“ไอติม” ขอนายกฯ แสดงบทบาทผู้นำปิดรอยร้าว สส.-สว.

รัฐสภา 18 ธ.ค. – “ไอติม” ย้ำ ยืนตามสภาล่าง เกณฑ์เสียงข้างมากชั้นเดียวประชามติ แนะระหว่างรอพัก 180 วัน ถกแก้ รธน. 3 วาระคู่ขนาน บอกรัฐบาลอย่าเพิ่งยอมแพ้ ปรับลดเป้าหมายเหลือแค่ตั้ง สสร. เพราะปชช.รอตัดสินผ่านคูหา ขอ “นายกฯ” แสดงบทบาทผู้นำปิดรอยร้าว สส. สว. ที่อาจเป็นรอยเดียวกับพรรคร่วม เชื่อยังได้ รธน.ใหม่ทันก่อนเลือกตั้ง หากร่วมมือ


นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาชน กล่าวถึงแนวโน้มการพิจารณา ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ของสภาผู้แทนราษฎร ว่าสิ่งที่ต้องพิจารณา มี 2 ทางเลือก 1. เห็นด้วยกับกรรมาธิการร่วม ที่แก้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น 2. ปฏิเสธ และรอพักไว้ 180 วัน และยืนตามสภาฯ เกณฑ์เสียงข้างมาก 1 ชั้น โดยจากการรับฟังเสียง และพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่ให้สัมภาษณ์ เข้าใจว่าเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับทางเลือกที่ 2 ซึ่งถ้ามองในภาพใหญ่ จะมีผลกระทบต่อกรอบเวลาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่อาจไม่ทันการเลือกตั้งครั้งหน้า ดังนั้นโจทย์สำคัญ คือจะทำอย่างไร ให้ 180 วัน ไม่กระทบกับกรอบเวลาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่หมุดหมายสำคัญตามที่รัฐบาลสัญญาไว้ ดังนั้นทางออกที่ตนเสนอ คือ ลดการทำประชามติ จาก 3 เหลือ 2 ครั้ง โดยจะใช้ระยะเวลา 180 วันที่ต้องรอ พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 วาระ ของรัฐสภาคู่ขนานไปด้วย แต่การจะผลักดันให้สำเร็จ ต้องผ่าน 2 ด่าน คือ 1. จะทำอย่างไรให้ประธานรัฐสภา บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. ซึ่งพรรคประชาชน ได้ยื่นร่างไปเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา และประธานรัฐสภา ก็ได้เชิญหารือ 23 ธันวาคม 2567 นี้ 2. ทำอย่างไรให้สมาชิกรัฐสภา เห็นชอบด้วย ซึ่งไม่มีอะไรรับประกันว่าเราจะผ่าน 2 ด่านสำคัญนี้ได้ แต่เชื่อว่าหาก ครม.ให้ความร่วมมือ ฝ่าฟัน 2 ด่านนี้ ก็เชื่อว่าโอกาสสำเร็จก็จะมีมากขึ้น และจะดีกว่านี้หากรัฐบาล หรือพรรคเพื่อไทย เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่อง สสร. เข้ามาประกบ ส่วนการโน้มน้าว สว.นายพริษฐ์ กล่าวว่า หากมองว่ารอยร้าวของ สส. และ สว. ที่เห็นในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ เป็นรอยร้าวเดียวกันระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล ที่เห็นต่างเรื่อง ร่าง พ.ร.บ. กลาโหม และรายงานเรื่องนิรโทษกรรม คนที่จะมีบทบาทปิดรอยร้าวคือนายกรัฐมนตรี จึงคาดหวังให้นายกรัฐมนตรีแสดงบทบาทความเป็นผู้นำและความจริงใจต่อการแก้รัฐธรรมนูญปิดรอยร้าว แก้รัฐธรรมนูญทันต่อการเลือกตั้งครั้งใหม่

ส่วนการที่รัฐบาลประกาศปรับเป้าหมาย ที่อาจทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ทันแต่จะตั้งสสร.ให้ได้ทันนั้น นายพริษฐ์กล่าวว่าไม่อยากให้รัฐบาลยอมแพ้ง่ายเกินไป หรือปรับลดเป้าหมายเร็วเกิน เพราะปัจจุบันยังมีความเป็นไปได้ ที่จะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยสสร.ก่อนการเลือกตั้งครั้งใหม่ หากปรับลดจำนวนการทำประชามติลงเหลือ 2 ครั้งและทุกครั้งที่รัฐบาลให้คำมั่นสัญญากับประชาชน ถ้ารัฐบาลไม่สามารถรักษาได้ท้ายสุดแล้วเชื่อว่าประชาชน จะแสดงออกผ่านคูหาเลือกตั้งในครั้งถัดไป


“ยิ่งรัฐบาลมาร่วมมือกับเรา มากขึ้นเท่าไหร่โอกาสที่ สำเร็จก็มีมากขึ้นเท่านั้น ไม่อยากให้รัฐบาลเร่งปรับลดเป้าหมายของคำสัญญาที่เคยให้ไว้แต่มาช่วยกันผลักดัน” นายพริษฐ์ กล่าว.-319 -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่มพาลูก-เมียกลับจากฉลองวันเกิด รถยางระเบิดเสียหลักชนเสาไฟ ดับ 3 สาหัส 2

พ่อแม่ลูก 5 คน กลับจากฉลองวันเกิด รถกระบะยางระเบิดเสียหลักหมุนชนอัดเสาไฟฟ้า พ่อและแม่พร้อมลูกคนโตเสียชีวิตคาที่ ส่วนลูกคนกลางและคนเล็กอาการสาหัส

สุดโหด! ไล่แทงหนุ่มดับปมขัดแย้งยาเสพติด

วงจรปิดจับภาพชัด คนร้ายวิ่งข้ามถนนไล่แทงหนุ่มเสียชีวิต ชาวบ้านแตกตื่น ขณะที่ตำรวจรวบตัวทันควัน คาดปมขัดแย้งยาเสพติด

กยศ.เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน พ.ค.-มิ.ย.68

กยศ. เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน ช่วยเหลือชั่วคราว พ.ค.-มิ.ย.68 ให้นายจ้างลดยอดการหักเงินเดือน ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อเริ่มผ่อนชำระใหม่เป็นรายเดือนในอัตราลดลง

ข่าวแนะนำ

ผู้เสียหาย 70 ราย ร้องสภาทนายฯ ถูกหอพักโหดเอาเปรียบ

ผู้เสียหาย 70 คน เข้าร้องสภาทนายความช่วยเหลือ หลังถูกเจ้าของหอพัก ย่านรังสิต เอาเปรียบ ข่มขู่กักขัง-ยึดทรัพย์ ด้านนายกสภาทนายความ ตั้งคณะทำงานช่วยเหลือทางคดี ทั้งแพ่ง-อาญา เชื่อมีผู้เสียหายเพิ่มอีก

คณะกรรมการแพทยสภา มีมติลงโทษ 3 แพทย์ เซ่นปม “ทักษิณ” รักษาตัวชั้น 14

คณะกรรมการแพทยสภา มีมติลงโทษแพทย์ 3 ท่าน เซ่นปม “ทักษิณ” รักษาตัวชั้น 14 รพ.ตำรวจ โดยว่ากล่าวตักเตือน 1 ท่าน พักใช้ใบประกอบวิชาชีพ 2 ท่าน เผยมติที่ประชุมมีความเห็น “เป็นเสียงส่วนใหญ่มาก มาก มาก”

นายกฯ มาเลเซีย ต่อสายคุย “แพทองธาร” ติดตามสถานการณ์ใต้

นายกฯ มาเลเซีย ต่อสายคุย “แพทองธาร” ติดตามสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้ แสดงความพร้อมร่วมมือกับไทยเพื่อยุติความรุนแรง พร้อมใช้เวทีอาเซียนสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกมากขึ้น