นายกฯ พอใจภาพรวมประชุม UNGA

สหรัฐ 23 ก.ย.- นายกฯ พอใจภาพรวมประชุม UNGA เดินหน้าแก้ปัญหาภูมิอากาศ-สิทธิมนุษยชน รวมถึงยกระดับระบบสาธารณสุขไทย


นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนหลังเสร็จสิ้นภารกิจ การเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 78 ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นับว่าเป็นการเข้าร่วมประชุมเป็นครั้งแรก พร้อมกับมีภารกิจเป็นจำนวนมาก ว่า ไม่ใช่ตนคนเดียวที่มีภารกิจจำนวนมาก นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก็มีภารกิจเป็นจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งก็ได้มีโอกาสพูดคุยในหลายเวที อย่างเช่นเรื่องของภาวะโลกร้อน เรื่องสันติภาพ เรื่องอากาศบริสุทธิ์ เรื่องความมั่นคงทางอาหาร เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรืออารยะเกษตร รวมถึงมีโอกาสได้เข้าไปพบปะกับผู้นำประเทศหลายประเทศ เช่น นายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซีย ซึ่งในการพูดคุยกันในเรื่องของความมั่นคงด้านชายแดน รวมไปถึงการสนับสนุนให้มีการค้าระหว่างการที่สูงขึ้น

นอกจากนี้ยังมีสาระสำคัญที่พูดในถ้อยแถลง General debate ซึ่งถือเป็นไฮไลท์ของงาน โดยได้พูดถึงปัญหาของโลกที่เกิดขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ซึ่งหลายๆ ประเทศยังล้าหลัง เรื่องตัวเลขดัชนีชี้วัดต่างๆ ซึ่งต้องรวมพลังกันแก้ไขปัญหา และต้องทำให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งก็ได้พูดไปได้หลายเวทีแล้วว่า สหประชาชาติประชุมครั้งนี้มีเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ ที่ยังคงมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในหลายๆ เรื่อง แต่มีเรื่องเดียวที่เห็นตรงกัน คือ เรื่องความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะภาวะโลกเดือด ทำให้มีความไม่แน่นอนทางด้านสภาพอากาศ ที่เหมาะกับการทำเกษตรกรรม ซึ่งประเทศไทยก็เป็นผู้นำทางด้านเกษตรกรรม และมีความมั่นคงทางอาหารสูง แต่มีจำนวนที่ลดลง เพราะเกิดปัญหาภาวะน้ำท่วมและน้ำแล้ง ที่เกิดจากสภาพปัญหาที่ผันผวน อย่างเช่นปรากฏการณ์เอลนีโญ จึงต้องกลับมาดูเรื่องนี้ ว่าจะสามารถแก้ไขอย่างไรได้บ้าง


เรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และดำเนินไปถึงเรื่องของอารยะเกษตร ซื้อต้องใช้พื้นที่ให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเพาะปลูก ไม้ยืนต้นไม้ชั่วคราว การใช้หนองน้ำในที่เลี้ยงปลา หลายอย่างเชื่อว่า สามารถมาประยุกต์ใช้ได้

ส่วนเรื่องที่มีความเป็นห่วงของเรื่องสุขภาพ จาก สถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมไปถึงโรคอุบัติใหม่ เราต้องลุกขึ้นมาพูดคุยเรื่องนี้อย่างจริงจัง ในเรื่องของสิทธิเสรีภาพพื้นฐาน และทำให้มนุษยชนถูกจำกัด หรือได้รับการดูแลเยียวยาไม่ทั่วถึง แต่ประเทศไทยโชคดี ที่มีระบบสาธารณสุขที่แข็งแกร่ง แต่ปัจจุบันโลกมีการเคลื่อนไหวของประชากรเป็นจำนวนมาก ถึงแม้จะดูแลเป็นอย่างดี ก็ไม่เพียงพอ และถ้าประเทศอื่นไม่ดูแลเพียงพอ อย่างนั้นสหประชาชาติ ควรต้องรับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพ ในการที่จะทำให้ทุกประเทศมั่นใจว่า มีระบบดูแลสุขภาพที่ดี เหมือนกับประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยก็ต้องไม่หยุดยั้งในการยกระดับ ในนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ในการเข้าถึงระบบสาธารณสุข

