อุปสรรคการแก้ปัญหา Fake news ในช่วงหาเสียงของสหรัฐ

นอกจากสร้างความสับสนให้กับผู้ลงคะแนนแล้ว ข้อมูลเท็จจากการหาเสียงของนักการเมืองยังส่งผลกระทบต่อเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งอีกด้วย

เส้นทางการต่อสู้ Fake News ช่วงเลือกตั้งในออสเตรเลีย

ส่วนการเผยแพร่ข้อมูลเท็จระหว่างหาเสียงของนักการเมือง นอกจากจะไม่มีมาตรการควบคุมที่ชัดเจนแล้ว หากผู้สมัครได้รับการเลือกตั้ง ผลประโยชน์มหาศาลที่รออยู่ข้างหน้า คือเหตุผลมากพอที่ผู้สมัครจะเลือกทำทุกวิถีทางเพื่อชัยชนะ

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : คำเตือน แบตฯ รถ EV เสื่อมง่าย ไม่คุ้มค่า จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์คำเตือนว่า แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า เสื่อมง่าย 5-8 ปี ใช้แล้วก็หมดราคา ไม่คุ้มค่าที่จะซื้อนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับนายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สรุปว่า เมื่อใช้รถยนต์ไฟฟ้าไป 5-8 ปี ราคาขายต่อรถยนต์ไฟฟ้ามือสองอาจจะน้อยกว่ารถยนต์สันดาป ส่วนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าทั่วไปจะมีอายุการใช้งานมากพอสมควร และหากเปรียบเทียบราคานี้มีผลต่อค่าใช้จ่ายรวม เมื่อหักลบส่วนที่ประหยัดได้เมื่อเทียบกับรถน้ำมันแล้วยังคุ้มค่าที่จะใช้ การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งทางค่ายผู้ผลิตแบตเตอรี่โดยตรงและค่ายผู้ผลิตรถยนต์เอง การพัฒนานี้ก็เพื่อให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตถูกลงและสามารถเข้าถึงได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : สุทธิมนัส ชินอัครพงศ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

โมเดลลิ่งปลอม ! หลอกปั้นเด็ก ที่แท้หวังโกงเงิน | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

กรุงเทพฯ 11 พ.ค. 66 – รู้ทันมุกใหม่แก๊งมิจฉาชีพ ‘Kid Model’ โมเดลลิ่งปลอม หลอกปั้นเด็กเป็นดาว ที่แท้หวังโกงเงิน กลโกงของคนร้าย  1. มิจฉาชีพโฆษณาผ่านทางเฟซบุ๊กเชิญชวนผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าคัดเลือกเป็นดารา2.ผู้เสียหายหลงเชื่อส่งภาพและคลิปแสดงความสามารถของบุตรหลาน3.มิจฉาชีพหลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันและกดไลก์รูปเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเด็ก พร้อมบอกโอนเงินจำนวนน้อยเป็นการมัดจำ โดยคนร้ายอ้างว่าเป็นการยืนยันว่าสนใจเข้าร่วมและเป็นการทดสอบระบบ จากนั้นจึงโอนเงินคืนผู้เสียหาย4.ครั้งแรกได้รับเงินคืน ครั้งต่อมาให้ดำเนินการตามเดิมแต่มูลค่ายอดรวมสินค้าสูงขึ้น แต่ไม่ได้รับเงิน โดยอ้างว่าระบบมีปัญหา ผิดเงื่อนไข โอนเงินคืนไม่ได้ คนร้ายจะชักชวนและดำเนินการจนผู้เสียหายเชื่อใจ จากนั้นจึงทำการหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินเป็นจำนวนมากและแจ้งว่าทำผิดเงื่อนไข จึงไม่ได้รับเงินคืน ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ⚠️ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน ⚠️  ไม่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพ  ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์  

คุยเบื้องหลังโปรเจกต์ใหม่ ชัวร์ก่อนแชร์ – ‘หนูฮาแอนด์บีบี้’ ละครสั้นเตือนภัยไซเบอร์

12 พฤษภาคม 2566 ครั้งแรกของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท กับการทำละครสั้น “หนูฮาแอนด์บีบี้ ตะลุยภัยไซเบอร์” โดยมีตัวละครสมมติอย่าง “หนูฮา” และ “บีบี้” เด็กสาวสองเพื่อนซี้ มาถ่ายทอดภัยร้ายในมุมมองของผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อบนโลกไซเบอร์ในสถานการณ์ที่หลากหลาย อย่างที่ทราบกันดีว่า ในยุคที่โลกเดินไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด ข่าวสารก็แพร่กระจายได้รวดเร็วไม่ต่างกันผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้คนบางกลุ่มพยายามหาผลประโยชน์จากความสะดวกสบายนี้ หนูฮากับบีบี้จึงมาเป็นตัวแทนของคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน จนในบางทีก็หลงลืมที่จะป้องกันตัวเองจากภัยร้ายบนโลกออนไลน์ หรืออาจจะไม่เคยรู้เรื่องเหล่านี้มาก่อน ละครสั้นสอดแทรกกลลวงบนโลกอินเทอร์เน็ตชุดนี้ เป็นหนึ่งในโปรเจกต์ของนักศึกษาฝึกงานคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาไทยจากรั้ว มศว 4 คน ได้แก่ นางสาวพิชชาภา ชุกชุม (พิชชา) นางสาวพาพร พฤทธิสาริกร (เบลล์) นางสาวกัญญาลักษณ์ ยอดเยี่ยมแกร (นานา) และนางสาวเบญจมา ส้มเช้า (เมย์) น้อง ๆ ทั้งสี่คนได้ร่วมกันผลิตละครสั้นชุดนี้ขึ้นมา ภายใต้การดูแลของ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” หรือที่เรารู้จักกันดีในบทบาทของรายการตรวจสอบข้อมูลเท็จ ที่ออนแอร์ให้ทุกคนได้รับชมกันในช่วงข่าวค่ำของทุกวัน ผ่านช่อง 9 MCOT HD “การที่ทีมผลิตเนื้อหา ยกสถานการณ์ในห้องน้ำมาเป็นสถานที่ในการเล่าเรื่อง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ EXCLUSIVE : ยาหอมและฮีทสโตรก

6 พฤษภาคม 2566 – ยาหอมป้องกันฮีทสโตรกได้จริงหรือ ? สัญญาณอาการฮีทสโตรกมีอะไรบ้าง ? การอมยาหอมไว้ใต้ลิ้นเป็นอันตรายไหม ? และยาหอม ใช้แค่ไหนจึงจะปลอดภัย และตรงสรรพคุณ ? เรื่องนี้ตรวจสอบกับ : ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ยาหอมป้องกันฮีทสโตรกได้จริงหรือ ? ตอบ : ยาหอมลดความร้อนในร่างกายได้จริง แต่ต้องเลือกใช้ชนิดที่มีส่วนประกอบของเกสรดอกไม้และต้องใช้ควบคู่กับมาตรการป้องกัน แต่หากมีอาการรุนแรง ควรต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันที่สำคัญ เช่น ไม่ไปที่ร้อนจัด ไม่ทำงานกลางแดดจัดเป็นเวลานาน ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ การอมยาหอมไว้ใต้ลิ้นเป็นอันตรายไหม ? ตอบ : สามารถทำได้ โดยการอมไว้ใต้ลิ้นแล้วค่อย ๆ ละลาย แต่อาจารย์แนะนำว่าการนำไปละลายน้ำแล้วค่อย ๆ จิบ จะรับประทานได้ง่ายกว่าการอมไว้ใต้ลิ้น อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงควรเข้าสู่กระบวนการรักษาและช่วยเหลือตามระดับความรุนแรง โดยเฉพาะหากหมดสติ ห้ามให้ผู้ป่วยรับประทานสิ่งใด ๆ เด็ดขาด เพื่อป้องกันการสำลัก ยาหอม ใช้แค่ไหนจึงจะปลอดภัย ? ตอบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : คอนแทคเลนส์แก้สายตายาว

7 พฤษภาคม 2566 – ปัญหาสายตายาว สามารถแก้ด้วยคอนแทคเลนส์ ได้หรือไม่ ? และใครควรใช้ หรือไม่ควรใช้ ? ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะสายตายาว 1.สายตายาวแต่กำเนิด เกิดจากการที่กระบอกตาสั้นกว่าปกติหรือกระจกตามีความโค้งน้อยกว่าปกติ ทำให้แสงไปกระทบที่จอประสาทตา จึงไม่มีระยะที่ชัดทั้งใกล้และไกล 2.สายตายาวตามวัย คนที่มีปัญหาสายตายาวเมื่อถึงวัย 40 ปีขึ้นไป เกิดจากการที่เลนส์แก้วตาแข็งขึ้น ความยืดหยุ่นน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น ทำให้มีความยากลำบากในการมองระยะใกล้ คอนแทคเลนส์สายตายาว จะมีการใส่คอนแทคเลนส์ในตาข้างที่ไม่ถนัด ให้สามารถมองใกล้ชัด ส่วนตาข้างที่ถนัด ยังคงใช้คอนแทคเลนส์อันเดิมเพื่อมองไกลชัด ต้องอาศัยการปรับตัวในการใช้ตา 2 ข้างพร้อมกันในการมองเห็นชัดเจนทั้งระยะใกล้และระยะไกล แต่การใส่คอนแทคเลนส์มีข้อจำกัดที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในเรื่องของความสะอาด หรือ ระยะเวลาการใช้งาน และต้องระวังในเรื่องของการติดเชื้อของดวงตาอีกด้วย ทั้งนี้แพทย์แนะนำว่า ไม่ควรซื้อคอนแทคเลนส์สายตายาวทางออนไลน์ และต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเสียก่อน เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัด ไปใช้ในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละรายบุคคล สัมภาษณ์เมื่อ : 8 มีนาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

Dirty Tricks การใช้ข่าวปลอมโจมตีคู่แข่งทางการเมือง ตอน 2 ล้วงความลับพรรคฝ่ายตรงข้าม

Dirty Tricks คือการโจมตีฝ่ายตรงข้ามด้วยข้อมูลเท็จ ที่สร้างขึ้นให้ผู้คนหลงเชื่อโดยเฉพาะ

ระวัง ! เว็บไซต์การประปานครหลวงปลอม หลอกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : แอบอ้างชื่อ และสื่อประกอบคล้ายคลึงกับเว็บไซต์จริงของการประปานครหลวง (กปน.)อุบาย : ใช้เว็บไซต์ปลอม หลอกให้กรอก และบันทึกข้อมูลส่วนตัว เพื่อนำไปใช้โจรกรรมข้อมูลทางการเงินช่องทาง : เว็บไซต์ การประปานครหลวงเตือนภัย มิจฉาชีพปลอมเว็บไซต์ขององค์กร หลอกให้บันทึกข้อมูลส่วนตัว หวังฉวยไปใช้โจรกรรมข้อมูลทางการเงิน ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ย้ำ ! ไม่มีการเปลี่ยนแปลง URL ใหม่แต่อย่างใด กรุงเทพฯ 8 พ.ค. 66 – นางชวิณา วิรัตน์โยสินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร การประปานครหลวง (กปน.) ประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพปลอมเว็บไซต์ขององค์กร หลอกให้กรอก และบันทึกข้อมูลส่วนตัว เพื่อนำไปใช้โจรกรรมข้อมูลทางการเงิน สร้างเว็บไซต์ปลอม หลอกชิงข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าจากการตรวจสอบของการประปานครหลวง (กปน.) พบว่า ปัจจุบันมีเว็บไซต์ปลอมขององค์กรจำนวนมากกำลังระบาดอยู่ตามช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ โดยมิจฉาชีพคิดฉวยโอกาสจากความไม่รู้ของประชาชน ประกอบกับเจตนาร้าย หวังสร้างความเสียหายจึงเลือกใช้วิธีเลียนแบบเว็บไซต์ ให้มีชื่อและสื่อประกอบคล้ายคลึงกันกับเว็บไซต์ของจริง เมื่อลูกค้าคลิกเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ดังกล่าวก็จะพบกับหน้ากรอกข้อมูลส่วนตัว กับดักสำคัญที่มิจฉาชีพจะดึงข้อมูลไปใช้โจรกรรมข้อมูลทางการเงินได้ ซึ่งในขั้นตอนนี้ หากลูกค้าหลงเชื่อจนบันทึกข้อมูลจริงจะถือว่าตกเป็นเหยื่อทันที การประปานครหลวง ย้ำ ! ไม่มีการเปลี่ยนแปลง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีการใช้หน้ากากอนามัย ป้องกันไวรัสอย่างถูกต้อง จริงหรือ ?

3 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีที่มีการแชร์เกี่ยวกับวิธีการใช้หน้ากากอนามัยไว้มากมาย เช่น ห้ามใช้แอลกอฮอล์พ่นหน้ากากอนามัยเพราะจะทำให้เสื่อมประสิทธิภาพ หรือ หน้ากากผ้าที่เราใช้กันนั้นป้องกันโควิด-19 ไม่ได้ เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1  : มีวิธีใช้หน้ากากอนามัยหลายวิธี จริงหรือ ? บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำวิธีใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง โดยผู้ป่วยกับคนที่ไม่ป่วยจะต้องใช้สลับด้านกัน เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : พญ.จริยา แสงสัจจา ผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “การใส่หน้ากากอนามัยมีแบบเดียว คือใส่ให้ด้านที่มีสารเคลือบกันน้ำหรือด้านมัน ออกข้างนอกเสมอ และเมื่อสวมใส่ก็ควรจะกดพลาสติกให้แนบกับสันจมูกและใบหน้าของเราอยู่เสมอ” อันดับที่ 2  : หน้ากากผ้าป้องกันโควิด-19 ไม่ได้ จริงหรือ ? บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่าหน้ากากผ้าอาจไม่สามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 และการแพร่กระจายได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ :  นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย […]

1 97 98 99 100 101 278
...