สธ.20 ม.ค.-สธ.และศธ.ลงนามพัฒนาการเรียนรู้ประกอบธุรกิจจากส่วนของกัญชา กัญชง ใช้ปรุงอาหาร เพิ่มความอร่อย แต่ต้องไม่กินเกิน 5 ใบต่อวัน พร้อมห้ามเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ไต บกพร่อง ป่วยโรคระบบประสาท หรือใช้ยาละลามลิ่มเลือดรับประทาน
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาการเรียนรู้การประกอบธุรกิจจากส่วนของพืชกัญชาและกัญชง ที่ได้รับการยกเว้นจากการเป็นยาเสพติด โดย รมว.สธ. ย้ำหลังจากมีการนำส่วนของต้นกัญชา กัญชง ยกเว้นช่อดอก มาประกอบอาหาร โดยที่ร้านมากินกัญ ของรพ.เจ้าพระยาอภันภูเบศร ได้รับความนิยมจากประชาชนจำนวนมาก แต่ทั้งนี้การมาปรุงอาหาร จะมีการเรียนรู้เรื่องส่วนผสมเพื่อให้การปรุง นอกจากรสชาติอร่อยแล้ว ยังไม่ก่ออันตรายและได้ประโยชน์ ซึ่งหลักสูตรที่จะร่วมกับกระทรวงศึกษาฯจะตอบโจทย์ความต้องการตลาด ถูกกฎหมาย ทันสมัย
ดร.กนกวรรณ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการจัดหลักสูตร การเรียนการสอนเกี่ยวกับการปรุงอาหารเรื่องกัญชา เพื่อนำไปสู่การเปิดครัวตำรับยิ้มโดยการศึกษาในต่างประเทศพบว่าการบริโภคกัญชา กัญชงในปริมาณน้อยไม่เกิน 5 ใบ ช่วยเสริมฤทธิ์การทำงานของร่างกายและสมาธิ มีความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้ยังได้มีการปรุงอาการโชว์สื่อมวลชน กะเพราสุขใจ เป็นต้น
ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า การนำใบกัญชามาประกอบอาหารนั้น จะใช้เพียง2-3 ยอดเพื่อให้กินอาหารอร่อย กินข้าวได้ โดยอภัยภูเบศรได้สืบทอดวัฒนธรรมและนำมาเพิ่มมูลค่าให้กับอาหาร แต่ขณะเดียวกันสมัยโบราณยังไม่มีองค์ความรู้วิทยาศาสตร์มากนัก แต่ปัจจุบันเรามีความรู้ว่า กัญชาไทยมีสารเมา แม้ใบจะมีปริมาณสารเมา หรือ THC มากๆ แต่ก็ต้องมีข้อห้ามสำหรับบางกลุ่มในการบริโภคตรงนี้ ได้แก่ 1.เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี 2.ผู้หญิงตั้งครรภ์และผู้หญิงให้นมบุตร 3.คนที่มีปัญหาตับไตบกพร่อง 4.ผู้ป่วยที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน 5.ผู้ป่วยใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาท และ 6.ผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่างโรคหัวใจและหลอดเลือด
อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากกลุ่มเหล่านี้บริโภคได้แต่ต้องบริโภคในปริมาณน้อยๆ แนะนำให้บริโภคไม่เกินวันละ5 ใบ.-สำนักข่าวไทย