จ.นครนายกฯ 27 เม.ย.-ผู้ว่าฯนครนายกออกคำสั่ง ให้ประชาชนต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าขณะอยู่นอกเคหสถาน พร้อมสั่งปิดสถานที่เสี่ยง ยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด
นายอำพล อังคภากรณ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ในฐานะผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดนครนายก ออกคำสั่งเรื่องให้ประชาชน ในพื้นที่จังหวัดนครนายกสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย และจังหวัดนครนายก มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมและผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังพบว่ามีประชาชนบางส่วนไม่สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ขณะอยู่นอกเคหสถาน หรือสถานที่สาธารณะ
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาตของโรคในพื้นที่จังหวัดนครนายก เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 มาตรา 28 (3) (7) และมาตรา 34(6) แห่งพระราชบัญญัติโรคติตต่อ พ.ศ. 2548ประกอบข้อ 7(1) และข้อ 11 ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนตการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกกเฉินพ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 3 ) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครนายก ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ 17/2564 เมื่อวันที่ 26เมบายน 2564 จึงมีคำสั่งให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครนายก สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าอย่างถูกต้องหรือถูกวิธีทุกครั้งตลอดเวลาขณะอยู่นอกเคหสถาน และเมื่อเข้าไปในสถานที่สาธารณะ เช่น ที่ ชุมชน ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลาด ตลาดนัด เป็นต้น เว้นแต่ ขณะออกกำลังกาย รับประทานอาหารหรือมีเหตุอันจำเป็นอื่น ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม เป็นความผิดตามตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติโรคติตต่อพ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท.(สองหมื่นบาท)
ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หากปล่อยให้เนิ่นนานไปจะก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา 30 วรรคสอง (3) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
ขณะเดียวกันผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ได้ออกอากาศฉบับที่ 20/2565 ยกระดับมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ จึงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558 ประกอบข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งทระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครนายก ดังนี้ .ห้ปิด 33 สถานที่เสี่ยงเป็นการชั่วคราว อาทิ สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบ อบ นวด หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน สนามชนไก่ และสนามซ้อมชนไก่ สนามกัดปลา หรือสนามแข่งขันอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน ตู้เกม เครื่องเล่น สวนน้ำ และสวนสนุก ทั้งนอกและในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าและคอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน
สนามเด็กเล่น เครื่องเล่นสำหรับเด็ปในสถานที่ต่าง ๆ อาทิ บ้านบอล บ้านลม ฯลฯ สวนสาธารณะ ลาน พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ ฟิตเนส ยิม สถานที่ออกกำลังกาย โต๊ะสนุกเกอร์ และบิลเลียด สระว่ายน้ำสาธารณะ รวมถึงสระว่ายน้ำที่ตั้งอยู่ในโรงแรม หรือรีสอร์ท สนามมวย โรงเรียนสอนมวย ร้านเกม ร้านอินเทอร์เน็ต สถานที่รับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน ยกเว้นสถานรับเลี้ยงเต็ก ในสถานพยาบาล หรือที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นปกติธุระ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา สถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า สวนสัตว์ สถานที่จัดแสดงสัตว์ หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน
ห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก โดยให้งดการจัดกิจกรรมทางสังคมในลักษณะที่เป็นงานสังสรรค์ งานเลี้ยง หรืองานรื่นเริง เว้นแต่เป็นการจัดพิธีตามประเพณีนิยม เช่น งานแต่งงาน งานศพ งานอุปสมบท โดยผู้ร่วมงานต้องไม่เกิน 50 คน ทั้งนี้ ต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด อีกทั้ง ขอความร่วมมือประชาชนงดออกนอกเคหสถานภายหลังเวลา 23.00 น.จนถึงเวลา 04.00 น. ของวันถัดไป หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม อาจถูกสั่งปิดสถานที่หรือสั่งให้งดการดำเนินกิจการเป็นการชั่วคราว หรือต้องระวางโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยประกาศดังกล่าว เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย.2564 ถึงวันที่ 10 พ.ค.2564 หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง.-สำนักข่าวไทย