วุฒิสภาผ่านร่างกฎหมายทำแท้ง

รัฐสภา 25 ม.ค. – วุฒิสภาผ่านร่างกฎหมายทำแท้ง โดยพิจารณาแบบเต็มสภา 3 วาระรวด แม้ ส.ว. ขวาง


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมวุฒิสภา วันนี้ (25 ม.ค.) มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่…) พ.ศ. … ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบว่า ด้วยการแก้ไขเนื้อหาเกี่ยวกับการทำแท้งของหญิงตั้งครรภ์ ทั้งนี้ นายพรเพชรกล่าวตอนหนึ่งก่อนการพิจารณาเนื้อหาว่า การแก้ไขเนื้อหาของกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และต้องเร่งทำกฎหมายให้มีผลบังคับใช้ก่อนวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ตามคำวินิจฉัย

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงรายละเอียด โดยย้ำถึงความสำคัญของเนื้อหาว่า หากวุฒิสภาไม่สามารถพิจารณาได้ทันอาจจะเกิดกรณีที่ไม่มีมาตรา 301 ว่าด้วยการกำหนดอายุครรภ์สำหรับความผิดฐานทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก บังคับใช้และอาจทำให้เกิดการทำแท้งเสรีเกิดขึ้นได้


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว วุฒิสภาจะตั้งคณะกรรมาธิการเต็มสภาฯ เพื่อเร่งรัดการพิจารณาให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่าต้องปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน อย่างไรก็ดี มีความเห็นของ ส.ว. คัดค้านการตั้งกรรมาธิการเต็มสภาฯ เพราะมีรายละเอียดที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ตามผลการศึกษาล่วงหน้าของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กมธ.กฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ, กมธ.ศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม, กมธ.สาธารณสขุ ได้นำเสนอเนื้อหาที่ได้ศึกษา แต่มีข้อท้วงติง โดยเฉพาะประเด็นอายุครรภ์ที่สามารถทำแท้งได้โดยไม่ผิดกฎหมายและไม่ถูกลงโทษ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. อภิปรายคัดค้านว่า การพิจารณาร่างกฎหมายควรทำให้รอบคอบ หากวุฒิสภาแก้ไข ควรต้องแก้ไขและนำไปสู่การตั้งกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาในอนาคต อย่างไรก็ตาม ตนพร้อมจะรับหลักการ ต้องพิจารณาไปด้วยรอบคอบและเป็นประโยชน์ โดยไม่นำเงื่อนไขเรื่องเวลาที่ทำให้วุฒิสภาไม่แก้ไข ส่วนกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่าหากไม่แก้ไขมาตรา 301 อาจจะขัดคำวินิจฉัย เชื่อว่ารัฐบาลสามารถออกพระราชกำหนดได้ แม้รัฐบาลไม่อยากออกพระราชกำหนด แต่หากไม่มีทางอื่นต้องใช้ช่องทางดังกล่าว เพื่อให้ผลทางกฎหมายรักษาความปลอดภัยของหญิงมีครรภ์ และทารกในครรภ์มารดา มากกว่าระยะเวลาที่ไม่สามารถออกกฎหมายที่ถูกต้องชอบธรรมได้

ขณะที่นายพรเพชรชี้แจงรายละเอียดด้วยว่า เหตุผลที่ขอให้มีกรรมาธิการเต็มสภาฯ เพราะเงื่อนไขด้านเวลา ทั้งนี้ ตนไม่เคยบอกว่าแก้ไขไม่ได้ ส่วนที่ตนชี้แจงผ่านไลน์ของวุฒิสภานั้นเพราะเชื่อในวุฒิภาวะ หากสมาชิกวุฒิสภาต้องการอภิปรายสามารถทำได้ ไม่จบสามารถต่อพรุ่งนี้ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกติกา เพื่อแสดงให้เห็นว่าทำงานเต็มที่ แม้ผลการลงมติจะเป็นอย่างไรก็ตาม


ทั้งนี้ ยังพบว่า ส.ว. ยังอภิปรายแสดงความเห็นต้องการได้เวลาพิจารณาให้รอบคอบ และไม่ควรผูกมัดเรื่องเงื่อนไขเวลา อีกทั้งยังเสนอให้พิจารณาแก้ไขมาตราอื่นด้วยเช่นกัน

นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ ตั้งข้อสังเกตในมาตรา 301 ที่กำหนดให้หญิงที่แท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้แท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ซึ่งการกำหนดไว้เช่นนี้อาจตีความได้ว่าหากแท้งลูกที่อายุครรภ์ยังไม่ถึง 12 สัปดาห์ ย่อมไม่มีความผิด หรือการทำให้แท้งช่วงก่อนถึง 12 สัปดาห์ มีหลักเกณฑ์ กติกา และเงื่อนไขที่สอดคล้องกับมาตรา 305 หรือไม่ หรือเป็นการเปิดกว้างไว้เท่านั้น รวมทั้งในวงเล็บ 2 ของมาตรา 305 ที่ระบุว่า “หรือมีเหตุผลทางการแพทย์อันควรเชื่อได้ว่าหากทารกคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง โดยตัด “ทางการหรือจิตใจออกไป” ซึ่งการแก้ไขเช่นนี้ทำให้มีผลทางกฎหมายที่แคบลง

ขณะที่นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เห็นว่า การพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวควรจะต้องมีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นพิจารณา เพื่อให้เกิดความรอบคอบ เพราะร่างกฎหมายดังกล่าวถึงจะมีไม่กี่มาตรา แต่มีความเกี่ยวข้องกับสิทธิของหญิงและทารกในครรภ์ ซึ่งต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ ส่วนความกังวลว่าหากการพิจารณาของวุฒิสภามีความล่าช้า และจะส่งผลให้เกิดการทำแท้งอย่างเสรีนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 302 ละ 303 ยังมีผลบังคับใช้อยู่ อีกทั้งมาตรา 305 ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้วินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเหตุยกเว้นในการเอาผิดฐานหญิงที่ทำแท้ง และยอมให้ผู้อื่นทำแท้งอยู่แล้ว

ทั้งนี้ หลังลงมติวาระแรก สมาชิกวุฒิสภาต่างอภิปรายในวาระสองอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่ติดใจในมาตรา 305 (4) ที่ระบุว่า “หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์” ซึ่งหากระบุไว้เช่นนี้อาจสร้างความเข้าผิดได้ว่าสามารถทำแท้งเสรีได้ ดังนั้น ต้องระบุให้ชัดเจน อีกทั้งการกำหนดโทษถือว่าน้อยเกินไปเพียง 6 เดือนเท่านั้น และจะทำให้ผู้หญิงขาดความเกรงกลัวต่อกฎหมาย ดังนั้น การป้องกันความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ต้องกำหนดโทษให้เกิดความเกรงกลัวต่อการทำแท้ง

ท้ายที่สุดที่ประชุมวุฒิสภามีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาวาระ 3 ด้วยคะแนนเห็นชอบ 166 เสียง ไม่เห็นด้วย 7 เสียง งดออกเสียง 21 เสียง ก่อนส่งไปยังรัฐบาลเพื่อดำเนินการต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ข่าวแห่งปี 2567 : รวมฉ้อโกง “ดารา-คนดัง” ไม่รอด

ตลอดปี 2567 ยังมีผู้คนตกเป็นเหยื่อของกลโกง มิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ บางคนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว และที่น่าตกใจเริ่มมีคนดังเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีมากขึ้น

หมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาฉลองปีใหม่

บรรยากาศการเดินทางหมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ ด้าน รฟท. คาดผู้โดยสารเดินทางขาออกวันนี้ 1 แสนคน

รถเริ่มแน่น! สายเหนือ-อีสาน การจราจรชะลอตัว

ประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา หยุดยาวปีใหม่ ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าสายอีสาน รถแน่น ส่วนถนนสายเอเชีย ขึ้นเหนือ รถเคลื่อนตัวได้ช้า