“ประเสริฐ” รองนายกฯ ร่วมประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ SWOC

กรมชลประทาน 2 ก.ค.-“ประเสริฐ” รองนายกฯ ร่วมประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ SWOC เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน เน้นการทำงานแบบบูรณาการ ประสานความร่วมมือ สร้างเครือข่ายที่พร้อมจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) ชั้น 3 อาคาร 99 ปี หม่อมหลวง ชูชาติ กำภู กรมชลประทาน ถนนสามเสน เขตดุสิต โดยมีนายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารกรมชลประทาน ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ว่าราชการจังหวัด 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน หนองคาย สกลนคร บึงกาฬ นครพนมและ มุกดาหาร เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านทางระบบ Video Conference ด้วย


นายประเสริฐ กล่าวก่อนเปิดการประชุมว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติในช่วงฤดูฝน ซึ่งปีนี้คาดว่าฝนจะมาเร็วกว่าปกติ ขณะนี้ได้เริ่มมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดเชียงราย หนองคาย บึงกาฬ และหนองบัวลำภู ที่ได้รับผลกระทบจากพายุฝนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากการประเมินของกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม จะมีฝนตกมากในหลายพื้นที่ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม โดยเฉพาะในพื้นที่ลาดเชิงเขาและพื้นที่ลุ่มต่ำ สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความกังวลให้กับประชาชนอย่างมาก

นอกจากนี้ ยังมีรายงานเหตุแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ อินเดีย และญี่ปุ่น ซึ่งทำให้ประชาชนในไทยเกิดความวิตกกังวล อย่างไรก็ตามขณะนี้สถานการณ์ในประเทศไทยยังไม่ถึงขั้นวิกฤต แต่ก็สร้างความไม่สบายใจให้กับพี่น้องประชาชนอย่างกว้างขวาง


“รัฐบาลจึงได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัด เข้าร่วมประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ โดยเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานมีแผนเผชิญเหตุที่ชัดเจน และสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที” นายประเสริฐกล่าว

ด้านกรมชลประทานได้รายงานสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนอย่างใกล้ชิด เพื่อนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการ วิเคราะห์ วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมทั้งพิจารณาปรับแผนการระบายน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายเขื่อน รวมทั้งปฏิบัติตาม 9 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 68 ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบอย่างเคร่งครัด เพื่อรองรับปริมาณฝนที่จะเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ไว้ ที่สำคัญได้เน้นย้ำให้ทุกโครงการชลประทาน ตรวจสอบอาคารชลศาสตร์ และกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนกำหนดพื้นที่เฝ้าระวังอุทกภัยทั่วประเทศรวม 1,652 จุด พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ และเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือ เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ รถบรรทุก และเครื่องจักรอื่นๆ ไว้ประจำจุดเสี่ยง เพื่อให้สามารถเข้าช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที

ภายหลังการประชุม รองนายกรัฐมนตรีมอบนโยบายและข้อสั่งการว่า ในปีนี้จังหวัดและหน่วยงานมีการเตรียมความพร้อมไว้เป็นอย่างดี แต่สิ่งสำคัญที่อยากเน้นคือเรามีบทเรียนที่อำเภอแม่สาย ให้ทุกหน่วยงานถอดบทเรียนตรงนี้แล้วนำมาปรับใช้ในการรับมือให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ตามบริบทของแต่ละจังหวัด และเน้นให้ทุกหน่วยงานมีการทำงานในลักษณะในเชิงบูรณาการร่วมกันมีการประสานความร่วมมือ สร้างเครือข่ายที่พร้อมจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สำหรับแนวทางและนโยบายให้หน่วยงานรับไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้ 1. การเตือนภัย ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ และ GISTDA ร่วมกันติดตาม คาดการณ์การก่อตัวของพายุหรือร่องมรสุมหรือสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งพยากรณ์อากาศล่วงหน้า (ระยะสั้น ระยะปานกลาง) คาดการณ์พื้นที่ฝนตกหนักถึงหนักมาก การประเมินพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดปัญหาอุทกภัย ออกประกาศคำเตือนภัยล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและเตรียมการรับมือได้อย่างทันท่วงที และให้ตรวจสอบระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System) ให้พร้อมใช้งาน รวมถึงเตรียมระบบสำรองในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน รวมทั้ง ให้กรมทรัพยากรธรณีติดตามและประเมินสถานการณ์ธรณีพิบัติภัยจากดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว อย่างต่อเนื่อง และบูรณาการข้อมูลการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งสื่อสารสร้างการรับรู้ความเสี่ยงภัยให้กับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์พิบัติภัยได้อย่างทันท่วงที


2.การเตรียมพื้นที่รับมือภัยพิบัติ ให้กรมชลประทาน ร่วมกับจังหวัดในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งสำรวจและเร่งรัดดำเนินการรื้อสิ่งปลูกสร้างกลางลำน้ำที่ขวางทางน้ำเพื่อให้นำไหลได้สะดวก พร้อมทั้งให้ประสานหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาเพื่อบูรณาการในการเร่งรัดขุดลอกแม่น้ำสายต่าง ๆ และให้กองทัพบก กองทัพเรือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธรณภัย ดำเนินการและสนับสนุนกำลังคน อากาศยาน เครื่องไม้ เครื่องมือ เครื่องจักรกลหนัก รถยนต์ เรือยาง และอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อเตรียมการสำหรับการเข้าพื้นที่ได้ทันท่วงที และให้กรมชลประทานตรวจสอบอาคารชลศาสตร์ให้พร้อมใช้งาน และประสานงานเพื่อสนับสนุนทรัพยากรให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เช่น เครื่องสูบน้ำ เรือตรวจการณ์ เสบียงอาหารสัตว์ ถุงยังชีพสัตว์ เมล็ดพันธุ์พืช หัวเชื้อจุลินทรีย์ และชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช พร้อมกับให้จังหวัด และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัยไว้ล่วงหน้า พร้อมทั้งให้มีการดำเนินซักซ้อมทำความเข้าใจกับทุกหน่วยงานในพื้นที่ของแต่ละจังหวัด จัดเตรียมพื้นที่สถานที่สำหรับการอพยพประชาชนมายังที่ปลอดภัย จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว จัดเตรียมสิ่งของจำเป็นในการดำรงชีพ น้ำ อาหารแห้ง เครื่องดื่ม จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน หน่วยรักษาพยาบาลไว้หากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติจะได้พร้อมให้การช่วยเหลือได้ทันที พร้อมทั้งจัดเตรียมสถานที่และประสานงานกับมูลนิธิต่าง ๆ จิตอาสาที่เข้ามาช่วยเหลือเพื่ออำนวยความสะดวกให้สามารถเข้ามาสนับสนุนและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองก่อสร้างคันกั้นน้ำริมตลิ่งในจุดวิกฤติตามแผนแก้ไขปัญหาระยะกลางโดยเร็ว และให้กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กองทัพบก สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ใช้กลไกต่าง ๆ เพื่อเจรจากับรัฐบาลเมียนมาเพื่อแก้ไขปัญหาการชะล้างดินตะกอนที่เกิดขึ้นจากการเปิดเหมืองและการปนเปื้อนของสารพิษโดยเร็วที่สุด

3.การประชาสัมพันธ์ ให้จังหวัด กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ทบทวนแผนการปฏิบัติและการสื่อสารประชาสัมพันธ์การให้ข้อมูลผ่านระบบ Cell Broadcast (CB) โดยร่วมกับการแจ้งเตือนในรูปแบบอื่นๆ ตลอดเวลาหากพบว่ามีความเสี่ยงเกิดขึ้นให้รีบแจ้งเตือนประชาชนได้รับทราบข้อมูลอย่างทันท่วงที ได้รับข่าวสารที่ถูกต้อง เพื่อให้ประชาชนรับรู้สามารถเตรียมการ พร้อมรับมือสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นเพื่อลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะในสถานการณ์วิกฤตให้มีความชัดเจน ลดความสับสน ป้องกันการเกิด Fake News รวมทั้งการประสานเครือข่ายอาสาสมัครแจ้งเตือนภัยในพื้นที่ รวมทั้ง ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรธรณี เผยแพร่องค์ความรู้และสร้างการรับรู้แก่ประชาชน โดยแจ้งเตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งแจ้งแนวทางการปฏิบัติตนให้เกิดความปลอดภัย และช่องทางการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐโดยกำชับให้ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายอาสาสมัคร ประชาชนจิตอาสาให้ความสำคัญกับการจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัยสำหรับรองรับประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบให้เพียงพอและมีมาตรฐาน

4.การฟื้นฟู ช่วยเหลือเยียวยา ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับจังหวัดจัดทำข้อมูล สำรวจพื้นที่ บ้านเรือน ทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเสียหายเพื่อประเมินและ เร่งจ่ายเงินชดเชยเยียวยาให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยและวาตภัย รวมถึงให้จังหวัดในพื้นที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ จิตอาสา ภาคเอกชน มูลนิธิต่าง ในการร่วมให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในการล้างทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชน ที่สาธารณประโยชน์ และสถานที่ราชการในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติและสำรวจความเสียหาย โดยเฉพาะบ้านเรือนที่พักอาศัยพื้นที่การเกษตร ที่สาธารณประโยชน์ เพื่อซ่อมแซม ฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพปกติ และให้ความช่วยเหลือตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยเร็วนอกจากนั้น ให้จังหวัดบูรณาการกับหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิต่าง ๆ จัดชุดเคลื่อนที่เร็วให้ความช่วยเหลือลงพื้นที่ตามแผนเผชิญเหตุ ด้านการช่วยเหลือ การพยาบาลและการบรรเทาทุกข์โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่บนดอย หรือพื้นที่ห่างไกลจากชุมชน.-314.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทบ.​ เชิญ​ผู้ช่วยทูตทหาร รับฟังข้อเท็จจริง​ปมทุ่นระเบิดช่องบก

กองทัพบก 22 ก.ค.- ทบ.​ เชิญ​ผู้ช่วยทูตทหาร​ 47 ประเทศ​ รับฟังคำชี้แจง​สถานการณ์​ชายแดน​ไทย​-กัมพูชา​ หลังกำลังพลเหยียบกับระเบิดบาดเจ็บ​ 3 นาย​ พบ เป็นทุ่นระเบิดสังหารบุคคล​วางใหม่​ โดยมีหลายชาติ สนใจรับฟังขณะ​ พลจัตวา​ ฮอม​ คิม ผู้ช่วยทูตทหารดัมพูชา ร่วมด้วย กองบัญชาการ​กองทัพ​บก​ เชิญผู้ช่วยทูตทหารต่างประเทศประจำประเทศไทย​ รับฟังการชี้แจงสถานการณ์​ชายแดนไทย​-กัมพูชา​ ถึงข้อเท็จจริงกรณีไทยโดนรุกล้ำอธิปไตย​ และมีการวางทุ่นระเบิดสังหารบุคคล​ ทำให้ทหารสังกัดกรมทหารราบที่ 6 ได้รับบาดเจ็บ 3 นาย​ และมีการตรวจสอบว่าเป็นการวางทุ่นระเบิดใหม่​ ที่วางในเขตไทย​ ซึ่งขัดต่ออนุสัญญา​ออตตาวา​ ที่ทั้งไทยและกัมพูชาเป็นประเทศภาคี​ที่ให้สัตยาบัน​​ บรรดาทูต​ทหาร​ ทยอยเดินทางมายังห้อง ศรีสิทธิสงคราม​ ภายในกองทัพบก ตั้งแต่เวลา​ 13.20 น.​ อาทิทูตทหารจากเวียดนาม เมียนมา อินเดีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อังกฤษ บูรไน ออสเตเรีย สหรัฐอเมริกา อินโดนิเซีย จีน กัมพูชา เยอรมันนี แคนนาดา […]

พายุวิภากระหน่ำจันทบุรี ซัดหลังคาร้านอาหารถล่ม

จันทบุรี 22 ก.ค. – พายุกระหน่ำจันทบุรี ซัดหลังคาร้านข้าวมันไก่ถล่ม กระแทกหลังแม่เจ้าของร้านได้รับบาดเจ็บ ส่วนที่ภูเก็ตพายุถล่มภูเก็ต ป้ายล้ม-ต้นไม้ทับสาวจีนเสียชีวิต หลังคาร้านข้าวมันไก่ บริเวณตลาดศิริการ อ.เมือง จ.จันทบุรี ถูกพายุพัดร่วงลงมาทั้งแผง ท่ามกลางความตื่นตระหนกของลูกค้าและพนักงานในร้าน เหตุดังกล่าวเกิดช่วงเที่ยงพอดี จึงมีลูกค้ามานั่งกินข้าวเต็มร้าน กระทั่งมีฝนเทลงมา ทางร้านและลูกค้าจึงช่วยกันขนย้ายโต๊ะเก้าอี้เข้าข้างในเพื่อหลบฝน ก่อนพายุจะซัดเข้ามาอย่างรุนแรง จนหลังคาถล่ม เบื้องต้นไม่มีลูกค้าได้รับบาดเจ็บ มีเพียงแม่เจ้าของร้านข้าวมันไก่อีกร้าน ที่อยู่ติดกัน ถูกหลังคากระแทกหลังได้รับบาดเจ็บ นำส่งโรงพยาบาลแล้ว พนักงานร้านข้าวมันไก่ บอกว่า ปกติบริเวณนี้มีฝนตกบ่อย หลังคาแข็งแรงดี ไม่ได้ชำรุดอะไร แต่วันนี้ ลมแรงมาก มาแบบวูบเดียว พัดหลังคาลอยขึ้นก่อนพังลงมา ทั้งนี้ลมพายุได้พัดหลังคาของตึกที่อยู่ในละแวกร้านข้าวมันไก่พังเสียหายจำนวน 15 คูหา เบื้องต้นกำลังทหารและตำรวจ ได้เข้าตรวจสอบ พร้อมให้การช่วยเหลือ ขนย้ายเศษซากหลังคาเคลียร์พื้นที่เพื่อความปลอดภัยแล้ว พายุโซนร้อนวิภาถล่มภูเก็ต ป้ายล้ม-ต้นไม้ทับสาวจีนเสียชีวิต ที่หน้าหาดเกาะเฮ จังหวัดภูเก็ต นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ หอบข้าวของวิ่งหนีลมพายุ จังหวะนั้นต้นไม้ขนาดใหญ่ถูกลมพัดโค่นลงมา ในคลิปจะได้ยินเสียงคนพูดว่า “เห็นไหม คน ๆ อยู่ใต้นั้น” หลังเหตุการณ์สงบ […]

รถบรรทุกพุ่งชน จยย.พ่วงข้างรับส่ง นร. ตาย 3 เจ็บ 6

พระนครศรีอยุธยา 22 ก.ค. – สลด รถบรรทุก 6 ล้อ พุ่งชนรถจักรยานยนต์พ่วงข้างรับส่งนักเรียน มีผู้เสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บ 6 คน เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุก 6 ล้อ ทะเบียนพระนครศรีอยุธยา พุ่งชนรถจักรยานยนต์พ่วงข้างรับส่งนักเรียน โรงเรียนวัดมณฑลประสิทธิ์ ก่อนตกลงไปในร่องน้ำ บนถนนชนบทเลียบคลองระพีพัฒน์ หมู่ 5 ตำบลวังน้อย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอัดกับรั้วบ้านจนรถพังยับ มีผู้ติดอยู่ในรถ 2 คน เจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องใช้อุปกรณ์ตัดช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทั้ง 2 คนออกมา แต่ผู้โดยสารเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนคนขับบาดเจ็บสาหัส ใกล้กันพบรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง สภาพรถเสียหายยับเยิน คนบนรถ 7 คน เป็นนักเรียนโรงเรียนวัดมณฑลประสิทธิ์ 6 คน ผู้ปกครอง 1 คน บาดเจ็บทั้งหมด เจ้าหน้าที่กู้ภัยจึงช่วยกันนำตัวส่งโรงพยาบาลวังน้อย และมีนักเรียน 2 คนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่มูลนิธิพุทไธสวรรย์ จุดกิตติวังน้อย […]

โฆษก ทบ. เผยนานาชาติเข้าใจไทยเคลียร์ปมทุ่นระเบิด

กองทัพบก 22 ก.ค.- โฆษก ทบ. เผยเคลียร์ปมทุ่นระเบิด นานาชาติเข้าใจไทย ขณะผู้ช่วยทูตทหารกัมพูชานั่งนิ่งไม่โต้แย้ง – ให้กองทัพภาคที่ 2 ประเมินสถานการณ์หลังคนไทยนัดรวมตัวปราสาทตาเมือนธม ปลายเดือนนี้ พลตรีวินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก กล่าวภายหลังการเชิญผู้ช่วยทูตทหาร รับฟังคำชี้แจง​สถานการณ์​ชายแดน​ไทย​- กัมพูชา​ หลังกำลังพลเหยียบกับระเบิดบาดเจ็บ​ 3 นาย​ ว่า บรรยากาศเป็นไปด้วยดี ส่วนใหญ่เป็นการรับฟังและมีคำถามบ้าง ถือว่าน้อย เนื่องจากทุกท่านอาจจะได้รับข่าวสารจากช่องทางอื่นมาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารบก ที่พยายามบอกกล่าวและชี้แจงกับสิ่งที่เกิดขึ้น ในเรื่องข้อเท็จจริง พลตรีวินธัย เปิดเผยว่า ทูตทหารของกัมพูชา ไม่ได้ชี้แจงหรือมีคำถามอะไร คำถามส่วนใหญ่มาจากท่านอื่นมากกว่า ที่ถามเรื่องของความมั่นใจและยืนยันใช่หรือไม่ ซึ่งทางเรา ก็ให้เหตุผลไป และจะให้เอกสารชี้แจง ส่วนท่าทีของประเทศมหาอำนาจ ก็ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษ ซึ่งการเชิญมาในวันนี้เราก็ทำตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารบก คือทำให้เป็นทางการ ส่วนการหารือได้ชี้แจงเรื่องของการละเมิด บูรณภาพดินแดน และเอ็มโอยู 2543 และอนุสัญญาออตตาวา ด้วยหรือไม่ พลตรีวินธัย ระบุว่า มีการพูดถึงประเด็นดังกล่าว และได้อธิบายตามหลักอนุสัญญา ที่ทั้งสองประเทศเป็นสมาชิก และเล่าถึงกลไกการแก้ไขปัญหา […]

ข่าวแนะนำ

พายุวิภาทำเชียงรายอ่วม-รพ.เทิง งดรับผู้ป่วยชั่วคราว

เชียงราย 23 ก.ค. – พายุวิภาทำ อ.เทิง จ.เชียงราย อ่วม น้ำป่าหลากท่วมบ้านเรือน พื้นที่การเกษตร โรงพยาบาลเทิง ประกาศงดให้บริการผู้ป่วยทั่วไปชั่วคราว รับเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น ด้านนายอำเภอสั่งการเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือชาวบ้านขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง อพยพผู้ป่วยและผู้สูงอายุไปยังที่ปลอดภัย ฝนตกหนักจากอิทธิพลพายุวิภา ทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรหลายอำเภอใน จ.เชียงราย โดยเฉพาะ อ.เทิง สถานที่ราชการ ได้แก่ สภ.เทิง ศาลจังหวัด และโรงพยาบาลเทิง เกิดน้ำท่วมขัง โรงพยาบาลต้องงดให้บริการผู้ป่วยทั่วไป รับเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น ขณะที่สถานการณ์โดยทั่วไปยังมีฝนตกหนัก นายอำเภอเทิงลงพื้นที่ สั่งเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือชาวบ้านขนย้ายของขึ้นที่สูง อพยพผู้ป่วยและผู้สูงอายุไปยังที่ปลอดภัย ส่วนถนนพหลโยธิน ต.นางแล อ.เมืองเชียงราย น้ำป่าจากดอยโป่งพระบาทไหล่เอ่อท่วมถนนด้านขาขึ้น การสัญจรเป็นไปอย่างยากลำบาก ภาพรวมสถานการณ์ จ.เชียงราย เบื้องต้นมีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 5 อำเภอ ประชาชนเดือดร้อนประมาณ 100 ครัวเรือน เบื้องต้นไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต.-สำนักข่าวไทย

มท.2 รับกังวล จ.น่าน ที่สุด เหตุ 1 ชม. น้ำขึ้น 30 ซม.

ก.มหาดไทย 23 ก.ค.-มหาดไทย ถกวอรูมติดตามสถานการณ์ “พายุวิภา” ห่วงพื้นที่เหนือ-อีสาน พื้นที่ราบเชิงเขา เสี่ยงน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน ด้าน มท.2 กำชับพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่ม-ความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เผยเตรียมลงพื้นที่เชียงราย-น่าน รับกังวลน่านที่สุด เหตุ 1 ชม. น้ำขึ้น 30 ซม. สั่ง ปภ.-กรมชลฯ เร่งสูบน้ำ นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุม กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยแห่งชาติหรือ บกปภ.ช. ประชุมตั้งวอร์รูมติดตามสถานการณ์พายุ “วิภา” โดยมีนายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ร่วมรับฟัง และมีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ เข้าร่วมประชุมติดตามสถานการณ์ ได้ติดตามภาพรวมสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ทั้งจังหวัดแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ให้หลายจังหวัดจากอิทธิพลพายุวิภาในที่ประชุม กล่าวว่า ได้มีการรายงานสถานการณ์เป็นรายพื้นที่ ประกอบด้วยพื้นที่ติดภูเขา ที่ราบเชิงเขา โดยให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และการตรวจสอบสภาพดินที่ได้รับการสะสมของปริมาณฝนที่ตกลงมา ซึ่งมีลักษณะอุ้มน้ำ และความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำป่าไหลหลาก […]

ฝนถล่มน่าน น้ำเริ่มท่วมหลายพื้นที่ และน้ำน่านเพิ่มขึ้นรวดเร็ว

น่าน 23 ก.ค.-อิทธิพลจากพายุวิภา ทำให้ฝนถล่มน่านอย่างหนัก ปริมาณฝนสะสมเกิน 200 มิลลิเมตร น้ำเริ่มท่วมในหลายพื้นที่ และน้ำน่านเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จ.น่าน ขณะนี้ฝนตกหนักต่อเนื่องมาเกือบ 20 ชั่วโมงแล้ว และหลายพื้นที่โดยเฉพาะทางตอนเหนือวัดปริมาณฝนสะสมเกิน 200 มิลลิเมตรเกือบ 20 สถานี ส่งผลให้ระดับน้ำน่านเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยชั่วโมงละ 30 เซนติเมตร แม้ว่าระดับน้ำน่านยังต่ำกว่าตลิ่งอยู่มาก แต่ฝนที่ตกหนักติดต่อกันมาทั้งคืน โดยเฉพาะทางตอนเหนือของเมืองทั้งที่ปัว บ่อเกลือ เฉลิมพระเกียรติ ท่าวังผา และอีกหลายอำเภอ ซึ่งจากข้อมูลปริมาณน้ำฝนจากสถานีวัดของมูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก ในจังหวัดน่าน เมื่อเช้านี้พบปริมาณฝนสะสมเกิน 200 มิลลิเมตรถึง 18 สถานี สูงสุดอยู่ที่สถานีต้นน้ำน้ำกอนฝั่งซ้าย ตำบลพญาแก้ว อำเภอเชียงกลาง สูงถึง 291 มิลลิเมตร นั่นทำให้บางพื้นที่ลุ่มต่ำเริ่มมีน้ำเข้าท่วมพื้นที่แล้ว อย่างที่อำเภอท่าวังผา เริ่มมีน้ำทะลักเข้ามาแล้ว รวมทั้งระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยที่สถานีวัดระดับน้ำ n64 บ้านผาขวาง เหนือเมืองน่านไป 30 กิโลเมตร เพิ่มเป็น 7 เมตร […]

เตือนเฝ้าระวังดินถล่มใน 21 จังหวัด แม้ “วิภา” อ่อนกำลัง

กรุงเทพฯ 23 ก.ค.-กรมทรัพยากรธรณี แจ้งเตือนให้เฝ้าระวังดินถล่มในพื้นที่ 21 จังหวัด จากผลกระทบพายุ “วิภา” แม้ขณะนี้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำแล้ว แต่อิทธิพลของร่องมรสุมยังคงส่งผลให้หลายพื้นที่ในภาคเหนือและภาคตะวันตกมีฝนตกหนักต่อเนื่อง นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า กรมฯ ยังคงเปิดศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย (War Room) เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2568 หรือจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยมีเป้าหมายเพื่อประเมินความเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูล และแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ จากการวิเคราะห์ข้อมูลฝนสะสมควบคู่กับแบบจำลองธรณีพิบัติภัย พบว่า มีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มกระจายอยู่ใน 21 จังหวัด ได้แก่ -ภาคเหนือ: แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: เลย อุดรธานี หนองคาย-ภาคตะวันออก: จันทบุรี ตราด-ภาคตะวันตก: กาญจนบุรี ราชบุรี-ภาคใต้ฝั่งตะวันตก: ระนอง พังงา […]