ก้าวไกล ชี้ยุติความขัดแย้งด้วย กม.นิรโทษกรรม

ม.ธรรมศาสตร์ 6 ต.ค.”พิธา-ชัยธวัช” ชี้ต้องถอดบทเรียน 6 ตุลา และความเห็นต่างการเมืองปัจจุบัน ยุติความขัดแย้งด้วย ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวระหว่างร่วมงานรำลึก 47 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 ประจำปี 2566 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ เป็นบทเรียนที่ ไม่ควรลืม โดยควรถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อสมัยที่ตนเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์  มีบางสิ่งบางอย่างต้องการให้เราลืม แต่ในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา มีความพยายามในการที่จะสะสางประวัติศาสตร์ เพื่อหาข้อเท็จจริง แม้จนถึงตอนนี้ยังไม่มีบทสรุปให้กับสังคม อย่างไรก็ตามนักศึกษาในรุ่นปัจจุบันเข้าถึงความจริงที่คนปกปิดมาโดยตลอด มากกว่ารุ่นของตน ทั้งนี้ พรรคก้าวไกลไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย จึงได้ยื่นเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกที่ไม่มีวันจบสิ้นอย่างในอดีต


ด้านนายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า ไม่ใช่แค่การรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ แต่ยังสะท้อนปัญหาสังคมไทยที่ยังเป็นปัญหาที่ตกค้างจนถึงปัจจุบัน เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพการแสดงออกทางการเมือง ซึ่งระบบกฎหมายและอำนาจรัฐต้องเคารพประชาชน ไม่ใช่อนุญาตให้อำนาจใดๆ มาพรากชีวิตไปจากประชาชนไปได้ โดยปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ขณะนี้ยังมีผู้ที่ถูกดำเนินคดีจากความเห็นต่างทางการเมือง  ดังนั้น พรรคก้าวไกลจึงมีความตั้งใจในการยื่นเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษ  นับตั้งแต่วันแรกที่กลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย เริ่มชุมนุมในวันที่ 11 ก.พ. 2549 จนถึงปัจจุบัน  เนื่องจากต่างฝ่ายต่างมีเจตนาดี มีความคิดสร้างสังคมที่ดีในมุมของตนเอง จึงทำให้ ประตูปานแรกที่จะตั้งต้นทางการเมืองกันใหม่ คือ การคืนความยุติธรรมด้วยการใช้กระบวนการประชาธิปไตย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิธาและนายชัยธวัช ได้มาร่วมงาน ที่กลุ่มเครือข่ายนักศึกษา 47 ปี 6 ตุลา จัดงานรำลึก 47 ปี 6 ตุลาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งแต่ช่วงเช้า(6 ต.ค.) โดยมีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ และวางดอกไม้รำลึกวีรชนเดือนตุลาฯ ณ สวนประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ โดยนักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านมาร่วมกิจกรรมอาทิ นายชูศักดิ์ ศิรินิล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล น.ต.ศิธา ทิวารี พรรคไทยสร้างไทย และนางวทันยา บุนนาค ประธานคณะทำงานนวัตกรรมการเมือง กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกับผู้แทนองค์กรต่างภาคประชาสังคม


หลังจากนั้น มีการกล่าวปาฐกถาพิเศษรำลึก 47 ปี 6 ตุลาฯ หัวข้อ “แด่ทุกต้นกล้าความฝัน: ตื่นจากฝันร้ายของอำนาจนิยมและทุนผูกขาดสู่รัฐสวัสดิการ” โดย รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี รวมถึงกิจกรรมฉายภาพยนตร์สารคดี 6 ตุลาฯ “ต่างความคิด ผิดถึงตาย” ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอเล็ก) และกิจกรรม การแสดงละคร “บ้านเมืองของเรายังคงลงเเดง” โดยกลุ่มกิจกรรมการละคอน มหาวิทยาธรรมศาสตร์ (TU Drama).-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง