แนะรัฐบาลถามกฤษฎีกา 2 ช่วง

รัฐสภา 6 ธ.ค.-“วิษณุ” ชี้ช่องรัฐบาลส่งคำถามกฤษฎีกาเรื่อง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ช่วง แนะจะถามอะไรให้ถามให้กว้างเอาไว้ก่อน เชื่อใช้เวลาไม่นาน ทัน พ.ค.67


นายวิษณุ เครืองาม คณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลเตรียมสอบถามกฤษฎีกาเรื่องการออกร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ว่า เป็นเรื่องที่ตอนนี้ยังตอบไม่ถูกและไม่มีใครตอบถูก เพราะรัฐบาลยังไม่ได้สอบถามมา จึงไม่ทราบว่าจะถามว่าอย่างไร และหากส่งมาแล้วมี 2 ทางเลือก คือ นำเข้าคณะทำงานที่ชำนาญด้านนี้ ที่มีนายพนัส สิมะเสถียร เป็นประธาน เพราะเป็นคนร่างกฎหมายวินัยการเงินการคลัง ซึ่งอาจจะทำหน้าที่ตรงนี้ได้ดีกว่า และตนไม่ได้อยู่คณะนี้ หรืออาจจะนำเข้าคณะพิเศษ ดึงคนที่มีความชำนาญด้านต่าง ๆ ซึ่งมองแล้วไม่ใช่มิติด้านกฎหมายการเงินการคลังเพียงอย่างเดียว แต่มีกฎหมายเรื่องเงินคงคลัง กฎหมายวิธีการงบประมาณ และกฎหมายเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญ ที่ต้องอาศัยความสามารถของกรรมการหลายคณะ

“ทางออกที่ดีควรส่งคำถามเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกควรถามว่า รัฐบาลประสบปัญหาวิกฤติ ประเทศชาติมีวิกฤติ และรัฐบาลคิดว่าจะทำอย่างนี้ถูกกฎหมายหรือไม่ ถ้าไม่ถูกขอให้ช่วยแนะนำว่าควรทำอย่างไรจึงจะทำได้ เพื่อช่วยแก้วิกฤติ ซึ่งหากกฤษฎีกาตอบมาว่าออกร่างกฎหมายกู้เงินได้ ก็ค่อยส่งร่างกฎหมายไปรอบที่ 2 ไม่ใช่อยู่ดี ๆ ส่งร่างกฎหมายกู้เงินไปเลย เพราะถ้าทำเช่นนี้จะตรวจสอบได้เฉพาะว่า ร่างกฎหมายนี้ถูกต้องตามกฎหมายวินัยการเงินการคลังหรือไม่ ถ้อยคำถูกต้องหรือไม่ ซึ่งจะไม่ได้คำตอบที่ต้องการ แล้ววันหนึ่งจะมีคดีไปถึงศาลอีกอยู่ดี ดังนั้น จึงควรถาม 2 รอบ หากถามเร็วก็ตอบเร็ว เชื่อว่าทันเดือนพฤษภาคม 2567 แน่นอน” นายวิษณุ กล่าว


ส่วนเงื่อนเวลาการพิจารณา นายวิษณุ กล่าวว่า หากส่งคำถามแรกไป ขั้นตอนการตอบอาจจะช้ากว่าคำถามที่ 2 ซึ่งหากเร่งพิจารณาทุกวันน่าจะเสร็จเร็ว ส่วนคำถามที่ 2 สามารถตอบได้เร็วมาก เพราะตอบคำถามแรกไปแล้ว เช่น ถ้ากฤษฎีกาตอบว่าออกเป็นร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน ก็แสดงว่าออกได้ เมื่อส่งร่าง พ.ร.บ.ไปก็เพียงแต่ตรวจถ้อยคำ ส่วนเรื่องที่ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถือว่าผ่านขั้นตอนการพิจารณามาในคำถามแรกไปแล้ว ทั้งนี้ กฤษฎีกาชินกับการตอบคำถามเหมือนศาลที่ถามแค่ไหนก็ตอบแค่นั้น หลายเรื่องที่ถามกฤษฎีกาไปว่าทำได้หรือไม่ กฤษฎีกาก็ตอบแค่ว่าได้หรือไม่ได้ แต่ไม่เคยตอบว่าถ้าไม่ได้จะต้องทำอย่างไร จะไม่ชี้ช่องให้ ดังนั้น การจะถามคำถามไปยังกฤษฎีกา ควรถามให้กว้าง

“ถ้าส่งร่างพระราชบัญญัติไปรอบเดียว เขาจะตีความในมิติที่แคบ ถามช้างก็ตอบช้าง ไม่ได้ตอบม้า แต่ถ้าถามไปว่าจะช้างหรือม้าหรือวัวหรือควายดี เขาก็จะได้ตอบให้ ส่วนถ้าส่งร่างพระราชบัญญัติไปถามเลย จะทำให้มีคดีความตามมาหรือไม่ ไม่ทราบ เพราะที่ขู่ไม่ได้หมายความว่าจะถูกต้องเสมอไป ขณะนี้ต่างคนต่างไม่รู้ทั้งนั้นว่าตอนนี้รัฐบาลจะสอบถามกฤษฎีกาว่าอย่างไร” นายวิษณุ กล่าว

สำหรับกรณีที่สอบถามว่า ประเทศวิกฤติจะออกเป็นพระราชกำหนดเท่านั้นหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า อันดับแรกคนที่จะตัดสินว่าประเทศวิกฤติหรือไม่คือรัฐบาล และการจะออกเป็นพระราชกำหนด แบ่งได้เป็น 2 วรรค คือ วรรคแรก กรณีที่วิกฤติฉุกเฉิน จำเป็นเร่งด่วน ให้ออกเป็นพระราชกำหนดได้ และอีกวรรคหนึ่ง เป็นการแก้ปัญหาฉุกเฉิน จำเป็นเร่งด่วน ต้องเป็นไปเพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือความมั่นคงทางการเมือง ซึ่งในประเด็นแรก เรื่องวิกฤติหรือไม่ ฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วนหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัย แต่เรื่องนี้จำเป็นต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางการเมืองหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ได้


“ดังนั้น หากเกิดวิกฤติไม่ถึงขนาดไฟลนก้น เพียงแต่เหมือนวิกฤติมาแล้วหลายเดือน และมีแนวโน้มว่าจะวิกฤติต่อ ก็ออกเป็นพระราชบัญญัติได้ แต่ปัญหามีอยู่ว่า การออกพระราชบัญญัติกู้เงินมาช่วยประชาชนวิกฤติหรือไม่เป็นเรื่องหนึ่ง และเข้าใจว่า ในมาตรา 9 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ บัญญัติไว้ว่า รัฐจะไปจ่ายเงินเพื่อประชานิยมไม่ได้ ตรงนี้เป็นเรื่องที่จะต้องตอบ และจะไปสัมพันธ์กับเรื่องที่ไม่ตรงปก ตอนที่หาเสียง พูดเอาไว้อย่างไร เกี่ยวโยงกับกฎหมายเลือกตั้งด้วย” นายวิษณุ กล่าว

เมื่อถามย้ำว่า การออกเป็น พ.ร.บ.เงินกู้ จะต้องระมัดระวังอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า รัฐบาลรู้อยู่แล้ว ไม่ต้องบอกผ่านสื่อ เพราะไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น แต่ขอย้ำว่า ถ้าถามกฤษฎีกาไป 2 ท่อน 2 ตอน อย่างที่เสนอ ก็คงไม่ต้องมาถามคำถามนี้ โดยเฉพาะต้องขมวดคำถามว่า ทั้งหมดถ้าทำไม่ได้ต้องทำอย่างไร เช่น ถ้าบอกว่าให้ใช้งบประมาณ ก็ต้องใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน การออกเป็น พ.ร.บ.กู้เงิน ก็ถือว่าเสี่ยง ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่า การออก พ.ร.บ.เงินกู้ เป็นทางลงของรัฐบาล นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ เพราะยังไม่เห็นทางขึ้น จึงไม่ทราบว่าทางลงเป็นอย่างไร.-312.-สำนักข่าว

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบนายกฯ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบ “แพทองธาร” นายกฯ ชื่นชมเป็นคนเก่ง-มองโลกบวก เป็นหน้าตาของประเทศ นำเสนอวัฒนธรรม-ซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการประกวด พร้อมชวนร่วมงานรัฐบาล สร้างแรงบันดาลใจเด็กๆ ขณะที่ นายกฯ เขินถูกชมว่าตัวจริงสวย

ล้มล้างการปกครอง

ศาล รธน.มีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้อง “ทักษิณ-พท.” ล้มล้างการปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ล้มล้างการปกครอง

คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญถกคำร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างฯ

จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ “รับ/ไม่รับ” คำร้องปม “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่