ส่วนเรื่องที่สหประชาชาติมุ่งหวัง ในเป้าหมายพัฒนาสันติภาพที่ยั่งยืน ซึ่งตนคิดว่า เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และประเทศไทยมีความเชื่อถือความสงบ มีความเชื่อในความเจริญที่ยั่งยืน โดยไม่ไปก้าวก่ายกิจการภายในของแต่ละประเทศ แต่ว่า ปัจจุบันทราบดีว่ามีเรื่องระหอง ระแหง ระหว่างประเทศไทย หรือความขัดแย้งระหว่างประเทศ ที่มีอยู่หลายประเทศ ซึ่งประเทศไทย แม้เป็นประเทศเล็กๆ แต่ก็ภูมิใจในเอกราชที่มีมาโดยตลอด และสบายใจ ที่อยู่ในยุทธศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับของทุกประเทศ และเป็นหน้าที่ของผู้นำประเทศ และรัฐบาลดีที่จะต้องดำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกราช โดยที่ต้องไม่เข้าข้างใคร รวมทั้งความเชื่อที่สันติสุข และความเจริญที่ยั่งยืน


ขณะที่เรื่องของสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ HRC วาระปี ค.ศ. 2025-2027 นายเศรษฐา กล่าวว่า เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่ดูแลสิทธิมนุษยชนในประเทศเพียงอย่างเดียว เพราะประเทศไทยมีประเทศเพื่อนบ้านอยู่หลายประเทศ หรือว่าจะเป็นประเทศมาเลเซียลาว กัมพูชา และที่ละเอียดอ่อนที่สุดคือประเทศเมียนมา ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องดูแล ถ้าเกิดมีผู้อพยพเข้ามาในประเทศ หรือมีผู้ที่เดือนร้อนอยู่ตามแนวชายแดน ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะไทยมีชายแดนติดกับประเทศเมียนมา กว่า 1,000 กิโลเมตร จึงต้องช่วยกันดูแลกันต่อไป

ทั้งนี้นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงการเดินทางมาประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 78 ว่า ถึงว่าไปดูเรื่องที่ประสบความสำเร็จ และขอขอบคุณกระทรวงการต่างประเทศ, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ที่ช่วยดูแลเป็นหลัก นำนักธุรกิจที่เก่ง และสนใจที่จะลงทุนในประเทศไทยให้มาพบปะกับตนเอง รวมถึงทีมงาน ซึ่งถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี ไปจุดเริ่มต้นที่ดี โดย 4 วันที่ผ่านมา ก็ได้ทำหน้าที่ในก้าวแรก และได้ประกาศให้ชาวโลกรู้ว่า ประเทศไทยเปิดแล้ว และพร้อมที่จะมีการลงทุนข้ามชาติทั้ง 2 ทาง รวมถึงเอกชนไทยก็มีความแข็งแกร่งหลายราย ซึ่งก็มีความพร้อมที่จะลงทุนในต่างประเทศ โดยนำองค์ความรู้มาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งทุกประเทศก็ยินดีตอบรับ ที่ประเทศไทยมีรัฐบาลจากประชาธิปไตย

ทั้งนี้ ผู้นำจากหลายประเทศก็ให้การตอบรับเป็นอย่างดี เวลาและเข้าใจว่าถึงเวลาแล้ว ที่ประเทศไทยต้องมีผู้นำ และต้องออกมาค้าขายกันอีก .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รถทัวร์โดยสารชนท้ายเทรลเลอร์ เสียชีวิต-บาดเจ็บจำนวนมาก

รถทัวร์โดยสารชนท้ายรถบรรทุกเทรลเลอร์ บนถนนสาย 304 จังหวัดปราจีนบุรี ทำให้ไฟลุกไหม้รถทัวร์โดยสาร เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก

ชาวบ้านยอมรับค่าเยียวยาหลังละ 1 หมื่นบาท จากเจ้าของที่ดิน

ชาวบ้านยอมรับการเยียวยา บ้านละ 1 หมื่นบาท จากเจ้าของที่ดินใน จ.ระยอง หลังถมที่สูงมิดหลังคาของเพื่อนบ้าน และรับปากจะเร่งแก้ไขให้ทันหน้าฝนที่จะถึงนี้ แต่ชาวบ้านยังหวั่นใจ หากแก้ไขไม่ทันก็ยังจะเดือดร้อน น้ำจะไหลลงมาบ้านที่อยู่ต่ำกว่า

“พีช” หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายแล้ว

“นายกเบี้ยว” พร้อมลูกชาย หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายก่อนแล้ว จึงฝากจดหมายขอโทษไว้ ด้าน “กัน จอมพลัง” ยอมถอย ให้สองฝ่ายพูดคุย แต่ต้องเป็นรูปธรรม

ข่าวแนะนำ

โป๊ปฟรังซิส สิ้นพระชนม์แล้ว ขณะพระชนมายุ 88 พรรษา

สำนักวาติกัน แถลงผ่านทางโทรทัศน์ของสำนักวาติกันว่า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกและพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกันสิ้นพระชนม์แล้วในวันนี้

นายกฯ ปัดตอบ ผลสำรวจอยากให้ปรับ ครม.

“นายกฯ อิ๊งค์” ไม่ตอบคำถามผลสำรวจอยากให้ปรับ ครม. บอกพรุ่งนี้ตอบทีเดียว ก่อนแซว “ประเสริฐ” ปรับให้แล้ว เหตุพูดตำแหน่ง “จุลพันธ์” ผิด จาก รมช.คลัง เป็น รมช.มหาดไทย

Pope inaugurated the Holy Year on Christmas Eve on December 24, 2024

เปิดพระประวัติโป๊ปฟรังซิส

วาติกัน 21 เม.ย.- เว็บไซต์ข่าวโทรทัศน์ซีเอ็นบีซี (CNBC) ของสหรัฐ เปิดพระประวัติที่น่าสนใจ 10 ประการของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกและพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน ที่สิ้นพระชนม์วันนี้ (21 เม.ย.68) ขณะมีพระชนมายุ 88 พรรษา ประการที่ 1 ทรงเป็นพระสันตะปาปาลาตินอเมริกันและเยสุอิตคนแรก สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส มีพระนามเดิมว่า ฮอร์เก มาริโอ เบร์โกกลิโอ ประสูติวันที่ 17 ธันวาคม 2479 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา เป็นพระสันตะปาปาลาตินอเมริกันคนแรกของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก แตกต่างจากผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาเกือบ 200 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอิตาลี ทรงมาจากนอกทวีปยุโรปในฐานะพระสันตะปาปาพระองค์ที่ 266 และเป็นนักบวชคณะเยสุอิตคนแรกที่ขึ้นดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา ประการที่ 2  ทรงมีพื้นเพมาจากอิตาลี แม้ว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสประสูติในอาร์เจนตินา แต่ท่านมีมรดกทางชาติพันธุ์จากอิตาลี จากการที่บิดามารดาเป็นผู้อพยพชาวอิตาลี บิดาทำงานเป็นนักบัญชีในทางรถไฟ ขณะที่มารดาอุทิศตนให้กับการเลี้ยงลูกทั้ง 5 คน ประการที่ 3 ทรงศึกษาด้านเคมีและปรัชญา สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสศึกษาปรัชญาและมีปริญญาโทในด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส ทรงศึกษาในโรงเรียนเทคนิคและได้ฝึกอบรมเป็นช่างเทคนิคเคมี ก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนาแห่งอัครสังฆมณฑลบิญญา เดโวโต […]