มท.1 มอบนโยบายขับเคลื่อน ศจพ.ระดับพื้นที่ 15 จังหวัดภาคเหนือ

เชียงใหม่ 28 ก.พ. – มท.1 ลงพื้นที่มอบนโยบายขับเคลื่อน ศจพ. ระดับพื้นที่ 15 จังหวัดภาคเหนือ เน้นย้ำผู้ว่าฯ-นายอำเภอ ต้องบูรณาการทุกภาคส่วนลงสำรวจและแก้ไขปัญหาแบบพุ่งเป้าให้กับประชาชน เพื่อขจัดความยากจนให้หมดไปอย่างยั่งยืน


วันนี้ (28 ก.พ.65) เวลา 09.00 น. ที่โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มอบนโยบายและบรรยายพิเศษแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่ โดยมีนายอนุชา โมกขะเวส ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายประชา เตรัตน์ นายวัลลภ พริ้งพงษ์ คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบภาคเหนือ ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด 15 จังหวัดภาคเหนือ พร้อมด้วยประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด พัฒนาการจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด และนายอำเภอ ร่วมรับฟัง และถ่ายทอดสดการประชุมผ่านระบบ DOPA Channel ไปยังทุกจังหวัด/อำเภอทั่วประเทศ โดยมีปลัดอำเภอ พัฒนาการอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ร่วมรับฟัง

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า วันนี้เป็นการประชุมขับเคลื่อนแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะในการปฏิบัติมีรายละเอียด มีจุดเน้นที่ต้องบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อมาแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) มีเป้าหมายสำคัญ คือ การแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้าแต่ละครัวเรือน หรือ “การตัดเสื้อให้พอดีตัว” โดยมีกลไกการดำเนินงานตั้งแต่ระดับนโยบาย โดยคณะกรรมการฯ ระดับชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (อขจพ.) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน ไปจนถึงระดับปฏิบัติในพื้นที่ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับจังหวัด ผ่านศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด (ศจพ.จ.) ระดับอำเภอ ผ่านศูนย์อำนวยการปฏิบัติการฯ อำเภอ (ศจพ.อ.) และระดับปฏิบัติการ ผ่านทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่ และได้มีการตั้ง “ทีมพี่เลี้ยง” เข้าไปจัดทำแผนครัวเรือนร่วมกับทุกครัวเรือนยากจนในทุกหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อไปรับทราบปัญหา ช่วยหาทางแก้ไข และให้การสนับสนุนให้ครัวเรือนมีการวางแผน/แก้ปัญหาตรงตามสภาพปัญหาที่แต่ละครอบครัวกำลังเผชิญ เมื่อทราบปัญหาของแต่ละครอบครัวแล้ว ทีมพี่เลี้ยงจะได้นำข้อมูลมารายงาน ศจพ.อำเภอ เพื่อบูรณาการความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เสร็จในระดับอำเภอ ทั้ง 5 มิติ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “5 เมนูแก้จน” ได้แก่ 1) สุขภาพ เช่น การดูแลสุขภาพ การติดตามผู้ป่วยเรื้อรัง 2) ความเป็นอยู่ เช่น ปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย 3) การศึกษา เช่น การฝึกอาชีพ 4) ด้านรายได้ เช่น การจัดหาที่ดินทำกิน เกษตรแปลงใหญ่ และ 5) การเข้าถึงบริการภาครัฐ เช่น สนับสนุนเบี้ยผู้พิการ ผู้สูงอายุ ให้ผู้ที่ตกหล่นจากระบบ โดยทีมพี่เลี้ยงจะลงพื้นที่เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของครัวเรือนยากจนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ในลักษณะ Intensive care


“สิ่งสำคัญที่มาเน้นย้ำในวันนี้ คือ ระดับพื้นที่ เรามี ศจพ.จังหวัด อำเภอ ตำบล และทีมพี่เลี้ยงในระดับพื้นที่ ความสำเร็จหรือล้มเหลวทั้งหมดอยู่ที่กลไกในพื้นที่ทั้งหมด โดยเฉพาะ “ทีมพี่เลี้ยง” ที่ต้องดำเนินการวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางการแก้ไข ตามหลัก 4 ท คือ ทัศนคติ ทักษะ ทรัพยากร และทางออก โดยให้ครัวเรือนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ การคิด ตามสภาวะแวดล้อมที่สามารถทำได้ และไม่เป็นการบังคับให้เขาทำ โดยพัฒนากรเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเข้าใจให้ทีมพี่เลี้ยงไปสำรวจให้รู้ปัญหา รู้แนวทางการทำงาน และวิเคราะห์ปัญหาทั้งหมดให้ออกมา ด้วยการนำข้อมูลบุคคล/ครัวเรือนเป้าหมายจากระบบ TPMAP ไปกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกับครัวเรือน พร้อมทั้งติดตาม ตรวจสอบ วิเคราะห์ ดูแลอย่างใกล้ชิด ในลักษณะ Intensive Care และบันทึกในระบบ Logbook ทุกครั้งที่ได้ให้ความช่วยเหลือ ซึ่ง ศจพ.อำเภอ ต้องมีความเข้าใจ “เมนูแก้จน” ทั้ง 5 เมนู รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาแบบพุ่งเป้า โดยนายอำเภอเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการบูรณาการ ทั้งนี้ หากพบสภาพปัญหานอกเหนือจากเมนู ให้ประสานหน่วยงานในพื้นที่ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ หากไม่สามารถแก้ไขในระดับอำเภอได้ ให้รายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บูรณาการ และหากเป็นสภาพปัญหาที่ต้องแก้ไขในระดับนโยบาย ให้รายงานมายังกระทรวงมหาดไทย เพื่อนำกราบเรียนนายกรัฐมนตรี พิจารณาสั่งการต่อไป” พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวเน้นย้ำ

พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวต่อว่า ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนตามกลไก ศจพ. ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ กระทรวงที่เกี่ยวข้องในกลไก ศจพ.ทั้งหมด จะมอบนโยบายลงไปสู่ผู้ปฏิบัติ ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของแต่ละกระทรวงที่ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนงานของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดที่ต้องทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมบูรณาการระดับจังหวัดในพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลจากระบบ TPMAP ปี 2565 จำนวน 1,025,782 คน เป็นเครื่องมือในการชี้เป้า เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาแบบพุ่งเป้า คือ ใช้เป้าที่ได้ดำเนินการสำรวจแล้วเป็นเป้าหมายขับเคลื่อนแก้ปัญหาไปพร้อมกันทุกองคาพยพในพื้นที่ ซึ่งจะทำสำเร็จได้ต้องจบที่อำเภอ ถ้าแก้ที่อำเภอไม่สำเร็จ ก็ไปจบที่จังหวัด แต่มุ่งหวังให้จบที่อำเภอให้ได้ ภายในวันที่ 30 ก.ย.65 โดยมีระยะเวลา (Timeline) การขับเคลื่อน แบ่งเป็น 1. สร้างการรับรู้ (25 ก.พ.-15 มี.ค.65) ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานระดับต่างๆ ทั่วประเทศ 2. วิเคราะห์สภาพปัญหา และกำหนดแนวทางแก้ไข (มี.ค.65) โดยนำข้อมูลจากระบบ TPMAP ลงพื้นที่เป็นรายครัวเรือน วิเคราะห์สภาพปัญหาและร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ไข 3. จำแนกประเภทครัวเรือน โครงการ/กิจกรรม (1-15 เม.ย.65) โดยจำแนกครัวเรือน 3 ประเภท ได้แก่ พัฒนาได้ สงเคราะห์ และไม่ขอรับความช่วยเหลือ 4. บูรณาการแนวทางการให้ความช่วยเหลือ (15-30 เม.ย.65) โดยจัดประชุม ศจพ.อำเภอ เพื่อบูรณาการความช่วยเหลือร่วมกับหน่วยงานในระดับพื้นที่และภาคีการพัฒนาต่างๆ 5. ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ (1 พ.ค.-30 ก.ย.65) หน่วยงานต่างๆ ให้ความช่วยเหลือตามโครงการกิจกรรมที่ผ่านการประชุม (โดยแก้ปัญหาให้แล้วเสร็จสิ้นในระดับอำเภอ ภายใน 30 ก.ย.65) 6. บันทึกข้อมูลในระบบ logbook (มี.ค.-ก.ย.65) โดยทีมพี่เลี้ยงร่วมติดตามการให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด (Intensive Care) และ 7. ติดตามการดำเนินงาน รายงานผล และประชาสัมพันธ์ โดยผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชน กรมการปกครอง และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

“การสร้างการรับรู้เป็นเรื่องที่สำคัญ ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ใช้ช่องทางการสื่อสารทุกรูปแบบ ทุกขั้นตอน ทั้ง Online Onsite Onground ให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย ต้องทำซ้ำ ทำบ่อย ทำหลายๆ ช่องทาง ทำทุกระดับ รวมถึงทั้งมูลนิธิ สมาคมต่างๆ บูรณาการกันใช้พลังในการสื่อสาร เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ถ้าทุกคน ทุกภาคส่วนมาร่วมมือกันจะมีพลัง เพื่อปลายทาง คือ “พี่น้องประชาชนมีความสุข” พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวในช่วงท้าย


สุดท้าย พล.อ.อนุพงษ์ ได้เน้นย้ำนโยบายการขับเคลื่อนการทำงานในระดับพื้นที่ ได้แก่ 1) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด บูรณาการทุกภาคส่วนป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเฉพาะบริเวณทางข้าม “การข้ามถนนแล้วเกิดอุบัติเหตุจะต้องไม่เกิดขึ้นอีก” โดยบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดสูงสุด และทำให้คนขับรถมีวัฒนธรรมการใช้รถใช้ถนน รู้ทั้งกติกา มารยาท และมีจิตสำนึกที่จะคิดถึงความปลอดภัยของคนอื่น ต้องมีจิตวิญญาณใช้ถนนที่ดี เมื่อถึงทางคับขันต้องชะลอรถ 2) ลด Demand Side และ Supply ของยาเสพติดควบคู่กัน 3) บริหารจัดการสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ให้เป็นไปตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข 4) ดำเนินการตามมาตรการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในทุกรูปแบบ 5) เตรียมการรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อช่วยเหลือประชาชนและเกษตรกร 6) ประสานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ ดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสาร โดยเน้นบริเวณที่มีสภาพปัญหามากที่สุดเป็นลำดับแรก และ 7) การขับเคลื่อนงานทุกระดับ ทุกกลไกในพื้นที่ ต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส ยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) และกำชับผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้

ด้านนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ในการแก้ไขปัญหาความยากจน ต้องอาศัยกลไกภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ทั้งประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด องค์กรเอกชน สมาคม มูลนิธิต่างๆ ในระดับพื้นที่ และให้ดำเนินการ 1) นำแอปพลิเคชัน ThaiQM ซึ่งกรมการปกครองได้พัฒนาระบบนำเอาชุดข้อมูลที่ต้องทำการสำรวจอีกครั้งเข้าระบบ โดยนายอำเภอเป็นหัวหน้าชุดบูรณาการทีมงานสำรวจ และดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จภายใน 30 ก.ย.65 ตามแผนที่กำหนด ยกเว้นในด้านที่อยู่อาศัย ให้แล้วเสร็จภายใน 12 ส.ค.65 เพื่อพี่น้องคนไทยมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง แข็งแรง ถูกสุขลักษณะ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 90 พรรษา 2) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด กำกับ ติดตาม และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 7,853 แห่งทั่วประเทศ ขับเคลื่อน “ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อน” ให้มีความเข้มแข็ง ขับเคลื่อนกันช่วยเหลือพี่น้องประชาชนควบคู่กับโครงสร้างของภาคส่วนต่างๆ เช่น เหล่ากาชาด องค์กรการกุศล 3) น้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “ปลูกพืชผักสวนครัวสร้างความมั่นคงด้านอาหาร” และขับเคลื่อนงาน “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.)” เพื่อให้ อปท. อบรม อถล. ทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน และสอนให้รู้จักการเก็บขยะรีไซเคิล นำไปสู่การจัดตั้งธนาคารขยะ และ 4) บูรณาการร่วมกับฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดต่างๆ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ลงนาม MOU ร่วมกับสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม โดยวัดทุกวัดจะมาร่วมแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของชาวบ้าน และรณรงค์ส่งเสริมให้คนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่มาใช้ในชีวิตประจำวัน

“ขอให้ช่วยกัน Change for Good ให้เกิดขึ้นกับสังคมไทย และร่วมกันเฉลิมฉลองวาระ 130 ปี กระทรวงมหาดไทย ด้วยการมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน เรื่องใหญ่ที่สำคัญที่สุด คือ กระดุมเม็ดแรก ต้องหาเป้าให้ครบ แล้วลุยแก้ปัญหาอย่างพุ่งเป้า ช่วยกันสร้างชื่อเสียงให้กับสถาบันนักปกครอง กระทรวงมหาดไทย และที่สำคัญที่สุด สร้างชื่อเสียงให้ระบบราชการว่า มีความจำเป็นต่อสังคมไทย โดยใช้ผลงานเป็นเครื่องพิสูจน์” นายสุทธิพงษ์ กล่าวในตอนท้าย. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

“ภูมิธรรม” แบ่งงาน 2 รมช.มหาดไทย เจ้าตัวคุม “โยธาฯ-ปค.”

กระทรวงมหาดไทย 14 ก.ค. –“ภูมิธรรม” แบ่งงาน 2 รมช.มหาดไทยแล้ว เจ้าตัวคุม “โยธาฯ – ปค.” ฟาก “เดชอิศม์” คุม “ที่ดิน – สถ.” สางปัญหาที่ดิน นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย รักษาราชการนายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้ตนได้แบ่งงานกับทั้ง 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการทำงานของทั้ง 3 คนเราทำงานเป็นทีมเดียวกัน ส่วนหลักเกณฑ์การแบ่งก็กระจายให้ทั่วถึงเพื่อช่วยกันดูแล โดยตนกำกับดูแลกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมการปกครอง สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย การประสานงานส่วนราชการในสังกัด กระทรวงมหาดไทยตาม พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปาส่วนภูมิภาค และดูหน่วยงานส่วนที่เหลือทั้งหมด โดยทั้งหมดสงวนไว้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ และบุคคลซึ่งตนเป็นผู้ดูแล นายภูมิธรรม กล่าวต่อว่า ได้มอบหมายให้ น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย กำกับดูแล กรมการพัฒนาชุมชน เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสตรีและการดำเนินการเรื่องผ้าไทย รวมถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย […]

รถพ่วงเบรกแตกลงเขา ชนแหลก 10 คัน เจ็บ 3

นครราชสีมา 13 ก.ค. – รถพ่วงเบรกแตกลงเขามอกลางดง ชนแหลกรวมสิบคัน บาดเจ็บ 3 คน ทำถนนมิตรภาพรถติดยาวหลายกิโลเมตร คนขับรถพ่วงบาดเจ็บ แต่ยังให้การได้ รถพ่วงบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ชนแหลกนับ 10 คัน บนถนนมิตรภาพ ขาเข้ากรุงเทพมหานคร ช่วงลงเขามอกลางดง กิโลเมตรที่ 37-38 อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตำรวจ สภ.กลางดง พร้อมเจ้าหน้าที่กู้ภัยหลายหน่วยระดม เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ และช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ที่เกิดเหตุพบรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์คันต้นเหตุ ยี่ห้อฮีโน่ สีขาว ทะเบียน กรุงเทพมหานคร ด้านหน้าหัวลากพังยับ นายวิทยา อายุ 34 ปี คนขับ ได้รับบาดเจ็บที่ขาซ้าย ยังนั่งอยู่บริเวณที่นั่งข้างคนขับ โดยเล่าว่า บรรทุกของมาเต็มตู้คอนเทนเนอร์ ช่วงลงเขาเกิดเบรกไม่อยู่ เนื่องจากลมหมด จึงทำให้พุ่งชนท้ายรถพ่วงบรรทุกไม้อีกคันที่อยู่ด้านหน้า จนกระเด็นไปคนละทิศละทาง ไม้กระจายเกลื่อนถนน ด้วยความแรงยังวิ่งไปเฉี่ยวชนกับรถที่วิ่งอยู่ด้านหน้าเสียหายอีก 8 คัน เป็นรถกระบะ 5 คัน, รถเก๋ง […]

