะเลอันดามันหลายชั่วโมง จากปัญหาระบบลงจอดขัดข้อง

ไข้หวัดใหญ่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่ระบาดในสหรัฐ-เสียชีวิตแล้ว 13,000 ราย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือซีดีซี รายงานว่า พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในฤดูกาลนี้อย่างน้อย 24 ล้านคนแล้วทั่วสหรัฐ

ตัดไฟเมียนมา

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันปลดพนักงานแล้วกว่าร้อยคน

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันออนไลน์และกลุ่มสแกมเมอร์ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ปลดพนักงานแล้วกว่า 100 คน เนื่องจากขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ทำให้พนักงานทยอยเดินทางออกจากท่าขี้เหล็ก กลับมาทางด่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

เข้มทางบก แก๊งลักลอบเข้าเมือง หนีไปทางน้ำ

หลังมาตรการ Seal Stop Safe ชายแดนของรัฐบาล ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 30 มกราคม เพื่อเข้มงวด ตั้งจุดตรวจ จุดสกัดตามเส้นทางต่างๆ พบขบวนการลักลอบเข้าเมืองด้านชายแดนกาญจนบุรี ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือ เมืองพญาตองซู ของเมียนมา เลี่ยงไปใช้เส้นทางน้ำแทน

ทองไทยใกล้เป้าหมายบาทละ 5 หมื่น

ทองไทยเข้าภาวะกระทิง เปลี่ยนแปลงคึกคักวันนี้ (11 ก.พ.) ปรับเปลี่ยน 27 รอบ เข้าใกล้ 48,000 บาทต่อบาททองคำ มองเป้าหมายถัดไปที่ 50,000 บาทต่อบาททองคำ ด้านสภาทองคำโลก ชี้การซื้อทองเป็นการลงทุนมากกว่าการใช้เป็นเครื่องประดับ ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นตลาดทองคำที่แข็งแกร่งในปี 67 สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก