ปรับ 1.2 แสน อดีต มท.1 รับของเกิน 3 พัน

กรุงเทพฯ 3 ก.ค. – ศาลฎีกานักการเมืองพิพากษาปรับ 1.2 เเสน “จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ” คดีรับตั๋วเครื่องบินอีสท์วอเตอร์


ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อม.14/2565 หมายเลขแดงที่ อม.19/2566 ที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้อง นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำเลย โดยยื่นฟ้องวันที่ 18 ส.ค. 2565 กล่าวหาว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้จากบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) (บริษัทจัดการฯ) หรืออีสท์ วอเตอร์ ซึ่งมิใช่ญาติ โดยรับตั๋วโดยสารเครื่องบินเดินทางไปและกลับระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนคำนวณเป็นเงินได้จำนวน 39,300 บาท และรับตั๋วโดยสารเครื่องบินเดินทางไปและกลับระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียคำนวณเป็นเงินได้จำนวน 20,780บาท

การรับซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีราคาเกินกว่าสามพันบาทที่มิใช่ทรัพย์สินและประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย ทั้งมิใช่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดย ธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2543 ข้อ 5 ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 103, 122 พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 4,128,169,194 แต่จําเลยไม่มาศาลโดยแต่งตั้งทนายความมาดำเนินการแทนและให้การปฏิเสธ  จึงพิจารณาคดีโดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจําเลย


เมื่อศาลฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าทางไต่สวนนาย ช. กรรมการบริหารและการลงทุนบริษัทจัดการฯ ขณะเกิดเหตุ เบิกความขัดแย้งแตกต่างกันรับฟังไม่ได้แน่ชัดว่าจำเลย ทีมงานของจำเลยหรือบุตรชายของจำเลยเป็นผู้นำเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินไปมอบให้พยาน ไม่อาจรับฟังเป็นความจริงได้ ทั้งคำเบิกความยังขัดแย้งกับคำให้การจำเลยที่ว่าจำเลยให้ทีมงานของจำเลยไปจัดซื้อ ตั๋วโดยสารเครื่องบินด้วย ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินหรือให้ทีมงานของจำเลยไปจัดซื้อ เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นมาของการออกตั๋วโดยสารเครื่องบินและการชำระเงิน ได้ความว่ากรรมการบริหารและการลงทุนบริษัทจัดการฯ เป็นผู้ดำเนินการออกตั๋วโดยสาร เครื่องบิน โดยให้บริษัท อ. และบริษัท ร. เป็นผู้จองและออกตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้วเรียกเก็บเงินค่าตั๋วโดยสาร เครื่องบินจากบริษัทจัดการฯ ต่อมาบริษัทจัดการฯ อนุมัติให้ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินดังกล่าวจากเงินค่ารับรองกรรมการ (ตั๋วเครื่องบินรับรองลูกค้าบริษัท) แล้ว พยานหลักฐานที่ไต่สวนจึงรับฟังเป็นความจริง ได้ว่าบริษัทจัดการฯ เป็นผู้ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบริษัทจัดการฯ ชำระเงิน ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินหลังจากที่จำเลยใช้ตั๋วโดยสารเครื่องบินเดินทางก็ตาม

แต่เหตุดังกล่าวเป็นผล สืบเนื่องมาจากการดำเนินการของบริษัทจัดการฯ ในการเบิกเงินค่ารับรองกรรมการเพื่อชำระเงินค่าตั๋วโดยสาร เครื่องบินเท่านั้น ส่วนที่บริษัท อ. และบริษัท ร. คืนเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินให้แก่บริษัทจัดการฯ นั้น ก็เป็น การกระทำที่เกิดขึ้นหลังจากที่บริษัทจัดการฯ ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้ว กรณีจึงไม่มีผลทำให้บริษัท จัดการฯ มิใช่เป็นผู้ที่ไม่ได้ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน เมื่อขณะเกิดเหตุจำเลยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการฯ และตามรายละเอียดแนวทางการใช้จ่ายค่า รับรองของคณะกรรมการบริษัท บริษัทจัดการฯ ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินค่ารับรองในนามคณะกรรมการบริษัท ให้จำเลยได้ ประกอบกับตามหนังสือของกระทรวงมหาดไทยยืนยันว่า ขณะเกิดเหตุในระบบสารบัญของ สำนักรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ไม่พบว่ามีการขออนุญาตเดินทางไปราชการต่างประเทศของจำเลย

ทำให้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยไม่ได้เดินทางไปราชการที่สาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศมาเลเซีย แต่เป็นการเดินทางไปส่วนตัวแล้ว ทั้งทางไต่สวนได้ความจากคำเบิกความของนาย ช. กรรมการบริหารและการ ลงทุนบริษัทจัดการฯ ขณะเกิดเหตุว่า บุตรชายของจำเลยให้ดูแลจำเลยในการเดินทางไปยังสาธารณรัฐ ประชาชนจีนและประเทศมาเลเซีย กับเดินทางไปพร้อมจำเลยด้วย จึงเชื่อว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าบริษัทจัดการฯ เป็นผู้ซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบินให้จำเลยโดยกรรมการบริษัทเป็นผู้ขออนุมัติเบิกเงินจากเงินค่ารับรองกรรมการ ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน และการที่จำเลยใช้ตั๋วโดยสารเครื่องบินเดินทางไปกลับ บ่งชี้ได้ว่าจำเลยมี เจตนารับตั๋วโดยสารเครื่องบินนั้น เมื่อตั๋วโดยสารเครื่องบินมีราคา เกินกว่า 3,000 บาท ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยรับตั๋วโดยสารเครื่องบินเดินทางไปกลับระหว่างกรุงเทพ – ปักกิ่ง และกรุงเทพ – กัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็น ประโยชน์อื่นใดซึ่งมีราคาหรือมูลค่าเกิน 3,000 บาท จากบริษัทจัดการฯ ซึ่งมิใช่ญาติ จึงเป็นความผิดตามฟ้อง


ศาลพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 122 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้าง มากให้ลงโทษปรับกระทงละ 60,000 บาท รวม 2 กระทง เป็นปรับ 120,000 บาท หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30.-สำนักข่าวไทย  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เพลิงไหม้โรงอบลำไย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

เพลิงไหม้โรงงานอบลำไย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เจ้าหน้าที่เร่งนำรถดับเพลิงเข้าระงับเหตุ เพื่อควบคุมเพลิงไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่ใกล้เคียง เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้

พุ่งไม่หยุดราคาทองคำโลกนิวไฮอีก คาดไปต่อถึง 3 พันดอลลาร์/ออนซ์

ราคาทองคำตลาดโลกพุ่งแตะ 2,800 ดอลลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ นักวิเคราะห์คาดมีโอกาสพุ่งต่อถึง 3,000 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่งผลราคาทองไทยวันนี้ขึ้นต่อจากราคาปิดวานนี้ และทำนิวไฮเท่าวานนี้

ข่าวแนะนำ

สาว อบต.ตกใจ ตำรวจตามรอยเงิน 39 ล้านบาท ที่แท้ชื่อซ้ำกัน

สาว อบต. ตกใจ ตำรวจมาถึงที่ทำงาน ถามถึงเงิน 39 ล้านบาท ที่แท้ชื่อซ้ำกัน ยันไม่เคยรู้จัก “มาดามอ้อย-ทนายตั้ม” มาก่อน

นายกฯ ขีดเส้น 30 วัน ออกมาตรการคุมสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ

นายกฯ สั่ง พาณิชย์-ดิจิทัลฯ เข้ม 3 มาตรการ คุมสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศให้มีคุณภาพ ขีดเส้นให้เสร็จภายใน 30 วัน

“มาริษ” ประท้วงอิสราเอล หลังแรงงานไทยดับ 4

“มาริษ” รมว.ต่างประเทศ ร่อนหนังสือ​ประท้วงอิสราเอล หลังแรงงานไทยดับ 4 เจ็บ 1 ให้ยุติส่งเข้าพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมยับยั้งชั่งใจ ป้องกันความขัดแย้งขยายตัว ขอคนไทยชะลอการเดินทางไปอิสราเอล-ตะวันออกกลาง