เตือนระวังการรับประทาน “กลอย” ช่วงฤดูฝน

กรมควบคุมโรค29 ส.ค.-กรมควบคุมโรค พยากรณ์โรคฯ ฉบับที่ 276 เตือนประชาชนช่วงฤดูฝนนี้ ขอให้ระมัดระวังการรับประทานกลอย ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและมีการขจัดพิษแล้ว หากไม่แน่ใจควรปรุงกลอยโดยผ่านกรรมวิธีการขจัดพิษที่เหมาะสมก่อนทุกครั้ง


กรมควบคุมโรค เผยแพร่ “พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์” ฉบับที่ 276 ประจำสัปดาห์ที่ 35 (วันที่ 30 ส.ค.–5 ก.ย. 63) โดยนพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ว่า “จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์อาหารเป็นพิษจากพืช ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน (ปี 2559-2563) พบเหตุการณ์อาหารเป็นพิษจากการรับประทานกลอย รวม 11 เหตุการณ์ พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 172 ราย (ผู้ป่วยในเหตุการณ์อยู่ระหว่าง 3-32 ราย) เสียชีวิต 2 ราย ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 36 ราย เหตุการณ์ส่วนใหญ่เกิดในเดือนสิงหาคม รองลงมาคือธันวาคม กันยายน และ มีนาคม

ส่วนภูมิภาคที่พบเหตุการณ์สูงสุด คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (9 เหตุการณ์) รองลงมาคือภาคใต้ (1) และภาคตะวันออก (1) ในเดือนนี้ (สิงหาคม 63) มีรายงานพบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานกลอยเป็นกลุ่มก้อน 2 เหตุการณ์จาก จ.นครพนม และนครราชสีมา (รวม 27 ราย) โดยทั้ง 2 เหตุการณ์ไม่มีผู้เสียชีวิต ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ผลการสอบสวนโรคพบว่าผู้ปรุงกลอยคาดว่ามีการล้างขจัดสารพิษจากแหล่งที่ขายมาแล้ว จึงไม่ได้ทำการขจัดสารพิษอีกครั้งก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร


การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์นี้ คาดว่ามีโอกาสจะพบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานกลอยเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่กลอยกำลังออกดอกและมีหัว ซึ่งทำให้กลอยมีพิษสูงกว่าฤดูอื่น ๆ “กลอย” มีลักษณะทั่วไปเป็นไม้เถา มีหัวใหม่เกิดขึ้นทุกปี จากส่วนลำต้นใต้ดิน ในหัวกลอยมีแป้งและมีสารพิษที่ชื่อว่าไดออสคอรีน (Dioscorine) มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ที่ได้รับพิษจากกลอยจะมีอาการ คันที่ปาก ลิ้น คอ คลื่นไส้ อาเจียน และทำให้เกิดอาการ มึนเมา วิงเวียน ใจสั่น ตาพร่า อึดอัด

ข้อมูลจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สังกัด สวทช. พบว่าการขจัดพิษจากหัวกลอยในสมัยก่อนทำได้โดยการฝานหัวกลอยเป็นชิ้นบางๆแล้วนำมาแช่น้ำไหล เช่น ในลำธาร ซึ่งต้องใช้เวลาชะล้างสารพิษนานไม่ต่ำกว่า 7 วัน หรืออีกวิธีหนึ่งคือการนำไปแช่ในน้ำเกลือเข้มข้น โดยเกลือจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารไดออสคอรีนในแผ่นกลอยได้เร็วขึ้น แต่ต้องถ่ายน้ำทิ้งหลายๆ ครั้ง และใช้เวลาแช่ไม่ต่ำกว่า 3 วัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีวิธียืนยันว่าการกำจัดพิษข้างต้นจะสามารถกำจัดพิษได้ 100%

กรมควบคุมโรคจึงขอแนะนำประชาชนให้ระมัดระวังการรับประทานกลอย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน หากนำมารับประทาน ควรเลือกซื้อกลอยจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและมีการขจัดพิษแล้ว หากไม่แน่ใจควรปรุงกลอยโดยผ่านกรรมวิธีการขจัดพิษที่เหมาะสมก่อนทุกครั้ง และหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กรับประทานกลอย เนื่องจากในเด็กหากได้รับสารพิษแม้ในปริมาณเล็กน้อยอาจจะมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่


ทั้งนี้ หากประชาชนที่รับประทานกลอยแล้วเกิดอาการผิดปกติข้างต้นควรรีบพบแพทย์ในทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาธิบดี โทร.1367 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422 .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

เดินทางปีใหม่สายเอเชีย

ถนนสายเอเชียมุ่งสู่ภาคเหนือรถเริ่มมาก

ประชาชน เริ่มทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา และไปท่องเที่ยวช่วงส่งท้ายปี 2567 รับปีใหม่ 2568 การจราจรถนนสายเอเชีย ฝั่งขาขึ้นภาคเหนือ ช่วงชัยนาท รถเริ่มมาก

ฉายาตำรวจปี67

เปิด 10 ฉายาตำรวจ ปี 67

สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมฯ เปิด 10 ฉายา ตำรวจ “บิ๊กต่าย” ฉายา “กัปตันเรือกู้” จากภารกิจร้อนในการกอบกู้วิกฤติศรัทธา-ภาพลักษณ์องศ์กร “สารวัตรแจ๊ะ” ได้ฉายา “อย่าเล่นกับระบบ แจ๊ะ”

นายกฯ เปิดนิทรรศการกล่องของขวัญปีใหม่68 จากตำรวจ

“แพทองธาร” นายกฯ เปิดนิทรรศการกล่องของขวัญจากตำรวจ มอบให้ประชาชน 4 โครงการ ช่วงปีใหม่ 2568 ทั้งที่พักฟรี-ราคาถูก ชวนโหลดแอปฯ Cyber Check ตรวจสอบป้องกันมิจฉาชีพหลอกลวง