ปีงบฯ 2564 สามารถยุติเรื่องร้องทุกข์ 95,024 เรื่อง

ทำเนียบ 13 มี.ค.-โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯ กำชับทุกส่วนราชการประสานความร่วมมือเป็นเครือข่าย เร่งบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ปีงบประมาณ 2564 สามารถยุติเรื่องร้องทุกข์ 95,024 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 93.44

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ปีงบประมาณ 2564 รวม 101,691 ได้ขอยุติ 95,024 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 93.44 และรอผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6,667 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 6.56 ทั้งนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังกำชับให้ส่วนราชการ ประสานความร่วมมือเป็นเครือข่ายระหว่างส่วนราชการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนและบริหารจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ ในระนี้ รัฐบาลกำลังเร่งมาตรการอยู่ร่วมกับโควิด-19 เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำรงชีวิตได้แบบปกติใหม่ รวมทั้งขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้เดินหน้าต่อไป ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกทั้งราคาน้ำมันแพงและสงครามรัสเซีย-ยูเครน


โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า 5 หน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์ได้รับข้อคิดเห็นมากที่สุด ได้แก่ กระทรวงการคลัง 8,017 เรื่อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 4,901 เรื่องกระทรวงสาธารณสุข 4,812 เรื่อง กระทรวงแรงงาน 4,655 เรื่องและกระทรวงคมนาคม 1,258 เรื่องส่วนวิสาหกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน 566 เรื่อง ด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ได้แก่กรุงเทพมหานคร 7,301 เรื่อง จังหวัดนนทบุรี 1,403 เรื่อง จังหวัดสมุทรปราการ 1,216 เรื่อง จังหวัดปทุมธานี 1,044 เรื่องและจังหวัดชลบุรี 939 เรื่อง สำหรับประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ 1) การรักษาพยาบาลเช่นมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 การจัดสรรวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ให้กับประชาชน และการจัดสถานที่เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้ออย่างพอเพียง 2) การเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายและโครงการของรัฐบาล เช่น หลักเกณฑ์ คุณสมบัติและการลงทะเบียนและวิธีการจ่ายเงินในโครงการช่วยเหลือเยียวยาต่าง ๆ ของรัฐและการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 3) ค่าของชีพ เช่น หลักเกณฑ์การรับเงินเยียวยา “โครงการเราชนะ”และ “ม.33 เรารักกัน” 4) เรื่องเสียงรบกวน/สั่นสะเทือน เช่น ปัญหามลพิษทางเสียงจากสถาบันบันเทิง สถานประกอบการ วัยรุ่นมั่วสุมดื่มสุรา รวมกลุ่มแข่งขันรถจักรยานยนต์ส่งเสียงดังรบกวน 5) โทรศัพท์ เช่น การปรับปรุงระบบการให้บริการทางโทรศัพท์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดโควิด-19 6) ไฟฟ้า เช่น การแก้ไขปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้อง 7) การเมือง เช่น การชุมนุมทางการเมือง การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ 8) น้ำประปา เช่น การแก้ไขปัญหาน้ำประปาไม่ไหลแล้วไม่มีคุณภาพ 9) บ่อนการพนัน และ 10) ถนน เช่น การก่อสร้างถนนและปรับปรุงถนนลูกรังเป็นทางลาดยาง เป็นต้น

“นายกรัฐมนตรียังเน้นให้ทุกส่วนราชการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการด้านข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ ต้องเผยแพร่ให้รวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ต้องให้มีทีมตรวจสอบข่าวและให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อลดการเผยแพร่ข่าวปลอมและป้องกันการสร้างความสับสนแก่สาธารณชนด้วย” นายธนกร กล่าว.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

Trump signs order on new tariffs

สหรัฐเริ่มแล้วเก็บภาษี 10% สินค้านำเข้าจากทั่วโลก

วอชิงตัน 6 เม.ย.- ศุลกากรสหรัฐเริ่มมาตรการเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 10 กับสินค้านำเข้าทั้งหมดจากทั่วโลกแล้วตั้งแต่วันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ ก่อนที่จะเก็บภาษีเพิ่มกับแต่ละประเทศในสัปดาห์หน้า อัตราภาษีพื้นฐานร้อยละ 10 มีผลกับสินค้าทั้งหมดที่นำเข้าสหรัฐผ่านด่านทางทะเล ทางอากาศ และโกดังของศุลกากรตั้งแต่เวลา 00.01 น.วันที่ 5 เมษายน 2568 ตามเขตเวลาตะวันออก ตรงกับเวลา 11.01 น.วันเดียวกันตามเวลาไทย อย่างไรก็ดี สินค้าที่ถูกลำเลียงแล้วหรืออยู่ระหว่างขนส่งเข้าสหรัฐก่อนเวลาดังกล่าวจะได้รับการผ่อนผันไม่ถูกเก็บภาษีร้อยละ 10 โดยต้องมาถึงสหรัฐภายในวันที่ 27 พฤษภาคมหรือภายใน 51 วัน ส่วนภาษีที่สหรัฐจะเรียกเก็บเพิ่มจากแต่ละประเทศในอัตราที่แตกต่างกัน มีตั้งแต่ร้อยละ 11 ไปจนถึงร้อยละ 50 จะเริ่มมีผลตั้งแต่เวลา 00.01 น.วันที่ 9 เมษายน 2568 ตามเขตเวลาตะวันออก ซึ่งขณะนี้ช้ากว่าไทย 11 ชั่วโมงเนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูร้อน โดยไทยจะถูกเรียกเก็บเพิ่มในอัตราร้อยละ 36 สำหรับสินค้าประมาณ 1,000 ประเภทที่ได้รับการยกเว้นจากมาตรการภาษีใหม่ของสหรัฐ เช่น ยา ยูเรเนียม เซมิคอนดักเตอร์ รัฐบาลสหรัฐกำลังพิจารณาเรื่องอัตราภาษีใหม่ที่จะใช้กับสินค้าเหล่านี้ ประธานาธิบดีโดนัลด์ […]

ทีมกู้ภัยนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้เพิ่ม

วันที่ 9 ของภารกิจค้นหาผู้ติดค้างใต้ซากตึก สตง. เจ้าหน้าที่กู้ภัยและเจ้าหน้าที่ส่วนอื่นๆ นำกำลังเข้าพื้นที่ค้นหา ล่าสุดสามารถนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้เพิ่ม

นายกฯ ส่ง “พิชัย” รองนายกฯ บินด่วนเจรจาสหรัฐ

นายกฯ ออกแถลงการณ์ท่าทีไทยกับนโยบายการค้าของสหรัฐ ส่ง “พิชัย” รองนายกฯ บินด่วนเจรจาสหรัฐ ยันไทยไม่ใช่แค่ผู้ส่งออก แต่คือพันธมิตรและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่เชื่อถือได้ในระยะยาว

ไทยตอนบนอากาศร้อน เตือนระวังพายุฤดูร้อน

กรมอุตุฯ รายงานไทยตอนบนอากาศร้อน เตือนระวังพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง