ฝ่ายค้านไม่ร่วมกก.สมานฉันท์

พรรคเพื่อไทย 4 ธ.ค.-หัวหน้าพรรคเพื่อไทยยืนยันพรรคร่วมฝ่ายค้านไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมคณะกรรมการสมานฉันท์ มององค์ประกอบไม่เป็นกลาง เตรียมตั้งคณะกรรมการการเมือง คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่เลือกตั้งเดือนนี้ สั่งส.ส.ตามระเบียบบ้านพักของทบ.ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก่อนชี้แจงสาธารณชน


นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย แถลงภายหลังการประชุมบุคลากรการเมืองเพื่อกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย ว่า ที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะกรรมการเพิ่มเติมอีก 2 คณะ คือ คณะกรรมการการเมือง ที่มีนายชัยเกษม นิติศิริ เป็นประธาน และยังมีนายเสนาะ เทียนทอง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง นายวิโรจน์ เปาอินทร์ เป็นที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกพรรคเข้าร่วม และคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่เลือกตั้ง เพื่อเตรียมตั้งขยายเขตเลือกตั้งให้ครบทั้ง 350 เขต

หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยจะตั้งหน่วยงานอบรม ให้คำแนะนำทางการเมืองให้กับสมาชิกพรรคหรือบุคคลที่อยากเป็นนักประชาธิปไตยรุ่นใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ คาดว่าสิ้นเดือนธันวาคมนี้จะตั้งหน่วยได้สำเร็จ และดำเนินการได้ภายในเดือนมกราคม 2564


“พรรคร่วมฝ่ายค้านจะไม่เข้าร่วมคณะกรรมการสมานฉันท์ เพราะดูจากองค์ประกอบแล้วเห็นว่ายังไม่เป็นกลาง อีกทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วม ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็ไม่ทราบว่าการทำงานของคณะกรรมการสมานฉันท์จะได้ข้อสรุปอย่างไร จึงไม่ขอเข้าร่วมคณะกรรมการชุดนี้” นายสมพงษ์ กล่าว

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การตั้งคณะกรรมการการเมืองและคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่เลือกตั้ง เพื่อประเมิน วิเคราะห์ สถานการณ์การเมือง และกำหนดท่าทีบทบาทการเมืองให้ทันกับสถานการณ์การเมืองที่เปลี่ยนไป และจะช่วยพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภายในพรรค รวมถึงบุคลากรภายนอก ตลอดจนเป็นการขยายฐานสมาชิกของพรรค ตัวแทนประจำจังหวัด ให้สอดคล้องกับกฎหมาย

“ขณะเดียวกันได้ติดตาม การทำงานในสภาผู้แทนราษฎร ทั้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาวาระ 2 ซึ่งพรรคเพื่อไทยได้ขอแปรญัตติในประเด็นต่างๆแล้ว รวมถึงพิจารณากฎหมายประชามติ หลังจากนี้จะวางกรอบการทำงาน พร้อมทั้งประเมินการทำประชามติไม่ให้เป็นการทำประชามติเมื่อปี 2560 ที่เป็นการกำจัดสิทธิของประชาชน” เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าว


ส่วนกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความเป็นนายกรัฐมนตรีของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่สิ้นสุดกรณีพักบ้านพักหลวง นายประเสิรฐ กล่าวว่า เรื่องนี้คณะทำงานของพรรคยังมีข้อสังเกตทั้งเรื่องระเบียบบ้านพักของกองทัพบกชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และเรื่องบ้านพักรับรองตามคำวินิจฉัยมีที่มาที่ไปอย่างไร ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้ส.ส. ของพรรคไปติดตามประเด็นที่เกี่ยวข้องก่อนนำมาชี้แจงต่อสาธารณชน

“คณะกรรมการการเมืองแตกต่างจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เดิมที่มีคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ เป็นประธานและลาออกไปแล้ว เพราะคณะกรรมการการเมืองเป็นการรวบรวมบุคลากรทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่มาทำงานร่วมกัน ยึดหลักการกระจายอำนาจ แบ่งภารกิจเพิ่มเติม หวังให้เกิดความสอดคล้องกับกฎหมายเลือกตั้ง” เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง