กังวลถ้าไม่ตีความร่างแก้รธน.อาจถูกตีตกวาระ 3

รัฐสภา 1 ก.พ. -กฤษฎีกาเตือนแก้รธน.ให้ยึดคำวินิจฉัยศาลรธน. ด้าน “ไพบูลย์” กังวลถ้าไม่ส่งตีความให้ชัด โหวตวาระ 3 เสียงส.ว.ไม่ถึง 1ใน 3 อาจทำให้ร่างตก


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 4 ก.พ.นี้มีวาระการพิจารณารับทราบผลการพิจารณารายงานศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี2560 ที่มีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จากการที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาข้อสังเกตของกมธ. ว่าการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับจะทำได้หรือ ไม่ เพื่อแจ้งกลับมายังสภาผู้แทนราษฎรรับทราบประกอบการพิจารณารายงานศึกษา ปัญหา หลักเกณฑ์และแนวทาง แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของกมธ.นั้น คณะกรรรมการกฤษฎีกาได้ทำหนังสือตอบกลับมาแล้ว ว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลให้ยกร่างใหม่ทั้งฉบับจะทำได้หรือไม่ ควรพิจารณาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องคือคำวินิจฉัยที่18-22/2555 ที่ระบุการแก้ไขข้อบกพร่องรัฐธรรมนูญ ควรทำเป็นรายมาตรา แต่การยกร่างใหม่ทั้งฉบับ ควรจัดให้ออกเสียงประชามติจากประชาชนก่อน

คำวินิจฉัยที่ 15-18/2556 ที่ระบุการแก้ไขที่มาส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งเพียงทางเดียว เป็นการขัดรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลกัน แต่ทั้งนี้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ เป็นการวินิจฉัยภายใต้รัฐธรรมนูญปี2550 แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมปี 2560 มีบทบัญญัติเพิ่มเติมเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญไว้ในหมวด15 เป็นการเฉพาะ ดังนั้น การแก้รัฐธรรมนูญย่อมทำได้ แต่สมควรคำนึงถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับที่วางแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้เป็นบรรทัดฐาน ซึ่งอาจยกเป็นประเด็นส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ เนื่องจากมีแนวคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญไว้เป็นบรรทัดฐานแล้ว


นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหนาพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะผู้เสนอญัตติขอให้รัฐสภามีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา210(2) กล่าวว่า การประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 9 ก.พ.นี้ จะพิจารณาญัตติดังกล่าวว่าจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับเป็นการขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งบันทึกของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ส่งให้สภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ จะเป็นส่วนสำคัญประกอบการตัดสินใจของ ส.ส. และส.ว.ว่าจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่ หากไม่มีกระบวนการส่งไปศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เกิดความชัดเจน เมื่อต้องพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระ3 ที่ต้องใช้เสียง ส.ว.ด้วย หากเสียงส.ว.ไม่ถึง 1ใน3 อาจทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องตกไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่ม 31 ซิ่งเก๋งชนไรเดอร์ดับคาที่ หลังมีปากเสียงเรื่องขับเฉี่ยวชน

หนุ่มไทยเชื้อสายอินเดีย ลูกเจ้าของร้านขายผ้าซิ่งเก๋งชนไรเดอร์ดับ ริมถนนสุขุมวิท หลังมีปากเสียงเรื่องขับรถเฉี่ยวไม่ลงมาเจรจา

พ่อพาญาติเยี่ยมลูกชายลูกครึ่งอินเดีย ขับรถชนไรเดอร์ดับ

พ่อพาญาติเยี่ยมลูกชายลูกครึ่งอินเดีย ที่หัวร้อนขับรถชนไรเดอร์ดับคาที่กลางสุขุมวิท เมื่อวานนี้ พร้อมไหว้ขอสื่อ อย่ามายุ่งกับครอบครัว

จำคุกทนายเดชา

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” ปมไลฟ์หมิ่น “อ.อ๊อด”

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” คดีหมิ่น “อ.อ๊อด” ปรับ 1 แสนบาท ปมไลฟ์ด่าเสียหาย ให้รอลงอาญา โจทก์เตรียมอุทธรณ์ต่อ ขอให้ติดคุกจริง

ศาลให้ประกันหนุ่มลูกครึ่งอินเดียหัวร้อนขับรถไล่ชนไรเดอร์ดับ

ครอบครัวไรเดอร์ที่ถูกหนุ่มลูกครึ่งอินเดียหัวร้อนขับรถไล่ชนเสียชีวิต กอดกันร้องไห้รับร่างและรดน้ำศพ ด้านศาลให้ประกันตัวผู้ต้องหา วงเงิน 600,000 บาท ติดกำไล EM-ห้ามออกนอกประเทศ

ข่าวแนะนำ

วันประวัติศาสตร์ สมรสเท่าเทียมวันแรก

วันนี้เป็นวันแรกที่กฎหมายสมรสเท่าเทียม มีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ ใน กทม. มีการจัดงานวันสมรสเท่าเทียมอย่างยิ่งใหญ่ เฉลิมฉลองให้กับเส้นทางการต่อสู้อันยาวนานกว่าที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ ไม่ว่าเพศใดก็จะได้รับสิทธิการสมรสอย่างเท่าเทียมกัน

นาทีประวัติศาสตร์! นายกฯ ร่วมพิธีลงนาม FTA ไทย-เอฟตา

นายกฯ ร่วมพิธีลงนาม FTA ไทย-เอฟตา ฉบับแรกไทยกับยุโรป ความสำเร็จรัฐบาลแพทองธาร สร้างโอกาสยุคทองการค้า-ลงทุน ทำเงินเข้าประเทศ

ตำรวจ ปปป.ซ้อนแผนบุกจับนายช่างโยธา เรียกรับเงิน 4 แสน

ตำรวจ ปปป. บุกจับนายช่างโยธาปฏิบัติงาน ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตพระโขนง เรียกรับเงินค่าออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร 400,000 บาท

สมรสเท่าเทียม

นายกฯ ส่งคลิปสารร่วมยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้

“แพทองธาร” นายกฯ ส่งคลิปสารร่วมแสดงความยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้ ขอบคุณทุกภาคส่วนผ่านการต่อสู้กับอคติกว่า 2 ทศวรรษ ทำให้ ทุกตารางนิ้วของประเทศไทยโอบรับความหลากหลาย และเท่าเทียม