เผยผลวิจัยโควิด-19 ส่งผลกระทบอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

กทม. 22 ธ.ค.63 – สกสว. เผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ทำให้ผู้ประกอบการปรับลดกำลังการผลิต เสนอภาครัฐ เร่งวางกลุยทธ์เปลี่ยนผ่านเข้าสู่การผลิตยานยนต์พลังงานทางเลือก
รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในรอบปีที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบัน สกสว. มีการการปรับแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ปี 2563 – 2565 โดยในปี 2564 มีการเพิ่มโปรแกรมที่ 17 การแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของวิกฤตโควิด-19 โดยมีการจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัย หรือ ‘พีเอ็มยู’ (PMU: Program Management Unit) รวมทั้งสิ้น 7 พีเอ็มยู และจัดสรรงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมากกว่า 1,000 ล้านบาท ก่อให้เกิดผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบรับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)


สำหรับไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์เครื่องสันดาบที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ความท้าทาย คือ การวางแผนยุทธศาสตร์ให้เหมาะสมเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นมีความเสียหายต่ำที่สุด คณะนักวิจัยเชื่อว่าการเปิดกว้างในทางเลือกของพลังงานโดยยึดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมายสุดท้าย แทนการตีกรอบที่พลังงานประเภทใดประเภทหนึ่งน่าจะเหมาะสมกว่า สอดคล้องกับการขับเคลื่อนภายใต้กรอบยานยนต์แห่งอนาคตที่เป็นอยู่ ในขณะที่กระตุ้นให้ภาคเอกชนแข่งขันกันในการนำเสนอทางเลือกกับผู้บริโภค พร้อม ๆ กับการเตรียมความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนผ่าน เช่น ความเพียงพอของสถานีชาร์จ การปรับเปลี่ยนระบบไฟฟ้าในบ้านในเหมาะสมและเพียงพอกับกำลังไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการจัดการกับแบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งาน
การส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าควรทำแบบมีเป้าหมายเฉพาะกลุ่มที่ภาครัฐสามารถมีบทบาทช่วยเหลือโดยไม่กระทบต่อบรรยากาศการแข่งขัน เช่น รถขนส่งมวลชนสาธารณะ นอกจากนั้นความพยายามสร้างซัพพลายเชนภายในประเทศผ่านมาตรการบังคับใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศต้องทำบนพื้นฐานความเป็นจริงซึ่งเป็นจุดเด่นของไทยในการดำเนินนโยบายดังกล่าวในอดีตและทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์พัฒนาได้
ด้าน รศ.ดร. อาชนัน เกาะไพบูลย์ นักวิจัยโครงการการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมหลังวิกฤต COVID-19 กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 อย่างรุนแรง โดยเฉพาะในช่วงการใช้มาตรการ lockdown ภายในประเทศ กระแสหนึ่งที่เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตโควิด19 คือ การตื่นตัวให้ไปผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแทนการใช้เครื่องยนต์ระบบสันดาบภายใน รวมถึงทางเลือกอื่น ๆ เช่น Plug-in Hybrid และ Hybrid เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่วิกฤต COVID-19 ที่ทำให้ความต้องการซื้อลดลงและทำให้บริษัทรถยนต์จำนวนมากต้องพยายามนำเอาพลังงานทางเลือกมาเป็นจุดขายเพื่อรักษา หรือแย่งลูกค้าจากคู่แข่ง ขณะที่ภาครัฐต้องให้ความสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการภายในประเทศ เช่น การเดินหน้านำเอาระบบ eGovernment หรือเทคโนโลยี Digital เข้ามาช่วยลดความล่าช้าและความซ้ำซ้อนในระบบราชการ โดยเฉพาะในเรื่องการรับรองมาตรฐานด้านต่าง ๆเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการภายในประเทศ และการอำนวยความสะดวกของการเข้ามาของผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

“พิธา-ทักษิณ” ช่วยหาเสียงผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

“พิธา” ลงพื้นที่ตลาดต้นลำไย จ.เชียงใหม่ พบปะพี่น้องประชาชน ด้านพรรคเพื่อไทย “ทักษิณ” ขึ้นเวทีแนะนำ “พิชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือ สว.ก๊อง” ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

ไตรภาคีเคาะแล้ว! ค่าจ้างขั้นต่ำ มีผล 1 ม.ค.68

ไตรภาคี เคาะค่าจ้าง 400 บาท ลูกจ้าง 4 จังหวัด 1 อำเภอ “ภูเก็ต-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง-อ.เกาะสมุย” มีผล 1 ม.ค.68 ขึ้นค่าจ้าง 7-55 บาท 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้วันละ 337 บาท

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น