ศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเวทีอภิปรายภารกิจพิทักษ์ รธน.

โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น 10 เม.ย.-ศาล รธน.เปิดเวทีอภิปรายภารกิจพิทักษ์ รธน. นักวิชาการ เชื่อการทำหน้าที่ของศาลฯ หลังจากนี้จะเจอความท้าทายจากทั้งคนชอบ-ไม่ชอบ แนะ ศาลฯ ควรเปลี่ยนการยุบพรรค เป็นการกำกับให้พรรคเข้มแข็ง


ศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเวทีอภิปรายร่วมกันระหว่างตุลาการศาลรัฐธรมนูญ และนักวิชาการ ในหัวข้อ ”ศาลรัฐธรรมนูญกับการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ในโอกาส 25 ปี แห่งการสถาปนาศาลรัฐธรรมนูญ โดย นายปัญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูฐ, นายอุดม รัฐอมฤต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา, นายภูมิ มูลศิลป์ รองศาสตราจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นายมานิตย์ จุมปา รองศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดำเนินรายการโดย นายบากบั่น บุญเลิศ รองประธานกรรมการบริหารบริษัท เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)

โดย นายปัญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อธิบายถึงบทบาทการพิทักษ์รัฐธรรมนูญว่า การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ คือ การพิทักษ์ความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ที่เป็นกฎหมายสูงสุดประเทศ ให้มีความมั่นคงถาวร ส่วนองค์กรใดจะมาทำหน้าที่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเมืองของประเทศนั้นๆ หรือบางประเทศ กำหนดให้มีสภาพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เช่น ประเทศปากีสถาน ที่กำหนดให้มีสภาพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เพื่อตีความรัฐธรรมนูญ ให้สอดคล้องกับข้อบัญญัติทางศาสนาอิสลามด้วย หรือการกำหนดให้มีศาลลักษณะพิเศษ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งแต่ละประเทศ ก็จะมีที่มาแตกต่างกันไป


สำหรับศาลรัฐธรรมนูญของไทย ที่ทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญนั้น นายปัญญา ยอมรับว่า ได้รับอิทธิพลจากเยอรมนี เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2540 มีบทบาทสำคัญในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ผ่านคำวินิจฉัยสำคัญๆ เช่น การคุ้มครองหลักความเสมอภาคในสิทธิสตรี ที่ต้องการใช้นามสกุลของตนเอง แม้จะจดทะเบียนสมรสกับสามีแล้ว เพราะกฎหมายบังคับให้ใช้นามสกุลของสามีคู่สมรส ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงได้มีคำวินิจฉัยต่อคำร้องดังกล่าว ที่มีผู้ร้องยื่นรองผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาในขณะนั้น รวมถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้พิการ ที่ถูกตัดสิทธิเข้าสอบข้าราชการตุลาการ, การงดเว้นโทษ กรณีที่ผู้ต้องหาในคดีอาญาไม่ยินยอมพิมพ์ลายนิ้วมือ, การกำหนดให้ประกาศกำหนดลงโทษบุคคลที่ไม่มารายงานตัว ตามคำสั่ง คสช.ย้อนหลัง เป็นการออกคำสั่งย้อนหลัง ไม่สามารถเอาผิดย้อนหลังได้ เป็นต้น จึงยืนยันว่า ศาลรัฐธรรมนูญไทย มีส่วนสำคัญในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

นายอุดม รัฐอมฤต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในฐานะอดีตกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. กล่าวถึงการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ จนเกิดข้อถกเถียงศาลรัฐธรรมนูญเป็นใหญ่ รวมถึงขั้นตอนการประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่มัจจุราช ถ้ารัฐสภา ไม่ทะเลาะกัน ศาลฯ ก็ไม่ต้องชี้ขาด ซึ่งเข้าใจว่า หลายเรื่อง หลายฝ่ายยังเห็นไม่ตรงกัน และส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ หาข้อยุติ

ส่วนการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยรัฐสภา สามารถเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีซ้ำได้หรือไม่ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภานั้น นายอุดม ยอมรับว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้อยากเข้าไปก้าวก่ายกิจการของรัฐสภา แต่กลับมีผู้ยื่นร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และศาลฯ ก็กังวลว่า การยื่นมือเข้าไปวินิจฉัย อนาคตจะเกิดความวุ่นวาย เพราะรัฐสภา ก็เป็นที่รวมของบุคคลที่มีความหลากหลายอยู่แล้ว และศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ได้อยากก้าวล่วง หรือยุ่งเกี่ยว แต่รัฐธรรมนูญ ก็ได้กำหนดให้มีศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อชี้ขาดความเป็นกฎหมายสูงสุด ดังนั้น การพิทักษ์รัฐธรรมนูญนั้น จึงไม่ได้ขี้ขาดแค่ตัวอักษรเท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึงสภาพความเป็นไปของสังคม เพื่อให้สังคมเดินไปข้างหน้าต่อไปได้ด้วย


นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงบทบาทการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ถึงความพยายามของรัฐบาลในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังคงใช้บังคับอยู่ว่า ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใด กำหนดให้ทำได้ แต่ในประเทศไทย ก็สามารถทำได้ 2 ครั้งในปี 2489 และ 2540 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดนวัตกรรม ในการเพิ่มเพียงมาตราเดียว เพื่อกำหนดหมวดการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ จนกระทั่ง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญล่าสุด เกี่ยวกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่จะต้องสอบถามความเห็นจากประชาชนเสียก่อน จนเกิดการตีความว่า จะต้องจัดการออกเสียงประชามติก่อนที่จะมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือ จัดการออกเสียงประชามติ เมื่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ผ่านวาระที่ 3 ของรัฐสภาแล้ว รวมถึงยังไม่มั่นใจว่า รัฐสภา จะให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร.มายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้หรือไม่ เพราะตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดเพียงว่า รัฐสภา มีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เชื่อว่า ประเด็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะอยู่กับสังคมไปอีกระยะหนึ่ง และการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ก็จะอยู่ในมือของศาลรัฐธรรมนูญ

นายคำนูณ ยังกล่าวถึงที่มาของวุฒิสภา ที่ส่งผลต่อการเลือกกรรมการองค์กรอิสระ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า หากจะให้ที่มาองค์กรอิสระ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มาจากสภาผู้แทนราษฎรนั้น จะไม่ตอบโจทย์ แต่การใช้วุฒิสภาคัดเลือก ก็ควรจะต้องตอบโจทย์ด้วย เพราะหากมาจากการเลือกตั้ง ก็จะต้องให้แตกต่างจากสภาผู้แทนราษฎร มิเช่นนั้น ก็จะไม่แตกต่างจากการมีสภาเดี่ยว และมั่นใจว่า กระบวนการเลือกตั้ง สว.แบบเลือกกันเองตามรัฐธรรมนูญ 2560 ในบทถาวรนั้น จะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรก และครั้งเดียว เหมือนระบบการเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสม

ขณะที่ นายภูมิ มูลศิลป์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เห็นว่า การทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ 2540 ค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่ในรัฐธรรมนูญ 2550 ศาลฯ ถูกมองว่า มีการแทรกแซงการใช้อำนาจก้าวล่วงเข้ามาด้วย จึงเกิดคำถามต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า การเข้ามามีบทบาททางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญ ถูกแทรกแซงโดยใคร และมีกรตั้งธงล่วงหน้าอย่างไรหรือไม่ จนมีมวลชนมากดดัน และเปิดเผยชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับ กรณีที่ฝ่ายนิติบัญญัติ มีข้อสงสัยต่อการตีความของศาลรัฐธรรมนูญที่แตกต่างออกไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเป็นไปตามการตรวจสอบถ่วงดุล

ส่วนกรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปตามหลักอำนาจนิยมหรือไม่นั้น เห็นว่า กระบวนการคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีที่มียึดโยงกับกลุ่มอำนาจ จนเกิดคำถามต่อสังคมว่า มีประเด็นใดแอบแฝงหรือไม่ และในมิติของอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ที่สังคมตั้งข้อสงสัยว่า เพิ่มมากขึ้นหรือไม่ รวมถึงการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ มีการตีความให้อำนาจแก่องค์กรของตนเองหรือไม่ รวมถึงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ที่มีการพาดหัวข่าวที่ทำให้สังคมเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือไม่

คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ยังเห็นว่า การทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ จะมองเพียงมิติทางการเมืองอย่างเดียวไม่ได้ เพราะศาลรัฐธรรมนูญ ก็ยังมีบทาทสำคัญในการพิทักษ์สิทธิของประชาชน พร้อมเห็นว่า หลังจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ จะมีความท้าทายในการทำหน้าที่ เมื่อสังคมมีความขัดแย้งมากขึ้น ซึ่งในอนาคตหากศาลรัฐธรรมนูญ จะตีความอย่างไร ฝ่ายที่เห็นด้วยก็จะชื่นชม และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ก็จะโจมตี

นายมานิตย์ จุมปา รองศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญไทย 26 ปี สามารถทำหน้าที่ได้ดี แต่ในมุมเฉพาะในระยะหลังที่เกี่ยวข้องกับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ จากกรณี การวินิจฉัยการเสนอแก้ไขกฎหมายเป็นการล้มล้างการปกครองเป็นการก้าวก่ายแทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติหรือไม่ ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กำหนดการใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคล จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่า แนวคิดเกี่ยวกับการป้องกันตนเองผู้ที่จะทำลายประชาธิปไตย โดยเข้ามาผ่านกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่การลากรถถังมายึดอำนาจ แต่หลักการเยอรมัน มีการเข้าสู่ระบบการเมืองด้วยวิถีประชาธิปไตย ผ่านกระบวนการประชาธิปไตย ดังนั้น จึงมีกระบวนการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่กำหนดการใช้สิทธิประชาชน หรือการใช้อำนาจนิติบัญญัติ ก็ต้องถูกตรวจสอบได้ว่า เป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ ซึ่งการทำหน้าที่นี้ แม้ศาลรัฐธรรมนูญ จะพิทักษ์รักฐธรรมนูญได้ แต่ก็จะต้องปะทะกับสังคม

เพราะในอีกมุมหนึ่ง การที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งห้ามพรรคก้าวไกล ดำเนินกระบวนการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นั้น สภาผู้แทนราษฎร ก็อาจไม่รับหลักการก็ได้ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ จึงเป็นประเด็นท้าทายศาลรัฐธรรมนูญว่า จะมีการตรวจสอบทุกการกระทำหรือไม่ หรือจะตรวจสอบเฉพาะย่างก้าวเฉพาะที่เป็นอันตรายต่อระบอบการปกครอง พร้อมมองว่า หากเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพทั่วไป ศาลไม่ควรเข้าไปก้าวก่าย ยกเว้นเพียงจะมีการกระทำเป็นขบวนการ ส่วนอำนาจการยุบพรรคการเมือง จะเป็นการก้าวล่วงอำนาจประชาชนที่ได้เลือกตั้งมาหรือไม่นั้น

นายมานิตย์ เห็นว่า พรรคการเมือง ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มีแนวคิดตรงกันในการเข้ามาบริหารประเทศ จึงเห็นว่า การกระทำผิดจากสาเหตุตัวบุคคล ควรลงโทษที่เป็นตัวบุคคล ไม่ควรยุบพรรคการเมือง เพราะท้ายที่สุด ก็ไม่สามารถทำให้พรรคการเมืองนั้น หายไปได้ หรือสกัดพรรคการเมืองนั้นได้ จึงเสนอให้การทำหน้าที่ของศาลจากการยุบพรรค เป็นการกำกับให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง และเห็นว่า กลไกการยุบพรรคในปัจจุบัน สามารถทำได้ง่ายเกินไป.-312.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

“ภูมิธรรม” แบ่งงาน 2 รมช.มหาดไทย เจ้าตัวคุม “โยธาฯ-ปค.”

กระทรวงมหาดไทย 14 ก.ค. –“ภูมิธรรม” แบ่งงาน 2 รมช.มหาดไทยแล้ว เจ้าตัวคุม “โยธาฯ – ปค.” ฟาก “เดชอิศม์” คุม “ที่ดิน – สถ.” สางปัญหาที่ดิน นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย รักษาราชการนายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้ตนได้แบ่งงานกับทั้ง 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการทำงานของทั้ง 3 คนเราทำงานเป็นทีมเดียวกัน ส่วนหลักเกณฑ์การแบ่งก็กระจายให้ทั่วถึงเพื่อช่วยกันดูแล โดยตนกำกับดูแลกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมการปกครอง สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย การประสานงานส่วนราชการในสังกัด กระทรวงมหาดไทยตาม พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปาส่วนภูมิภาค และดูหน่วยงานส่วนที่เหลือทั้งหมด โดยทั้งหมดสงวนไว้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ และบุคคลซึ่งตนเป็นผู้ดูแล นายภูมิธรรม กล่าวต่อว่า ได้มอบหมายให้ น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย กำกับดูแล กรมการพัฒนาชุมชน เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสตรีและการดำเนินการเรื่องผ้าไทย รวมถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย […]

รถพ่วงเบรกแตกลงเขา ชนแหลก 10 คัน เจ็บ 3

นครราชสีมา 13 ก.ค. – รถพ่วงเบรกแตกลงเขามอกลางดง ชนแหลกรวมสิบคัน บาดเจ็บ 3 คน ทำถนนมิตรภาพรถติดยาวหลายกิโลเมตร คนขับรถพ่วงบาดเจ็บ แต่ยังให้การได้ รถพ่วงบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ชนแหลกนับ 10 คัน บนถนนมิตรภาพ ขาเข้ากรุงเทพมหานคร ช่วงลงเขามอกลางดง กิโลเมตรที่ 37-38 อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตำรวจ สภ.กลางดง พร้อมเจ้าหน้าที่กู้ภัยหลายหน่วยระดม เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ และช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ที่เกิดเหตุพบรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์คันต้นเหตุ ยี่ห้อฮีโน่ สีขาว ทะเบียน กรุงเทพมหานคร ด้านหน้าหัวลากพังยับ นายวิทยา อายุ 34 ปี คนขับ ได้รับบาดเจ็บที่ขาซ้าย ยังนั่งอยู่บริเวณที่นั่งข้างคนขับ โดยเล่าว่า บรรทุกของมาเต็มตู้คอนเทนเนอร์ ช่วงลงเขาเกิดเบรกไม่อยู่ เนื่องจากลมหมด จึงทำให้พุ่งชนท้ายรถพ่วงบรรทุกไม้อีกคันที่อยู่ด้านหน้า จนกระเด็นไปคนละทิศละทาง ไม้กระจายเกลื่อนถนน ด้วยความแรงยังวิ่งไปเฉี่ยวชนกับรถที่วิ่งอยู่ด้านหน้าเสียหายอีก 8 คัน เป็นรถกระบะ 5 คัน, รถเก๋ง […]

มส.มีมติสั่งปลด-ถอดสมณศักดิ์ พระอาบัติปาราชิก เรียกพระ 5 รูปแจงด่วน

กรุงเทพฯ 13 ก.ค.-มหาเถรสมาคม ประชุมนัดพิเศษ มีมติสั่งปลด-ถอดสมณศักดิ์ พระอาบัติปาราชิก เผยสึกแล้ว 6 คน ยังติดต่อไม่ได้ 2 คน เตรียมแก้กฎมหาเถรสมาคม อ้างสุดล้าหลังกว่า 50 ปี ขณะที่พระเทพพัชราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดชูจิตฯ ชิงลาออกแล้ว นายอินทพร จั่นเอี่ยม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) แถลงข่าวภายหลังการประชุมมหาเถรสมาคมนัดพิเศษ ครั้งที่ 1/2568 ว่า สมเด็จพระสังฆราชห่วงใยต่อกระแสข่าวที่เกิดขึ้น จึงมีพระบัญชาให้มหาเถรสมาคม นิมนต์กรรมการฯประชุมเร่งด่วน ซึ่งทางกรรมการฯ มีข้อห่วงใย และมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยมีมติ ดังนี้ -พระที่ถูกกล่าวหา ต้องอาบัติปราชิก ถือว่าสิ้นสุดความเป็นพระภิกษุทางวินัย และต้องสึกโดยทันที ส่วนพระที่ยังไม่ถึงขั้นปราชิก ก็ให้ปลดออกจากตำแหน่งเจ้าคณะพระสังฆาธิการทุกรูป และจะมีมติขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถอดสมณศักดิ์-ในระยะเร่งด่วน ให้เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ทุกระดับ ตรวจสอบดูแลและกำกับพฤติกรรมองพระในปกครองอย่างใกล้ชิด หากพบพฤติกรรมละเมิดพระธรรมวินัยให้ดำเนินการสอบสวน และรายงานมหาเถรสมาคมโดยเร็ว-กรณีพระภิกษุถูกกล่าวหาผิดพระธรรมวินัย ประเภทครุกาบัติ ให้ออกคำสั่พักการปฏิบัติหน้าที่ และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฏหมาย พร้อมขอให้ระมัดระวังการให้ข้อมูลต่อสื่อมวลชนและสาธารณชน เนื่องจากยังเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหา-และทบทวนปรับปรุงกฎระเบียบคณะสงฆ์ว่าด้วยการประทำผิดพระธรรมวินัย ประเภทครุกาบัติ โดยมหาเถรสมาคม เห็นควรขอประทานพระวินิจฉัยสมเด็จพระสังฆราช มีพระบัญชาโปรดให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อคุ้มครองพระพุทธศาสนาคณะหนึ่ง […]

ส่งตัวดำเนินคดี นักท่องเที่ยวไทยทำร้ายทหารกัมพูชา

สุรินทร์ 13 ก.ค.-ทบ. เผยนักท่องเที่ยวไทยต่อยทหารกัมพูชา ที่ปราสาทตาเมือนธม เป็นอดีตทหารพราน ส่งตัวให้ตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 13 ก.ค.68 พล.ต.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบกกล่าวถึงกรณีที่งนักท่องเที่ยวชาวไทย ทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ทหารกัมพูชาชุดประสานงาน ที่บริเวณปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์ ว่า กองทัพบกได้รับรายงานจากกองกำลังสุรนารี ว่า เมื่อเวลาประมาณ 10.20 น. ได้เกิดเหตุการณ์นักท่องเที่ยวชาวไทยทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ทหารกัมพูชาชุดประสานงาน ณ บริเวณปราสาทตาเมือนธม โดยผู้ก่อเหตุได้ชกเจ้าหน้าที่กัมพูชา ทั้งทางด้านหลังและด้านหน้า ก่อนจะหลบหนีออกจากพื้นที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยสามารถติดตามและควบคุมตัวได้ในเวลาต่อมา จากการตรวจสอบเบื้องต้น ทราบว่าผู้ก่อเหตุคือ นายสมหมาย ศรีศุกรานันทน์ อดีตอาสาสมัครทหารพราน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานชมรมทหารพรานจิตอาสาค่ายปักธงชัย และประธานเครือข่ายทหารผ่านศึกจังหวัดสมุทรสาคร ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณพื้นที่เกิดเหตุเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทางเจ้าหน้าที่ทหารฝ่ายไทย ได้ทำความเข้าใจกับผู้เสียหายไปแล้วในเบื้องต้น เพื่อพยายามไม่ให้กระทบความสัมพันธ์ในระดับเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่าย สำหรับผู้ก่อเหตุ ได้ให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป.-313.-สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

ทบ. เร่งตรวจสอบวิเคราะห์ “ทุ่นระเบิด” คาดผลชัด 2-3 วัน

17 ก.ค.- โฆษก ทบ. แจงเร่งตรวจสอบเหตุกำลังพลเหยียบกับระเบิดชายแดนช่องบก คาดใช้เวลา 2-3 วัน ชัดเจนเรื่องชนิดและห้วงเวลาที่มีการนำทุ่นระเบิดมาติดตั้ง ยังไม่ยืนยันว่าเป็นทุ่นระเบิดใหม่ พลตรี วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก เปิดเผยภายหลังได้รับทราบรายงานจากกองทัพภาคที่ 2 กรณีเมื่อช่วงบ่ายวานนี้ (16 ก.ค.68) เกิดเหตุกำลังพลกองร้อยทหารราบที่ 6021 เหยียบกับระเบิดระหว่างการลาดตระเวนในพื้นที่ช่องบก จ.อุบลราชธานี ทำให้กำลังพลได้รับบาดเจ็บ 3 นาย ปัจจุบันทุกนายอาการปลอดภัยอยู่ในระหว่างการพักสังเกตอาการที่โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี อย่างใกล้ชิด สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับทุ่นระเบิดดังกล่าวนั้น ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการเข้าพื้นที่เกิดเหตุและเก็บหลักฐาน มาดำเนินการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดอย่างละเอียด ซึ่งขั้นตอนนี้ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 วัน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ในเรื่องของชนิดและห้วงเวลาที่มีการนำทุ่นระเบิดมาติดตั้ง ตามที่สังคมได้ให้ข้อสังเกตว่าอาจเป็นทุ่นระเบิดที่ถูกวางขึ้นใหม่ ไม่ใช่ทุ่นระเบิดที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่การสู้รบเดิม ทั้งนี้ โฆษกกองทัพบก ยังได้กล่าวว่า หลังจากนี้หน่วยในพื้นที่ชายแดน จะได้มีการตรวจสอบพิสูจน์ทราบเพิ่มเติมว่า ทางกัมพูชาได้มีการนำทุ่นระเบิดมาใช้ในพื้นที่หรือไม่ เพราะในปัจจุบันทั้งไทยและกัมพูชา ได้ให้สัตยาบันในการเข้าร่วมเป็นประเทศภาคีในอนุสัญญาออตตาวา ว่าด้วยการห้ามใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2542.-สำนักข่าวไทย

มทภ.2 สั่งดูแลสิทธิสวัสดิการ-ปูนบำเหน็จ ทหารเหยียบกับระเบิด

17 ก.ค.- แม่ทัพภาค 2 สั่งดูแลสิทธิสวัสดิการ-ปูนบำเหน็จ ทหารเหยียบกับระเบิดขาขาด เลื่อนยศ “สิบเอก” รับบำนาญเกือบ 30,000 บาท/เดือน เงินช่วยเหลือกว่า 1 ล้านบาท บรรจุทายาทรับราชการ เมื่อวันที่ 17 ก.ค.68 รายงานข่าวจากกองทัพภาคที่ 2 เปิดเผยว่า พล.ท.บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 ได้สั่งการให้ฝ่ายกำลังพลกองทัพภาคที่ 2 ได้ตรวจสอบสิทธิของข้าราชการทหารในการปฏิบัติราชการสนาม และให้ดำเนินการปูนบำเหน็จแก่พลทหารธนพัฒน์ หุยวัน สูงสุด เพราะ เป็นการปฏิบัติภารกิจเพื่อปกป้องอธิปไตยในการ ออกลาดตระเวนและเหยียบกับระเบิดที่เนิน 481 วานนี้ โดย ได้รับการปูนบำเหน็จ เลื่อนชั้นเป็นสิบเอก (ส.อ.) หลังจากรักษาตัวแล้วเสร็จ ปลดเหตุสูญเสียฯจากการรบ ได้รับบำนาญเดือนละ 15,600 บาท ซึ่งเมื่อรวม เงินรายเดือน จากหน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ แล้ว คาดว่าจะได้รับเงิน รวม 29,800 บาท/เดือน (โดยประมาณ) […]

“พิเชษฐ์” ชิงปิดประชุมสภาฯ หลังถกวุ่นเสนอนับองค์ประชุม

รัฐสภา 17 ก.ค.- “พิเชษฐ์” ทำแฮตทริก ชิงปิดประชุมสภาฯ หลัง “สส.ปชน.” เสนอนับองค์ประชุม ขณะที่ สส.เพื่อไทย ขอให้นับแบบขานชื่อ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม ขณะรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 66 และรายงานการประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินประจำปีงบประมาณ 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีผู้อภิปรายไปเพียงคนเดียวคือนายเอกราช อุดมอำนวย สส.กทม. พรรคประชาชน ทำให้นายเฉลิมพงศ์ แสงดี สส.ภูเก็ต พรรคประชาชน ลุกขึ้นอภิปรายว่า เห็นสมาชิกในห้องประชุมบางตาอยากจะเช็คความตั้งใจการทำงานของสส.ฝ่ายรัฐบาล จึงขอนับองค์ประชุม และมีผู้รับรองถูกต้องจากนั้นนายพิเชษฐ์ กดออดเรียกสมาชิกพร้อมกล่าวว่า “ไม่อยากอภิปรายแล้วหรือ” พร้อมทั้งขอให้วิปรัฐบาลแจ้งสส.ที่อยู่ในห้องประชุมอื่นเพื่อรีบเข้าห้องประชุมใหญ่ ขณะที่นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า การขอนับองค์ประชุมและมีผู้รับรอง ถือเป็นสิ่งสวยงาม แต่หากมีคนเสนอให้นับองค์ประชุมด้วยการขานชื่อ คงใช้เวลาถึงค่ำ ดังนั้น ขอร้องเพื่อนสมาชิก เดือนนี้ขออย่านับองค์ประชุมเลย แล้วไปนับองค์ประชุมเดือนหน้า […]

จนท. เข้าพบพระพรหมบัณฑิต ขอตรวจสอบบัญชีเงินวัดประยูรฯ

กทม. 17 ก.ค. – ตำรวจ ปปป. ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่สำนักพุทธฯ บุกวัดประยุรวงศาวาส เข้าตรวจสอบบัญชีเงินวัด เบื้องต้น  ยืนยันไม่ใช่การบุกค้นกุฏิ พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาส พ.ต.ท.สิริพงษ์ ศรีตุลา รักษาราชการแทนรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.), พ.ต.อ.สถาปนา จุณณวัตต์ ผู้กำกับการกองกำกับการ 6 กองบังคับการปราบปราม พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธแห่งชาติแห่งชาติ เดินทางเข้าพบพระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เพื่อพูดคุยและขอข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารการเงินภายในวัด หลังอดีตเจ้าคุณประสิทธิ์ อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาส เข้าไปพัวพันกับสีกากอล์ฟ และตรวจสอบข้อเท็จจริงจากคำให้การของพยาน ที่พบเงินถูกพับในลักษณะถูกนำออกมาจากตู้บริจาคในบ้านของสีกากอล์ฟ ซึ่งการตรวจสอบในวันนี้จะเน้นเรื่องเส้นทางการเงินของวัดทั้งหมด ที่ต้องสงสัยว่าอาจมีบางส่วนถูกยักยอก หลังการตรวจสอบ ผู้กำกับการ 6 บก.ปปป. กล่าวว่า ไม่สามารถที่จะเปิดเผยข้อมูลได้ ผู้บังคับบัญชาจะเป็นผู้ชี้แจง หลังจากนี้จะนำข้อมูลต่างๆ กลับไปเรียนให้ผู้บังคับบัญชาได้ทราบ แต่ยืนยันว่า วันนี้เป็นเพียงแค่การเข้ามาขอข้อมูลเท่านั้น ด้านเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติระบุว่า เป็นเพียงการบูรณาการของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง และในการตรวจสอบเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับ พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารแต่อย่างใด มีรายงานเพิ่มเติมว่าเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 หน่วยงาน ได้นำกำลังส่วนหนึ่งเข้าไปตรวจสอบที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย หรือ […]