นายกฯ ลงพื้นที่ รับฟังปัญหาน้ำประปาพิษณุโลก

พิษณุโลก 14 ต.ค. – นายกฯ ลงพื้นที่ จ.พิษณุโลก ตรวจเยี่ยมโรงผลิตน้ำประปาเทศบาลนครพิษณุโลก รับฟังปัญหาน้ำประปา ยืนยันรัฐบาลให้ความสำคัญกับสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน


นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตรวจเยี่ยมโรงผลิตน้ำประปา เทศบาลนครพิษณุโลก ตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เพื่อพูดคุยปัญหาน้ำประปา โดยมีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมการตรวจเยี่ยม

นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่านายกรัฐมนตรีรับฟังรายงานสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขระบบผลิต ระบบจ่ายน้ำประปาจากผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก นายกเทศมนตรี กรมชลประทาน และประชาชน สำหรับจังหวัดพิษณุโลกมีระบบท่อส่งน้ำมีอายุการใช้งานกว่า 70 ปี เกิดการแตกรั่วบ่อยครั้งเป็นเหตุให้สูญเสียน้ำอยู่ที่ 50% ทำให้น้ำประปามีปริมาณไม่เพียงพอ เกิดปัญหาน้ำไหลอ่อนและน้ำขุ่นแดง อีกทั้งมีถังสำรองน้ำในปริมาณจำกัด ทำให้ไม่สามารถให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนได้เต็มประสิทธิภาพ จังหวัดพิษณุโลกจึงต้องการที่จะปรับปรุงระบบเส้นท่อให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับเพิ่มถังสำรองน้ำและก่อสร้างเขื่อนท้ายเมืองเพื่อกักเก็บน้ำให้สามารถรองรับการใช้บริการของประชาชนได้เพียงพอตลอดเวลาและยังเป็นการเพิ่มระบบนิเวศให้กับจังหวัดพิษณุโลกอีกด้วย


นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าการบริหารจัดการน้ำมีหลายส่วน ทั้งภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภคน้ำ จังหวัดพิษณุโลกเป็นจังหวัดแรกที่รัฐบาลลงพื้นที่และประสบปัญหานี้ในเรื่องน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค โดยวันนี้รัฐบาลจะรับเรื่องเพื่อส่งต่อข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องแหล่งกักเก็บน้ำ ท่อน้ำประปาที่สร้างมาเป็นเวลานานจนประสบปัญหารั่ว ซึม และสูญเสียน้ำระหว่างทางของการส่ง ซึ่งเมืองพิษณุโลก 80 ปีที่ผ่านมาพัฒนาจากเมืองรองจนเป็นเมืองหลักแห่งการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นเรื่องของการอุปโภคบริโภคน้ำเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ การพัฒนาของเมืองก็จะไม่สามารถเดินหน้าได้เต็มประสิทธิภาพ โดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและจะทำการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจปัญหาและหาทางแก้ไขในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว นอกจากนั้นเรื่องของการสร้างเขื่อนท้ายเมือง ขอให้มีการสอบถามประชาชนในพื้นที่ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน และศึกษาข้อดี ข้อเสียของเขื่อน หากศึกษาแล้วเห็นว่าดี รัฐบาลพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยนายกรัฐมนตรีฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตาม และเสนอโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนโดยเร็ว

“นายกฯ เพิ่งทราบปัญหานี้ ตอนที่เคยมาช่วงเลือกตั้ง ถ้าทราบจะเตรียมทางแก้ปัญหาไว้ แต่ถึงอย่างไรช้าดีกว่าไม่ทำ และต้องขอโทษด้วย อย่างไรก็ตาม สส.ในพื้นที่ก็ให้ความเป็นห่วงประชาชน จ.พิษณุโลกเป็นจังหวัดใหญ่ เมื่อมีปัญหาก็ต้องขอโทษ ในนามรัฐบาลจะนำมาพัฒนาและทำให้ดีในระยะสั้นก่อน และจะแก้ไขระยะยาวกันต่อไป ไม่เช่นนั้นเมืองรองที่มีคุณค่าอย่าง จ.พิษณุโลก จะไม่มีโอกาสเติบโตตามแผนงานพัฒนาเศรษฐกิจของชาติได้” นายกรัฐมนตรีกล่าว

ด้านนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ที่นายกฯ บอกว่าไม่ทราบมาก่อน ถือเป็นความผิดของตน ผู้สมัคร สส.ในพื้นที่ได้บอกตนมาตลอด แต่เมื่อไม่ได้เป็นผู้แทนฯ เลยไม่ได้นำเรียนต่อวันนี้จึงต้องขอโทษ ขณะที่ นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า เจตนาของเทศบาลนครพิษณุโลก ต้องการจำหน่ายน้ำประปาเอง หรือโอนมอบไปให้การประปาส่วนภูมิภาค โดยตนมองว่าเมื่อจะทำแล้ว อยากให้ สส.ในพื้นที่ทำประชาคมดูว่า จะให้ไปอยู่กับการประปาส่วนภูมิภาคหรือจะทำเอง แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไร อยากให้ สส.ประสานกับทางเทศบาล ทำให้เป็นประปาดื่มได้ด้วย


จากนั้น นายกรัฐมนตรีเดินทางไปตรวจเยี่ยมและติดตามสถานการณ์น้ำ ณ บึงเครง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อพูดคุยประเด็นปัญหา ข้อจำกัด และวิธีการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ

ก่อนหน้านี้ เมื่อวลา 10.10 น. ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก นายกรัฐมนตรีและคณะ ได้เข้าสักการะพระพุทธชินราช พร้อมกับกราบนมัสการพระสุธรรมมุนี ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พระราชรัตนสุธี เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก และพระมหาธนศักดิ์ จินฺตกวี รองเจ้าคณะอำเภอเมืองพิษณุโลก เลขานุการวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เปิดเนื้อหาหนังสือแจง UNSC กัมพูชาวางทุ่นระเบิด-เริ่มยิงก่อน

25 ก.ค.- เปิดเนื้อหาหนังสือจากผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติที่นิวยอร์ก เพื่อชี้แจงต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ส่งหนังสือชี้แจงต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ระบุว่า ขอแจ้งให้ท่านและสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทุกท่านทราบ ถึงสถานการณ์อันร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่ออธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย อันเป็นผลจากการรุกรานทางทหารของประเทศกัมพูชา โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.     เมื่อวันที่ 16 และ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2025 ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารไทยกำลังลาดตระเวนตามเส้นทางปกติที่กำหนดไว้ ซึ่งอยู่ภายในอาณาเขตของประเทศไทย ทหารได้เหยียบทุ่นระเบิดชนิด PMN-2 ส่งผลให้ทหาร 2 นาย ได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสส่งผลถึงขั้นพิการถาวร ขณะที่ทหารนายอื่น ๆ ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทุ่นระเบิด PMN-2 ทั้งหมดที่พบอยู่ในสภาพใหม่ ยังมีเครื่องหมายที่มองเห็นได้ชัดเจน หลักฐานบ่งชี้ว่าทุ่นระเบิดเหล่านี้เพิ่งถูกวางใหม่ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ไทยได้ยื่นรายงานประจำปีเกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินการตามพันธกรณีในอนุสัญญาดังกล่าว ตามมาตรา 7 ของอนุสัญญาฯ อย่างต่อเนื่อง รายงานดังกล่าวระบุว่าประเทศไทยได้ทำลายทุ่นระเบิดในคลังทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 และต่อมา ได้ทำลายทุ่นระเบิดทั้งหมดที่เก็บไว้เพื่อการฝึกอบรมและการวิจัยในปี ค.ศ. […]

“ภูมิธรรม” เชื่อประชาชนคิดเหมือน “ทักษิณ” ขอให้กองทัพลบเหลี่ยม “ฮุนเซน”

ก.มหาดไทย 25 ก.ค.-“ภูมิธรรม” เชื่อประชาชนคิดเหมือน “ทักษิณ” ขอให้กองทัพลบเหลี่ยม “ฮุนเซน” ชี้รับฟังทุกความไม่พอใจ แต่ทุกอย่างเป็นไปตามยุทธวิธี ให้ทหารมีอิสระในการทำงาน มอง “ก่อแก้ว” ขอศาล รธน. คืนอำนาจให้ “แพทองธาร” เป็นความเห็นเหมือนประชาชนจำนวนมาก แต่ให้เป็นตามกระบวนการยุติธรรม นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ ระบุถึง อยากให้กองทัพสั่งสอนความเจ้าเล่ห์ของฮุนเซนก่อน ว่า ก็เหมือนประชาชนทั่วไป ที่เวลานี้มีความรู้สึกเช่นนั้น หลายคนแสดงความเห็นให้ทำแบบนู้นแบบนี้ เราก็รับฟังความห่วงใยความไม่พอใจที่เราถูกกระทำ ตนเข้าใจความรู้สึกเหล่านั้น และเห็นว่าเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกัน เพราะเรื่องอธิปไตยของประเทศ การรุกล้ำเข้ามา กระทบประชาชนเรายอมไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาทุกฝ่ายจะเห็นว่าเราประนีประนอม (Compromise) ให้มากที่สุด แต่เมื่อสิ่งดังกล่าวไม่เกิดขึ้น และเป็นปัญหา วันนี้จึงได้สั่งการให้ทหารมีอิสระในพื้นที่ โดยผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นผู้คุมยุทธการ ปฏิบัติได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงได้มีการทำความเข้าใจกับ พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีการโทรคุยกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด […]

เข้าสู่วันที่ 2 กัมพูชาเปิดฉากตั้งแต่เช้ามืด ที่ปราสาทตาเมือนธม

สุรินทร์ 25 ก.ค.-เข้าสู่วันที่ 2 เหตุปะทะไทย-กัมพูชา เริ่มเปิดฉากยิงกันตั้งแต่เช้ามืด บริเวณปราสาทตาเมือนธม และปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ขณะนี้เสียงยังดังต่อเนื่อง ก่อนขยายการสู้รบไปตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านอีสานใต้ อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นพื้นที่แรกที่ฝ่ายกัมพูชาเปิดฉากยิงก่อนด้านปราสาทตาเมือนครับ เช้ามืดวันนี้ ราวตี 5 ครึ่ง ก็เริ่มปะทะกันอีก ขณะนี้ก็มีเสียงดังอย่างต่อเนื่อง เส้นทางจากอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เข้าสู่อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แม้สายแล้ว ก็มีรถสัญจรไปมาค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยการสู้รบ โดยอำเภอพนมดงรักเป็นหนึ่งใน 4 อำเภอ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประกาศให้ผู้ที่ไม่มีความจำเป็นเข้าพื้นที่ร่วมกับอำเภอกาบเชิง บัวเชดและสังขะ โดยตลอดช่วงเช้าที่ผ่านมา ในพื้นที่ตามแนวชายแดนได้ยินเสียงการปะทะด้วยกระสุนปืนใหญ่ดังอย่างต่อเนื่อง ผู้นำหมู่บ้านบันทึกสถิติเฉพาะฝั่งไทยตอบโต้เกินกว่า 100 ลูกแล้ว บ้านหนองแรด ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก ที่จรวดหลายลำกล้อง BM 21 ตกเยอะสุด 10 ลูก วานนี้โดยรอบหมู่บ้าน โชคดีไม่ลงบ้านเรือน มีกระจกแตกเล็กน้อยจากแรงอัดลูกจรวดเท่านั้น วันนี้ ยังมีชาวบ้านอยู่นับร้อยคนหลบอยู่ในหลุมหลบภัย จากทั้งหมด […]

เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวรองรับประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัยชายแดน

ศรีสะเกษ 24 ก.ค. – บรรยากาศคืนแรกที่ศูนย์อพยพฯ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ประชาชนต้องละทิ้งบ้านเรือนมาพักอาศัยชั่วคราว จากเหตุปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา นี่เป็นบรรยากาศค่ำคืนแรกที่ประชาชนในเขต อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ต้องออกมาพักอาศัยนอกบ้านเรือน ตั้งแต่เกิดเหตุกัมพูชายิงจรวดเข้าใส่เขตพักอาศัยของพลเรือน ซึ่งเป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ ทำให้ตลอดทั้งวัน อ.กันทรลักษ์ มีการอพยพประชาชนแล้วมากกว่า 41,000 คน กระจายไปตามจุดต่างๆ โดยจุดนี้เป็นจุดที่น่าจะมีผู้อพยพมากที่สุด เพราะใกล้แนวชายแดนที่อยู่ในระยะปลอดภัยมากที่สุด คือ ประมาณ 40 กิโลเมตร จากแนวชายแดน มีประชาชนเข้ามาพักอาศัย 4,865 คน และยังมีจุดอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกระจายกันไป ผลจากสถานการณ์ตึงเครียดและพลเรือนตกเป็นเป้าของการโจมตี ทำให้หลายคนอยู่ในอาการเครียดและกังวล เจ้าหน้าที่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้กำลังใจเป็นระยะ รวมทั้งให้บริการยาและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นเบื้องต้น พร้อมกันนี้ได้ย้ำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของนายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้ฝากแจ้งประชาชนที่ยังลังเลไม่ยอมอพยพออกจากพื้นที่ เนื่องจากเป็นห่วงทรัพย์สินหรือสัตว์เลี้ยง ว่า ขณะนี้มีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน ดูแลพื้นที่อย่างใกล้ชิดทุกหมู่บ้าน จึงขอให้ทุกคนให้ความร่วมมือ และออกมาจากพื้นที่เสี่ยงตามจุดนัดหมาย เพื่อความปลอดภัยของตนเองและครอบครัว. – สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

เชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอด “ภูมะเขือ” กองทัพยึดคืนพื้นที่เบ็ดเสร็จ

26 ก.ค.- ธงชาติไทยโบกสะบัด! ปักยอด “ภูมะเขือ” หลังทหารไทยเปิดปฏิบัติการเข้าตียึดพื้นที่คืนจากฝ่ายกัมพูชาสำเร็จช่วงเย็นวานนี้ กองทัพบกได้รับรายงานจากกองทัพภาคที่ 2 ว่า เมื่อเวลา 09.20 น. ได้มีการเชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดภูมะเขือ หลังจากที่ทหารไทยได้เปิดปฏิบัติการเข้าตียึดพื้นที่ภูมะเขือ ซึ่งเป็นบริเวณที่ฝ่ายทหารกัมพูชาได้วางกำลังไว้อย่างหนาแน่น และสามารถยึดพื้นที่ได้สำเร็จเมื่อช่วงเย็นของเมื่อวานนี้ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความพยายามจากฝ่ายกัมพูชาในการเข้าตีเพื่อแย่งยึดพื้นที่คืนอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการระดมยิงปืนใหญ่และเตรียมการจัดกำลังเข้าตีตอบโต้ฝ่ายไทย -สำนักข่าวไทย

นาวิกโยธินคุมพื้นที่ได้ทั้งหมด ตอบโต้ทหารกัมพูชาหนีกระเจิง

26 ก.ค.- เหตุปะทะชายแดนตราด ทหารนาวิกโยธิน ตอบโต้ทหารกัมพูชาหนีกระเจิง ถอยร่นออกจากพื้นที่อธิปไตยไทย ส่วนประชาชนอพยพไปที่ปลอดภัย เมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 26 ก.ค.69 รายงานข่าวจากหน่วยความมั่นคงจังหวัดตราด เปิดเผยว่าถึงสถานการณ์ บริเวณบ้านชำราก จ.ตราด ทหารกัมพูชา ได้วางกำลังรุกล้ำเขตแดนไทย 3 จุดเปิดฉากยิงทหารไทย เมื่อช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา โดยกำลังทหารนาวิกโยธิน ได้เปิดยุทธการ “ตราดพิฆาตไพรี1” จนสามารถควบคุมพื้นที่ได้ทั้งหมด ผลักดันกำลังทหารกัมพูชา ออกนอกพื้นที่ ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ส่วนประชาชนพื้นที่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ได้อพยพไปพื้นที่ปลอดภัย ในอำเภอเมืองตราด ประมาณ 75 เปอร์เซนต์เมื่อวันที่ 24-25 ก.ค.68 -สำนักข่าวไทย

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” ยังมีฝนตกหนักบางแห่ง

กทม. 26 ก.ค.- กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง เตือน 7 จังหวัดรับมือ อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง กรมอุตุนิยมวิทยาเผยประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก บึงกาฬ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง อนึ่ง พายุโซนร้อน “ก๋อมัย” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย.- สำนักข่าวไทย

9 ทันโลก : แจงด่วน! คณะมนตรีความมั่นคง ไทยนี้รักสงบ

25 ก.ค. – นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะร่วมประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ตามที่กัมพูชาร้องขอไว้ รายงาน 9 ทันโลก พาไปติดตามบทบาทและโอกาสของไทยบนเวทีสำคัญนี้ ไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาตินานเกือบ 80 ปี จะได้แสดงบทบาทอีกครั้งในคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการสื่อสารกับประชาคมโลก ถึงการกระทำของกัมพูชา ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศหลายด้าน รวมถึงกฎบัตรสหประชาชาติที่ไทยยึดมั่น ในห้องประชุมนี้ ไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาติ ลำดับที่ 55 จะทำหน้าที่อีกครั้งในภารกิจด้านสันติภาพ ตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2489 ที่นี่ไทยเคยทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคง โดยพลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา และหม่อมหลวง พีระพงศ์ เกษมศรี ทำหน้าที่สองวาระ ในปี 2528 และ 2529 ในเวลาที่สงครามเย็นคุกรุ่น มาในวันนี้ไทยกำลังจะมีโอกาสอันดีที่ได้ใช้ช่องทางการทูตสำคัญ เสาหลักความมั่นคงของสหประชาชาติ ในอีกบทบาทหนึ่งที่ยังคงอยู่บนพื้นฐานการแสวงหาสันติภาพตามกลไกนี้ เมื่อประเทศสมาชิก ในกรณีนี้คือกัมพูชา ร้องขอให้เปิดประชุมเร่งด่วน สมาชิกคณะมนตรีซึ่งมีสมาชิกถาวร 5 ประเทศ และสมาชิกไม่ถาวร 10 ประเทศ พิจารณากรณีที่เป็นภัยคุกคามใดต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เช่น กรณีการปะทะระหว่างไทยกับกัมพูชา […]