ความจำเป็นต้องมี กม.คุ้มครองสื่อหรือไม่

รัฐสภา 5 เม.ย.- วงเสวนา ความจำเป็นต้องมี กม.คุ้มครองสื่อหรือไม่ ยอมรับกำหนดนิยาม “สื่อ” ยาก แต่หากชัดเจนจะมีผลต่อการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญในอนาคต


คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา จัดเสวนาเรื่อง ” จำเป็นหรือไม่? ที่จะต้องมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ตามมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญ 2560 “ โดยเชิญบุคคลในแวดวงสื่อฯ ร่วมแสดงความเห็น

นายนิพนธ์ นาคสมภพ ประธานคณะอนุกรรมาธิการสิทธิเสรีภาพ ด้านสื่อสารมวลชนและสื่อสาธารณะ เป็นประธานเปิดการเสวนา ว่า  การเสวนาครั้งนี้ เป็นการทำความเข้าใจระหว่างเรื่องสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน  เพราะเรื่องเหล่านี้ มีเส้นบางๆ ระหว่างเสรีภาพของสื่อมวลชนกับบุคคล ซึ่งต้องหาคำนิยามที่ชัดเจน


นายจิระ ห้องสำเริง อดีตบรรณาธิการบริหารสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ที่มองว่า ขณะนี้สังคมเปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีในรูปแบบออนไลน์เข้ามามีบทบาท

และถูกใช้เป็นเครื่องมือมากขึ้น ทำให้ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย  ดังนั้นการกำหนดความเป็นสื่อ โดยใช้บรรทัดฐานจากสื่อเก่าจึงเป็นเรื่องยาก ที่ทุกคนต้องมานั่งถกเถียงกันต่อ

นางชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การกำหนดนิยาม สื่อ มีเป้าหมายเพื่อบังคับใช้กฎหมาย และกำกับดูแลให้เกิดความชัดเจน เช่น การพิจารณาจากการประกอบอาชีพสื่อ มีทักษะในอาชีพ มีเป้าหมายการดำรงอยู่ เพื่อให้สื่อสารไปถึงประชาชนได้ตามวัตถุประสงค์


นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ มองว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับสื่อมวลชน เพราะเป็นประเทศเดียวในอาเซียน ที่ระบุการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพผู้ประกอบวิชาชีพ ไว้ในกฎหมายสูงสุดของประเทศ คือรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน

นางสาวฐปณีย์ เอียดศรีไชย สื่อมวลชน มองเหตุผลที่จำเป็นต้องมีการนิยามคำว่า สื่อมวลชนว่า เกิดจากปัญหาสังคม ที่สื่อถูกละเมิด หรือถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง  พร้อมตั้งคำถามว่า หากสังคมมีเสรีภาพ เราจำเป็นต้องตั้งคำถามเรื่องนี้กันหรือไม่  ย้ำว่า รัฐธรรมนูญเป็นคำใหญ่ที่ให้ความคุ้มครองอยู่แล้ว  และแม้จำเป็นจะต้องถกเถียงเพื่อหาคำตอบ แต่ส่วนตัวเชื่อว่า จริยธรรม คือกรอบ แต่สิ่งสำคัญมากที่สุด คือ จิตสำนึกในการทำหน้าที่มากกว่า

ด้านนายยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า สื่อมวลชน กับ วิชาชีพสื่อมวลชน ไม่เหมือนกัน เพราะสื่อมวลชนเป็นหนึ่งในอาชีพที่ถูกกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ทั้งในปัจจุบัน ยังมีเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จึงต้องตีความระหว่างสื่อดั้งเดิมกับสื่อใหม่ ที่แม้จะมีเส้นบางๆ ไม่ชัดเจน แต่หากจำแนกได้ จะทำให้เห็นภาพความชัดเจนเรื่องการคุ้มครองในอนาคต.-312.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ “ธัญพร มุ่งเจริญพร” เข้าป้าย

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ ลุ้นกันจนนาทีสุดท้าย “ธัญพร มุ่งเจริญพร” พลิกชนะ “พรชัย มุ่งเจริญพร” แชมป์เก่าแบบขาดลอย คว้าเก้าอี้มาครอง นั่งนายก อบจ.หญิงคนแรกของจังหวัด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าคึกคัก

ภาพรวมการใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าค่อนข้างคึกคัก มีประชาชนทยอยใช้สิทธิต่อเนื่อง ยังไม่มีรายงานการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ปชช.ตื่นตัวใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ท่ามกลางสายฝน

ชาวนครศรีธรรมราช ตื่นตัวออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. ท่ามกลางสายฝน กกต.เผยภาพรวมครึ่งวันเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่มีรายงานการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง