ชัวร์ก่อนแชร์: ธงสีรุ้งรุ่นใหม่ สนับสนุนคนเป็นโรค “ใคร่เด็ก” จริงหรือ?

สี ฟ้า ชมพู และขาว ที่ประดับบนธง Progress Pride Flag นำมาจากสีธง Transgender Pride Flag ไม่เกี่ยวข้องกับธง NOMAP Pride Flag ของกลุ่มคนที่ชื่นชอบเด็กแต่ไม่มีพฤติกรรมล่วงเกิน

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : เผลอกดปุ่ม Push Start ทำเครื่องยนต์ดับ จริงหรือ ?

27 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์ข้อความเตือนว่า รถยนต์ที่มีปุ่มกดสตาร์ทเครื่อง หรือ push start หากเผลอกดเวลาขับรถอยู่ รถอาจดับได้ ทำให้พวงมาลัยล็อก เบรกไม่ทำงานนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ระบุว่า ไม่เป็นความจริง เพราะรถแต่ละคันจะมีระบบเซฟตี้เพื่อป้องกันการกดปุ่ม Push Start โดยไม่ตั้งใจอยู่แล้ว เมื่อกดปุ่ม Push Start ขณะที่รถกำลังวิ่งจะเกิดอะไรขึ้น ? หากเป็นการกดแล้วรีบปล่อยในทันทีรถจะไม่ดับแน่นอน แต่หากกดนาน 2-3 วินาที ตัวรถถึงจะเริ่มมีการดับลง หรือในรถบางรุ่น บางยี่ห้อ ต้องมีการกดปุ่ม 3 ครั้งต่อกัน จึงจะสามารถดับรถขณะกำลังวิ่งอยู่ได้ หากเผลอกดปุ่ม Push Start ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อรถดับลงจริง ๆ ทั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องยนต์ก็จะหยุดทำงานทันที เพราะถือว่าเราตั้งใจดับเครื่อง  สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับผู้ขับขี่ คือ 1.ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ไม่ทำงาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : “บูลลี่” ในโรงเรียน

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูล : รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์ (กุมารแพทย์ เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองเด็ก) 🎯 เกิดเหตุการณ์เศร้าสะเทือนขวัญ วันอังคาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ช่วงพักเที่ยง ณ โรงอาหารโรงเรียนแห่งหนึ่ง นักเรียนรุ่นพี่ อายุ 16 ปี ใช้ขวานจามศีรษะ นักเรียนรุ่นน้อง อายุ 14 ปี ทั้งคู่มีเรื่องทะเลาะวิวาทกันมานานหลายเดือนแล้ว รุ่นพี่ต่อยแพ้รุ่นน้องตลอด และถูกเพื่อนร่วมชั้นบูลลี่ จนเกิดความอับอายและเครียด จึงก่อเหตุทำร้ายรุ่นน้องเสียชีวิต 🎯 ในภาษาไทยมีคำว่า กลั่นแกล้ง ข่มเหง รังแก และ ล้อเลียน สำหรับภาษาอังกฤษที่คุ้นเคยกัน  คือ bully และ bullying เมื่อพูดถึงการกลั่นแกล้ง ข่มเหง รังแก และ ล้อเลียน ส่วนใหญ่รู้จักคำทับศัพท์ “บูลลี่” บางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจาก “บูลลี่” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แผ่นแปะจมูกแก้นอนกรน ใช้ได้จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ “แนะนำแผ่นแปะจมูกช่วยลดอาการนอนกรน ลดอาการคัดจมูก หายใจได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับคนนอนกรน” นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ มีคำอธิบายเพิ่มเติม ❌ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องแผ่นแปะลดอาการคัดจมูก ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนให้ใช้ โดยกลไกแล้วยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องของจมูกผู้ป่วยได้อย่างชัดเจนมากนัก ถ้าจะบอกว่าแผ่นแปะชนิดนี้ช่วยลดอาการนอนกรน ยิ่งจะต้องอาศัยการประเมินหลายอย่าง โดยภาพรวมไม่แนะนำให้ใช้รักษาอาการนอนกรน การรักษาอาการนอนกรน สิ่งแรกจะต้องประเมินก่อนว่าโครงสร้างที่อธิบายการนอนกรนหรือการหยุดหายใจขณะหลับอยู่ตรงไหนในทางเดินหายใจ ตั้งแต่จมูก ไล่ลงไปเพดานอ่อน คอหอย โคนลิ้น กล่องเสียง แต่แนวทางปฏิบัติควรแก้ไขตามสาเหตุ 👉 อาการคัดจมูก มีหลายสาเหตุ “คัดจมูก” อธิบายได้หลายสาเหตุมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเยื่อบุโพรงจมูก ไซนัสมีการอักเสบ อย่างเช่นภูมิแพ้หรือแพ้อากาศ ปัญหาของโครงสร้างในโพรงจมูก ผนังกั้นจมูกคด มีเยื่อบุหนาตัวขึ้นมาจนโพรงจมูกแคบ ไปจนถึงเรื่องน่ากังวลมากกว่านั้น คือเนื้องอกในโพรงจมูก ทั้งหมดนี้สามารถอธิบายอาการคัดจมูกได้ ดังนั้น เราจะเห็นว่าโรคทางจมูกแต่ละโรค มีแนวทางการรักษาของตัวเองอย่างถูกต้องเหมาะสมอยู่แล้ว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : บริหารใบหน้าด้วย “ท่าสิงโต” แก้นอนกรนได้ จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์แนะนำว่า “ทำท่าสิงโตแก้นอนกรน ให้แลบลิ้นยาว ๆ เหลือบตามองบน บริหารก่อนนอน ทำต่อเนื่องอย่างน้อย 7 วัน อาการนอนกรนหายแน่นอน” นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ มีคำอธิบายเพิ่มเติม ❌ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล การแลบลิ้น เหลือบตา แบบท่าสิงโต แก้อาการนอนกรน มีบางส่วนถูก แต่ก็มีบางส่วนที่ผิดอยู่ ท่าแลบลิ้นที่แนะนำ คล้ายคลึงกับการออกกำลังกายโคนลิ้น ซึ่งในระยะหลังมีคำแนะนำการออกกำลังกายบริเวณช่องคอและโคนลิ้น เพื่อเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอหอย คาดว่ากล้ามเนื้อมีความตึงตัวดี การนอนกรนและการหยุดหายใจขณะหลับก็จะดีมากขึ้นด้วย 👉 การออกกำลังกายโคนลิ้น ทางการแพทย์เรียกว่าอะไร ? การออกกำลังกายโคนลิ้น โดยทั่วไปมีแนวทางอยู่หลายท่า เช่น มีการขยับปาก ขยับลิ้น แตะกระพุ้งแก้มซ้าย-ขวา แตะเพดาน หรือใส่อุปกรณ์เข้าไป เพื่อให้ผู้ป่วยขยับลิ้นไปแตะ หรือมีอุปกรณ์เป่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิตามินจากแปะก๊วยแก้นอนกรน จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์แนะนำ “ให้กินวิตามินที่ทำจากสารสกัดใบแปะก๊วยแก้อาการนอนกรน” นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ มีคำอธิบายเพิ่มเติม ❌ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ผ่านมามีความพยายามศึกษาประสิทธิผลของแปะก๊วยต่อการนอนหลับ มีข้อมูลว่าแปะก๊วยอาจจะเพิ่มคุณภาพการนอน ระยะเวลาหลับตื้น หลับลึก หลับฝัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลเรื่องการนำแปะก๊วยมาใช้รักษาผู้ป่วยที่นอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ ก่อนอื่น ต้องเข้าใจกลไกการเกิดนอนกรนก่อน หลัก ๆ มีอยู่หลายกลไกด้วยกันที่เกี่ยวกับปัญหาโครงสร้าง เช่น ผู้ป่วยที่ต่อมทอนซิลโต เพดานอ่อนเนื้อเยื่อหย่อน อาจจะทำให้นอนกรนได้ง่าย หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาความตึงตัวของกล้ามเนื้อ รวมถึงผู้ที่มีปัญหาการตอบสนองของระบบทางเดินหายใจต่อการมีค่าออกซิเจนในเลือดลดลง การกินวิตามินเสริมไม่มีบทบาทสำคัญชัดเจนในเรื่องของกลไกการเกิดโรคนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ 👉 การกินวิตามินหรืออาหารเสริมเพื่อรักษาโรคนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ ดีมั้ย ? เรื่องการใช้วิตามินดีหรือไม่ดีจะต้องดูเรื่องคุณภาพของตัวยา ขนาด และไม่สามารถรับรองได้ว่าจะมีผลข้างเคียงหรือไม่เมื่อได้รับสารนั้น ๆ มากเกินไป การพยายามหาทางลัดเพื่อแก้ปัญหากับตัวเองก่อน จะทำให้การเข้าสู่ระบบตรวจประเมินล่าช้าออกไปได้ ถ้ามีอาการนอนกรนหรือว่าสงสัยว่าหยุดหายใจขณะหลับ แต่ถ้าได้รับการตรวจประเมินอย่างรวดเร็วจะเป็นผลดีมากกว่า 👉 นอนกรนรักษาหายขาดได้มั้ย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เลเซอร์รักษานอนกรน จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ “เทคโนโลยีเลเซอร์ สามารถใช้รักษาอาการนอนกรนได้ เพียงเลเซอร์ผ่านช่องปาก รักษานอนกรนได้ผล”นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่ควรแชร์ แต่มีคำอธิบายเพิ่มเติม ❌ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล การนำเลเซอร์มารักษาผู้ป่วยที่นอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับหลายแง่มุม นั่นคือการนำเลเซอร์มาใช้เป็นอุปกรณ์หนึ่งในการผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน แต่จากคลิปวิดีโอที่แชร์กันน่าจะหมายถึงการยิงเลเซอร์เพื่อเพิ่มความตึงตัวของเพดานอ่อน ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการรักษา แต่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหานอนกรนเป็นหลัก ผลที่ได้กับผู้ป่วยจริง ๆ คือเสียงกรนที่เบาลง ในผู้ป่วยที่มีปัญหาอื่นด้วย วิธีการยิงเลเซอร์อาจแก้ปัญหาได้ไม่ครอบคลุม แต่ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงจากการหยุดหายใจขณะหลับการใช้เลเซอร์อาจจะไม่เพียงพอ นอกจากนี้ การจี้บริเวณเพดานอ่อนเป็นเพียงการแก้ปัญหาโครงสร้างเพียงจุดเดียว แต่ผู้ป่วยที่มีปัญหาของโครงสร้างหลาย ๆ ส่วน หรือมีกลไกการเกิดโรคอย่างอื่น จะมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติด้วย การจี้ด้วยเลเซอร์เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ฉะนั้นต้องประเมินความรุนแรงของสาเหตุเพิ่มเติม 👉 อาการนอนกรนมีหลายสาเหตุ จึงควรตรวจหาสาเหตุก่อนเลือกวิธีการรักษา ปกติถ้านอนกรนก็มีคำแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมจากการตรวจร่างกาย ตรวจการนอนหลับ เพื่อประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละคน การนอนกรนและการหยุดหายใจขณะหลับ ต้องตรวจประเมินทางเดินหายใจ ตั้งแต่โพรงจมูก ลงมาถึงเพดานอ่อน คอหอย ทอนซิล จนถึงโคนลิ้นและกล่องเสียง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 ข้อควรปฏิบัติ แก้นอนกรนด้วยตนเอง จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ว่า “5 ข้อแก้นอนกรนด้วยตนเอง เช่น งดดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน ลดน้ำหนัก ห้ามนอนหงาย งดดื่มชากาแฟยามบ่าย”นั้น 📌 บทสรุป :  ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม  ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาพรวม เบื้องต้นทั้ง 5 ข้อ สามารถช่วยเรื่องนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับได้ 👉 ข้อ 1 หลีกเลี่ยงดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน การหลีกเลี่ยงดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน เป็นคำแนะนำโดยทั่วไปที่เพิ่มคุณภาพการนอนอยู่แล้ว เพราะการดื่มแอลกอฮอล์จะมีผลต่อความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และส่งผลต่อการหลับตื้นหลับลึก คุณภาพการนอนแย่ลง อาจจะทำให้เกิดการนอนกรนได้ หรือเป็นคนนอนกรนอยู่แล้วก็จะทำให้การนอนกรนแย่ลงได้อีก 👉 ข้อ 2 ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การลดน้ำหนักช่วยเรื่องนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับได้มาก เพราะคนที่มีน้ำหนักมากจะมีเนื้อเยื่อไขมันบริเวณคอหอย ช่องคอ ทางเดินหายใจค่อนข้างมากตามไปด้วย เรื่องน้ำหนักเกินอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ทางเดินหายใจอุดกั้นได้ง่ายกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้เกิดการนอนกรน และมีหยุดหายใจขณะหลับตามมาด้วย ฉะนั้นคนที่มีน้ำหนักเกินถ้าควบคุมน้ำหนักให้ลดลงมาได้ ก็คาดหวังว่าการนอนกรนหรือการหยุดหายใจขณะหลับจะดีขึ้นได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : นวดหูแก้ปัญหาน้ำในหูไม่เท่ากันได้ จริงหรือ ?

23 มิถุนายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์แนะนำวิธีนวดหู สามารถรักษาอาการน้ำในหูไม่เท่ากันนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า เรื่องที่แชร์ดังกล่าว ไม่เป็นความจริง ยังไม่มีหลักฐานเชิงวิชาการอ้างอิงในเรื่องนี้ จึงไม่ควรแชร์ต่อ การนวดใบหูอาจจะไม่ส่งผลเสียอย่างชัดเจน แต่หากออกแรงนวดมากเกินไปก็ไม่ได้ส่งผลดีแต่อย่างใด อาจทำให้เลือดออกใต้ผิวหนัง หรือใบหูบวมอาจทำให้ใบหูผิดรูปได้ อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน เป็นอาการที่พบบ่อย แต่อาการดังกล่าวไม่ได้เกิดจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากันเท่านั้น อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคของหูชั้นนอก โรคของหูชั้นกลาง เป็นต้น ดังนั้น หากมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน จึงควรมาพบแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งการสืบค้นเพิ่มเติม เพื่อให้ได้การวินิจฉัย สาเหตุของอาการเวียนศีรษะ รวมทั้งการรักษาที่ถูกต้องจะดีที่สุด สัมภาษณ์เมื่อ : 15 มีนาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แอปเปิ้ลไซเดอร์ บำบัด 8 อาการได้ จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ว่า “แอปเปิ้ลไซเดอร์ สามารถบำบัดได้สารพัดโรค ทั้งแก้ท้องเสีย สะอึก อาหารไม่ย่อย ไซนัส เจ็บคอ อ่อนเพลีย ตะคริว และฟันขาว”นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่ควรแชร์  ❌ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ดร.ประมวล ทรายทอง ฝ่ายจุลชีววิทยาประยุกต์ และรองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีการแชร์ว่าแอปเปิ้ลไซเดอร์สามารถบำบัดอาการต่าง ๆ หลายอย่าง บางส่วนก็เป็นเรื่องจริง บางส่วนก็จริงเพียงบางส่วน หรือบางข้อความ และบางส่วนก็ไม่เป็นความจริง 👉 1.ท้องเสีย ให้จิบแอปเปิ้ลไซเดอร์ผสมน้ำสุกเย็นเจือจางทั้งวัน เพราะแอนตี้ไบโอติกในแอปเปิ้ลไซเดอร์จะช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้ได้ ท้องเสียอาจจะเกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อหรืออาหารเป็นพิษจากเชื้อจุลินทรีย์หรือไวรัส หรืออาจเกิดจากกระเพาะหรือลำไล้เป็นแผลแล้วส่งผลให้เกิดอาการท้องเสีย ดังนั้น หากท้องเสียจากการติดเชื้อหรืออาหารเป็นพิษ สามารถดื่มแอปเปิ้ลไซเดอร์ผสมน้ำเจือจางเพื่อช่วยในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ เนื่องจากมีรายงานพบว่าแอปเปิ้ลไซเดอร์มีส่วนยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้ ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องดื่มแอปเปิ้ลไซเดอร์ทั้งวันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาและหาสาเหตุของอาการท้องเสีย จะได้แก้อาการให้ตรงจุด เพราะหากดื่มแอปเปิ้ลไซเดอร์เป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลต่อการเกิดแผลในกระเพาะได้ 👉 2.สะอึก กินแอปเปิ้ลไซเดอร์ […]

1 91 92 93 94 95 278
...