กทม. 6 ก.ย.-ปลัด กทม.สั่งย้ายนายช่างอาวุโสโยธา ลาดกระบัง ออกจากพื้นที่ และวันนี้เตรียมลงนามพักราชการทันที เปิดทางสอบวินัยร้ายแรง หลังถูกจับกรณีเรียกรับผลประโยชน์
นายเฉลิมพล โชตินุชิต รองปลัดกรุงเทพมหานครและ พล.ต.อ.อดิศร์ งามจิตสุขศรี ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. แถลงข่าวกรณีเมื่อวานนี้ที่ กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) พร้อมด้วย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)และกรุงเทพมหานคร จับกุมนายวิโรจน์ อายุ 59 ปี ตำแหน่งนายช่างโยธาอาวุโส สำนักงานเขตลาดกระบัง ในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงาน เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบฯ โดยสถานที่จับกุมได้ คือฝ่ายโยธาสำนักงานเขตตลาดกระบัง
โดยปลัดกรุงเทพมหานครได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง และมีคำสั่งและมีคำสั่งย้ายให้พนักงานคนดังกล่าวไปปฏิบัติงานที่สำนักการโยธา กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นก็งานที่ไม่ได้ประสานงานกับประชาชน และในวันนี้ปลัดกรุงเทพมหานครจะลงนามหนังสือสั่งให้พักราชการ
โดยข้อมูลจากศูนย์ทุจริตกรุงเทพมหานคร มีข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตที่มีเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับด้านงานโยธา มี 40 เรื่องแบ่งเป็นเรื่องการเรียกรับผลประโยชน์12 เรื่อง จาก 10 เขต ซึ่งได้มีการส่งคณะทำงานลงไปสืบข้อเท็จจริง ถ้าพบเค้าขายทุจริตก็จะส่งข้อมูลไปยัง ป.ป.ท. หรือ ป.ป.ช. นอกจากนี้ยังมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการก่อสร้าง รื้อถอนอาคาร แต่หน่วยงานดำเนินการล่าช้า 7 เรื่อง, เรื่องร้องเรียน ปล่อยประละเลยไม่ดูแลที่สาธารณะ 2เรื่อง, /เรื่องร้องเรียน การนำเรื่องการนำทรัพย์สินราชการไปใช้ส่วนตัว 1 เรื่อง และเรื่องอื่นๆ
พล.ต.อ.อดิศร์ งามจิตสุขศรี ที่ปรึกษาผู้ว่าฯกทม. กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาประชาชนมักจะแจ้งเรื่องร้องเรียนไปทาง ป.ท.ท. เป็นหลัก และกทม. ก็มีช่องทางการร้องเรียนเรื่องทุจริตได้ผ่านสายด่วน 1555 และผ่านทาง ทราฟฟี่ฟองดู ซึ่งก็ขอย้ำว่าหากพบการทุจริตหรือมีการเรียกรับให้ประชาชนแจ้งเข้ามาได้ทันที กทม. ยุคนี้จะดำเนินการ ยุคนี้จะดำเนินการจัดการกับเรื่องทุจริตอย่างรวดเร็ว โดยจากกรณีนี้ทางกทม. ก็จะมีการประชุมหารือกับทางผู้บริหารในการหาทางแก้ปัญหาในระยะยาว โดยยกตัวอย่าง กรณีการรับผิดชอบร่วมกันเป็นลำดับชั้น เพื่อให้เกิดกระบวนการตรวจสอบ โดยระดับผู้อำนวยการโดยระดับผู้อำนวยการเขตและระดับหัวหน้าฝ่ายต่างๆจะต้องเข้ามามีบทบาทในการร่วมตรวจสอบการออกใบอนุญาต
นายเฉลิมพล โชตินุชิต รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเด็นนี้ก็มีการพูดถึง และจะหาแนวทาง แก้ไขทั้งในส่วนกรณี การโยกย้ายไปมาและสามาถกลับ ไปทำงานที่เดิมได้แม้จะเป็นการสร้างอิทธิพล หรือทำให้เกิดปัญหาหรือไม่ โดยอย่างกรณีรายนี้ เคยอยู่ที่สำนักงานเขตลาดกระบัง ปี49 ถึงปี 54 และ ปี60 ย้ายไปเขตห้วยขวาง พอปี61 ก็ย้ายกลับมา เขตลาดกระบังอีก พอปี64 ก็ย้ายไปเขตวังทองหลาง จากนั้นก็กลับมาเขตลาดกระบังอีก ซึ่งประเด็นนี้ทางผู้บริหารและผู้มีอำนาจบรรจุ ก็จะต้องกลับมาย้อนดู ว่า ในเรื่องการอยู่นาน การโยกย้าย รวมถึงระบบที่จะต้องแก้ไขเรื่องการขอใบอนุญาต อย่างรายนี้ก็มีการทำเป็นไม่อนุญาตก่อน ให้มีการใช้เวลาช่องว่างเป็นปี ทำให้เกิดช่องว่าง เรียกรับเงิน ซึ่งต่อไปจะต้องมีการแก้ไขลดเรื่องการใช้ดุลพินิจ และลดโอกาสที่จะต้องเจอกันเพียงคนสองคน ให้เป็นลักษณะการอนุญาตมีทีมในการพิจารณาใบอนุญาตตรวจสอบร่วมกัน.-สำนักข่าวไทย