สั่งดูแลผลกระทบปิดสองบริษัทประกันภัย

ทำเนียบ 4 เม.ย.- นายกฯ กำชับกระทรวงการคลังและหน่วยงานเกี่ยวข้องดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย 2 แห่ง ให้ได้รับความคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายกำหนด


น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  มีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจของบริษัทประกันวินาศภัย 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  ได้กำชับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดูแลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะผู้เอาประกันของบริษัททั้ง 2 แห่ง  ให้ได้รับความคุ้มครองสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด

นายกรัฐมนตรีได้รับทราบว่าสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนดแนวทางและลำดับการช่วยเหลือผู้เอาประกัน จากทั้ง  2 บริษัท รวมถึงช่องทางการติดต่อสื่อสารเพื่อขอรับคำปรึกษา  การช่วยเหลือผู้เอาประกันไว้แล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรีกำชับว่าขอให้หน่วยงานเกี่ยวข้องพยายามอย่างเต็มที่ในการให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนมากที่สุด เช่น กรณีช่องทางการติดต่อสื่อสาร สายด่วน  ขอให้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ที่เพียงพอ และสามารถตอบข้อสงสัย ให้ข้อแนะนำผู้เอาประกันแต่ละกลุ่มได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เอาประกันที่เกิดความเสียหายที่ได้ยื่นเรียกร้องค่าสินไหมไว้แล้ว กลุ่มที่เกิดความเสียหายแต่ยังไม่ได้ยื่น ตลอดจนผู้ถือกรมธรรม์แต่ยังไม่เกิดความเสียหาย


“กระทรวงการคลังได้รายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ ว่าการดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย 2 แห่ง เมื่อวันที่ 1 เมษายน เป็นปัญหาฐานะการเงินและการจัดการภายในของบริษัท ซึ่งไม่กระทบต่อความมั่นคงทางการเงินหรือสภาพคล่องของธุรกิจประกันภัยในภาพรวม  ท่านนายกฯ ก็ได้กำชับกระทรวงการคลังให้กำกับเรื่องการให้ความช่วยเหลือผู้เอาประกันให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย พยายามอย่างเต็มที่ในการอำนวยความสะดวกไม่เพิ่มภาระให้ผู้เอาประกันมากจนเกินไป”  น.ส.ไตรศุลี กล่าว

ทั้งนี้ คปภ. กำหนดแนวทางช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย เพื่อรองรับไม่ให้ผู้เอาประกันภัยได้รับผลกระทบ ประกอบด้วย กรณีกรมธรรม์ที่ไม่ใช่กรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 ซึ่งเป็นของบริษัท อาคเนย์ประกันภัยฯ 5,717,217 กรมธรรม์ ของบริษัท ไทยประกันภัยฯ 199,016 กรมธรรม์ ได้ดำเนินการโอนภาระผูกพันไปยังบริษัทผู้รับโอน  โดยไม่กระทบต่อสิทธิตามกรมธรรม์ของผู้เอาประกันและได้มีการแจ้งไปยังผู้เอาประกันแล้ว โดยมี 269 กรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันไม่ประสงค์ใช้สิทธิในการโอนไปยังผู้รับโอนอื่น ในส่วนนี้ คปภ.จะติดตามให้บริษัทแจ้งสิทธิเพื่อให้ผู้เอาประกันตัดสินใจทางเลือก  ว่าจะรับคืนเบี้ยประกันหรือโอนกรมธรรม์ไปยังบริษัทแห่งใหม่ต่อไป

ในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 ของบริษัท อาคเนย์ประกันภัยฯ จำนวน 897,242 กรมธรรม์ และของบริษัท ไทยประกันภัยฯ จำนวน 279,531 กรมธรรม์นั้น คปภ. ได้หาแนวทางกับผู้ประกอบการในการแก้ไขปัญหาสำหรับประกันภัยโควิด-19 แบบเจอจ่ายจบที่ยังมีความคุ้มครองอยู่ ได้ข้อสรุป ว่าผู้ถือกรมธรรม์สามารถขอรับคืนเบี้ยประกันภัยที่เหลือจากกองทุนประกันวินาศภัย  โดยกองทุนประกันวินาศภัยจะคืนเบี้ยประกันให้ตามส่วนระยะเวลาตามความคุ้มครองที่เหลืออยู่ หรือ นำเบี้ยประกันที่ได้รับคืนไปใช้แทนเงินสดในการเลือกซื้อประกันภัยจากบริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมโครงการได้ทุกประเภทกรมธรรม์ประกันภัย


สำหรับผู้เอาประกันภัยที่เกิดความเสียหายแล้ว หากเป็นกรณีที่ได้ยื่นเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไว้แล้วกับทั้ง 2 บริษัทแล้ว สามารถติดต่อกองทุนประกันวินาศภัย เพื่อยื่นขอรับชำระหนี้ โดยกองทุนประกันภัยวินาศภัยในฐานะผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีของทั้ง2 บริษัท จะเข้ารับช่วงจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้มีการอนุมัติค่าสินไหมทดแทนไว้แล้ว

ส่วนผู้เอาประกันภัยที่ได้รับความเสียหายแล้ว แต่ยังไม่ได้ยื่นเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกับทั้ง 2 บริษัทสามารถติดต่อกองทุนประกันวินาศภัย เพื่อยื่นขอรับชำระหนี้โดยกองทุนประกันวินาศภัยจะพิจารณาค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยต่อไป

สำหรับช่องทางการติดต่อเพื่อขอรับชำระหนี้นั้น ผู้เอาประกันสามารถยื่นที่กองทุนประกันวินาศภัย อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ชั้น 15 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ (โทรศัพท์ 0-2791-1444 ต่อ 26-30) แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 แนะนำให้ยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์กับทางกองทุนที่ www.gif.or.th ซึ่งเมื่อเข้าไปในเว็บไซต์แล้วจะมีแบนเนอร์แจ้งการยื่นเอกสารเพื่อขอรับชำระหนี้โดยเฉพาะ

นอกจากนี้ คปภ. ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้อำนวยความสะดวกในการให้คำปรึกษาและรับยื่นเอกสารจากผู้เอาประกันโดยส่วนกลางสามารถยื่นเอกสารที่สำนักงาน คปภ. 3 แห่ง ได้แก่ สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก(โทรศัพท์ 0-2515-3999) สำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ (โทรศัพท์ 0-2476-9940-3) และ สำนักงาน คปภ. เขตบางนา (โทรศัพท์ 0-2361-3769-70)  ส่วนในภูมิภาคสามารถยื่นได้ ณ สำนักงาน คปภ. ทุกจังหวัดทั่วประเทศ หรือ สอบถามสายด่วน คปภ. 1186 หรือ chatbot “คปภ. รอบรู้” (LINE@OICConnect) .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

อลังการเคาท์ดาวน์เชียงใหม่ดึงดูดผู้คนทั่วโลก

ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่เชียงใหม่กลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ที่จะไปร่วมเฉลิมฉลองกันที่นั่นไม่ต่ำกว่า 3 แสนคน ซึ่งมีการจัดกิจกรรมนับถอยหลังสู่ปีใหม่ในหลายจุด โดยเฉพาะที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ซึ่งเต็มไปด้วยความสวยงามของดอกไม้และแสงไฟ เรียกว่าเป็นจุดเคาท์ดาวน์ที่สวยงามทั้งกลางวันและกลางคืน

พ่อช็อก ลูกสาวเสียชีวิตเหตุเครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์

พ่อช็อก น้ำตาคลอรู้ข่าวลูกสาวเสียชีวิตเหตุเครื่องบินเชจูแอร์ ไถลออกนอกรันเวย์ เผยเป็นลาง ลูกยื่นเงินหมื่นให้พ่อจ่ายเงินฌาปนกิจศพให้ตัวเอง

Jeju Air CEO apologises for plane crash at airport in South Korea

ซีอีโอเชจูแอร์ขอขมาผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินชน

โซล 29 ธ.ค.- ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอ (CEO) ของสายการบินเชจูแอร์ (Jeju AIr) ขอขมาต่อผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินชนรั้วกั้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติมูอัน ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดอยู่ที่ 124 คน จากจำนวนคนบนเครื่องบินทั้งหมด 181 คน นายคิม อีแบ ซีอีโอเชจูแอร์ แถลงต่อสื่อสั้น ๆ ว่า ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งและขอขมาต่อผู้โดยสารที่เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุครั้งนี้ รวมถึงครอบครัว บริษัทจะแก้ไขสถานการณ์อย่างรวดเร็วและให้ความช่วยเหลือครอบครัวของผู้โดยสาร นอกจากนี้จะพยายามอย่างเต็มที่ในการหาสาเหตุร่วมกับรัฐบาล นายคิม กล่าวว่า บริษัทให้บริการเครื่องบินลำนี้โดยได้มีการซ่อมบำรุงตามปกติ และไม่พบสัญญาณใด ๆ ว่าเครื่องบินมีความผิดปกติ เชจูแอร์เป็นสายการบินต้นทุนต่ำของเกาหลีใต้ที่ตั้งขึ้นในปี 2548 ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และไทย และมีเที่ยวบินในประเทศจำนวนมาก ด้านโบอิง บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินของสหรัฐ แถลงว่า กำลังประสานกับเชจูแอร์ กรณีเครื่องบินโบอิง 737-800 แบบ 2 เครื่องยนต์ เที่ยวบิน 7ซี2216 (7C2216) ชนที่ท่าอากาศยานทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้ และพร้อมให้ความช่วยเหลือสายการบิน ขณะที่กระทรวงคมนาคมของเกาหลีใต้ ระบุว่า เครื่องบินลำนี้ผลิตในปี 2552 […]

ข่าวแห่งปี 2567 : สุดอาลัย…ดาวลับฟ้า ปี 2567

ตลอดปี 2567 นับเป็นปีที่สูญเสียบุคคลมีชื่อเสียง ทั้งในแวดวงบันเทิง ศิลปินแห่งชาติ และวงการสื่อสารมวลชน ที่มีคุณูปการต่อประเทศชาติ