มส.มีมติสั่งปลด-ถอดสมณศักดิ์ พระอาบัติปาราชิก เรียกพระ 5 รูปแจงด่วน

กรุงเทพฯ 13 ก.ค.-มหาเถรสมาคม ประชุมนัดพิเศษ มีมติสั่งปลด-ถอดสมณศักดิ์ พระอาบัติปาราชิก เผยสึกแล้ว 6 คน ยังติดต่อไม่ได้ 2 คน เตรียมแก้กฎมหาเถรสมาคม อ้างสุดล้าหลังกว่า 50 ปี ขณะที่พระเทพพัชราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดชูจิตฯ ชิงลาออกแล้ว นายอินทพร จั่นเอี่ยม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) แถลงข่าวภายหลังการประชุมมหาเถรสมาคมนัดพิเศษ ครั้งที่ 1/2568 ว่า สมเด็จพระสังฆราชห่วงใยต่อกระแสข่าวที่เกิดขึ้น จึงมีพระบัญชาให้มหาเถรสมาคม นิมนต์กรรมการฯประชุมเร่งด่วน ซึ่งทางกรรมการฯ มีข้อห่วงใย และมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยมีมติ ดังนี้ -พระที่ถูกกล่าวหา ต้องอาบัติปราชิก ถือว่าสิ้นสุดความเป็นพระภิกษุทางวินัย และต้องสึกโดยทันที ส่วนพระที่ยังไม่ถึงขั้นปราชิก ก็ให้ปลดออกจากตำแหน่งเจ้าคณะพระสังฆาธิการทุกรูป และจะมีมติขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถอดสมณศักดิ์-ในระยะเร่งด่วน ให้เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ทุกระดับ ตรวจสอบดูแลและกำกับพฤติกรรมองพระในปกครองอย่างใกล้ชิด หากพบพฤติกรรมละเมิดพระธรรมวินัยให้ดำเนินการสอบสวน และรายงานมหาเถรสมาคมโดยเร็ว-กรณีพระภิกษุถูกกล่าวหาผิดพระธรรมวินัย ประเภทครุกาบัติ ให้ออกคำสั่พักการปฏิบัติหน้าที่ และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฏหมาย พร้อมขอให้ระมัดระวังการให้ข้อมูลต่อสื่อมวลชนและสาธารณชน เนื่องจากยังเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหา-และทบทวนปรับปรุงกฎระเบียบคณะสงฆ์ว่าด้วยการประทำผิดพระธรรมวินัย ประเภทครุกาบัติ โดยมหาเถรสมาคม เห็นควรขอประทานพระวินิจฉัยสมเด็จพระสังฆราช มีพระบัญชาโปรดให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อคุ้มครองพระพุทธศาสนาคณะหนึ่ง […]

ส่งตัวดำเนินคดี นักท่องเที่ยวไทยทำร้ายทหารกัมพูชา

สุรินทร์ 13 ก.ค.-ทบ. เผยนักท่องเที่ยวไทยต่อยทหารกัมพูชา ที่ปราสาทตาเมือนธม เป็นอดีตทหารพราน ส่งตัวให้ตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 13 ก.ค.68 พล.ต.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบกกล่าวถึงกรณีที่งนักท่องเที่ยวชาวไทย ทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ทหารกัมพูชาชุดประสานงาน ที่บริเวณปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์ ว่า กองทัพบกได้รับรายงานจากกองกำลังสุรนารี ว่า เมื่อเวลาประมาณ 10.20 น. ได้เกิดเหตุการณ์นักท่องเที่ยวชาวไทยทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ทหารกัมพูชาชุดประสานงาน ณ บริเวณปราสาทตาเมือนธม โดยผู้ก่อเหตุได้ชกเจ้าหน้าที่กัมพูชา ทั้งทางด้านหลังและด้านหน้า ก่อนจะหลบหนีออกจากพื้นที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยสามารถติดตามและควบคุมตัวได้ในเวลาต่อมา จากการตรวจสอบเบื้องต้น ทราบว่าผู้ก่อเหตุคือ นายสมหมาย ศรีศุกรานันทน์ อดีตอาสาสมัครทหารพราน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานชมรมทหารพรานจิตอาสาค่ายปักธงชัย และประธานเครือข่ายทหารผ่านศึกจังหวัดสมุทรสาคร ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณพื้นที่เกิดเหตุเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทางเจ้าหน้าที่ทหารฝ่ายไทย ได้ทำความเข้าใจกับผู้เสียหายไปแล้วในเบื้องต้น เพื่อพยายามไม่ให้กระทบความสัมพันธ์ในระดับเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่าย สำหรับผู้ก่อเหตุ ได้ให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป.-313.-สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เตือนฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง-กทม.ฟ้าคะนอง 60%

กรุงเทพฯ 16 ก.ค. – กรมอุตุฯ เตือนฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณ จ.เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ เลย หนองคาย จันทบุรี และตราด ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง 60% และมีฝนตกหนักบางแห่ง กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ เลย หนองคาย จันทบุรี และตราด ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้ เนื่องจากมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังอ่อนลงเป็นกำลังปานกลาง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร […]

วธ. ยันกัมพูชาไม่ได้สอดไส้วรรณกรรมไทย ขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก

กทม. 15 ก.ค.-กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ยืนยันกัมพูชาไม่ได้นำวรรณกรรมไทย 22 รายการ สอดไส้ขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ออกหนังสือชี้แจง ตามที่มีการกล่าวอ้างในเพจดังกล่าวว่า “นี่คือวรรณกรรมไทย ที่กัมพูชานำไปสอดไส้ขึ้นทะเบียนต่อ Unesco และได้รับการขึ้นทะเบียนไปเรียบร้อย เพราะรัฐบาลไทยปล่อยปละละเลยและไม่คัดค้านเลยแม้แต่นิดเดียว…” กระทรวงวัฒนธรรม ขอขอบคุณท่านที่ห่วงใยต่อกรณีประเทศกัมพูชานำวรรณกรรมไทย จำนวน 22 รายการ นำไปขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก ในหัวข้อ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของกัมพูชา เพื่อใช้ในการแสดง Royal Ballet of Cambodia เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้กับยูเนสโก ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว และขอชี้แจง ดังนี้ 1.ข้อมูลที่อ้างว่ามีการขึ้นทะเบียน “วรรณกรรมไทย 22 รายการ” โดยกัมพูชา ไม่เป็นความจริง เนื่องจากกัมพูชาไม่ได้เสนอขอขึ้นทะเบียนวรรณกรรม จำนวน 22 เรื่อง ต่อองค์การยูเนสโก แต่กัมพูชาได้เสนอขึ้นทะเบียน The Royal Ballet of Cambodia ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงโบราณของกัมพูชา และยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2546 […]

รวมพลัง 5 ศาสนา เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

15 ก.ค. – กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา จัดพิธีทางศาสนามหามงคล 5 ศาสนา เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม นางสาวแพทองธาร ชินวัตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย องค์การทางศาสนาทั้ง 15 องค์การ จาก 5 ศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และศาสนาซิกข์ รวมทั้งหน่วยงานเครือข่าย มีผู้เข้าร่วมทั้งผู้ประกอบพิธีทางศาสนา ผู้นำทางศาสนา ศาสนิกชน เครือข่ายสถานศึกษา ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม รวมกว่า 1,000 คน ร่วมพิธีทางศาสนามหามงคล 5 ศาสนา เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม จัดขึ้น ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อถวายพระราชกุศลและถวายพระพรชัยมงคล แสดงความจงรักภักดีและสำนึก ในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงมีต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า กิจกรรมประกอบด้วย พิธีถวายพระพรชัยมงคล […]

หน่วยงาน 3 ป. แถลงปฏิบัติการจับกุม “สีกากอล์ฟ” จ่อขยายผลเส้นเงิน

บก.ป. 15 ก.ค.- ตำรวจแถลงปฏิบัติการจับกุม “สีกากอล์ฟ” ตรวจสอบเงินในบัญชี 3 ปีย้อนหลัง พบมีเงินหมุนเวียน 385 ล้านบาท ส่วนใหญ่โอนไปเว็บพนัน เหลือเงินในบัญชี 8,000 บาท ขณะที่พระผิดธรรมวินัยทยอยลาสิกขาแล้ว 9 รูป จากทั้งหมด 13 รูป พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รอง ผบช.ก. พร้อมด้วยนายภูมิวิศาล เกษมสุข เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท., พ.ต.ท.สิริพงษ์ ศรีตุลา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท., นายกมลสิษฐ์ วงศ์บุตรน้อย รองเลขาธิการคณะกรรมการ ปปง., นายสุขสันต์ ประสาระเอ ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนและกิจการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช., พล.ต.ต.ประสงค์ เฉลิมพันธ์ ผบก.ปปป., พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ป., พ.ต.อ.เอนก เตาสุภาพ รอง ผบก.ป. ตำรวจกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) ร่วมกับ […]