ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ดึงหางแมว เสี่ยงอัมพาต จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนว่าคนที่เลี้ยงแมว ห้ามไปดึงหางแมวเพราะอาจทำให้แมวเป็นอัมพาตได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.น.สพ.ดร.สถาพร จิตตปาลพงศ์ คณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การดึงหางแมวแค่ทำให้แมวรำคาญไม่ได้ส่งความรู้สึกถึงสมอง ยกเว้นจับหางแมวแล้วฟาดตัวกับพื้น ทำให้หัวบาดเจ็บหรือเชิงกรานหัก จึงจะทำให้เป็นอัมพาต เพราะเส้นประสาทขาหลังของแมวจะอยู่บริเวณเชิงกราน นอกจากนี้ ภาพที่แชร์โดยลากเส้นจากหางแมวถึงสมองก็ไม่ตรงกับหลักกายวิภาคสรีระภายในของแมว ซึ่งจริงๆ แล้วกายวิภาคของแมว “หาง” คือส่วนต่อจากกระดูกสันหลังเท่านั้น ไม่ใช่เส้นประสาทถึงสมอง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรดึงหางแมวแรง ๆ เพราะแมวก็มีความรู้สึกเจ็บเช่นกัน

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ผ้าคลุมรถ ทำให้สีของรถยนต์เสียหายได้ จริงหรือ ?

31 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คลิปเตือนผู้ใช้รถยนต์ว่า ผ้าคลุมรถจอดตากแดดตากฝนนาน ๆ สามารถทำให้สีของรถยนต์เสียหายได้นั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อ.จักรวาล บุญหวาน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผ้าคลุมรถ เมื่อต้องจอดตากฝน น้ำฝนจะทำปฏิกิริยากับสีของผ้าคลุมรถ น้ำฝนจะยังขังอยู่ในผ้าคลุมรถกัดกร่อนชั้นเคลือบสีรถเมื่อปล่อยไว้นานก็ยิ่งกัดกร่อนคราบฝังลึก กรณีที่แชร์กันมีการจอดรถคลุมผ้าตากแดดตากฝนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จึงส่งผลให้ชั้นเคลือบผิวสีรถเกิดความเสียหายเป็นรอย ดังนั้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ผ้าคลุมรถ เมื่อต้องจอดรถกลางเเจ้งควรหลีกเลี่ยงการใช้ ผ้าคลุมรถ ที่มีขายตามท้องตลาด แต่คงเปลี่ยนมาใช้ผ้าคลุมรถยนต์กันแดด กันฝนที่มีคุณภาพ สัมภาษณ์เมื่อ : 26 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์: อาวุธสหรัฐฯ ตกอยู่ในมือฮามาสและยังใช้ถล่มกาซา จริงหรือ?

ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าอาวุธที่อามาสใช้โจมตีอิสราเอลเป็นของที่เคยใช้ในกองทัพสหภาพโซเวียต ทางการอิสราเอลพบหลักฐานว่าฮามาสสามารถผลิตอาวุธได้เองในกาซา

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : DIGITAL DUST ? — ร่องรอยแห่งโลกออนไลน์

28 ตุลาคม 2566 – สิ่งนี้… เป็นร่องรอยจากพฤติกรรมการแบ่งปันความชอบบนโลกออนไลน์ และสิ่งนี้…อาจกลายเป็นประวัติที่ถูกบันทึก และขุดคุ้ยจากบุคคลอื่นได้ทุกเมื่อ โดยไม่รู้ตัว คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กันยายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : THE ANAGRAM

❓ GAITSFINCH❓ ตัวอักษรที่สลับกันอยู่ …คือคำว่าอะไร ? มาทายดูกัน ? คำใบ้“การหลอกลวงผู้อื่นทางโลกออนไลน์ด้วยบัญชีปลอมที่เคยเป็นเทรนด์ในการหาคู่อย่างแพร่หลายและเป็นคดีออนไลน์ที่สร้างความเสียหายมาแล้วกว่า 861 ล้านบาท” ร่วมสนุก ลองทายคำตอบกันได้ที่ช่องแสดงความคิดเห็นใต้โพสต์นี้ ✨

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมุนไพร-อาหารเสริม รักษาโรคซึมเศร้า จริงหรือ ?

30 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คำแนะนำว่ามีสมุนไพรสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ เช่น ขมิ้นชัน ใบบัวบก คาโมมาย กระท่อม กัญชา เห็ดหลินจือ กินต่อเนื่อง อาการจะดีขึ้นนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ข้อมูลที่แชร์ว่ามีสมุนไพร หรืออาหารเสริมรักษาโรคซึมเศร้าได้นั้น ไม่เป็นความจริง ส่วนใหญ่เป็นเพียงบรรเทาอาการเท่านั้น ขมิ้นชัน อาจจะมีส่วนช่วยปรับลดอาการซึมเศร้า แต่อย่างไรก็ตามยังไม่ใช่การรักษาหลักอย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานวิจัยรองรับว่าการได้รับสารสกัดจากขมิ้นชันร่วมกับยารักษาโรคซึมเศร้านั้นสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ดีกว่าการได้รับยารักษาโรคซึมเศร้า ใบบัวบก ยังไม่มีการศึกษาว่าใบบัวบกสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ คาโมมาย ช่วยคลายความวิตกกังวลได้ แต่รักษาโรคซึมเศร้าไม่ได้ กระท่อม มีฤทธิ์กระตุ้นให้มีความตื่นตัว แต่จิตใจก็ยังเศร้าอยู่ เมื่อหยุดกระท่อมก็จะทำให้เกิดอาการเพลีย แพทย์ไม่แนะนำ กัญชา สารสกัด CBD ในน้ำมันกัญชา สามารถช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ แต่ก็มีการศึกษาพบว่ากัญชาเพิ่มอัตราความเสี่ยงการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น เห็ดหลินจือ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยทำให้ความรู้สึกอ่อนล้าดีขึ้น แต่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษาโรคซึมเศร้า ส่วนอาหารเสริมที่มีสารไทโรซีน ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ให้ ช่วยลดภาวะความเครียด แพทย์ไม่แนะนำให้นำมารักษาโรคซึมเศร้า แพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีสมุนไพรใดสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ การรักษาด้วยยาในปัจจุบัน คนไข้กลัวว่ายาจะเป็นอันตรายนั้นไม่เป็นความจริง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: แฉผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีโรงพยาบาลกาซา จริงหรือ?

มีการปลอมเพจ Facebook ของ IDF ให้ยอมรับว่าการโจมตีโรงพยาบาลกาซาเป็นฝีมือของอิสราเอล และผู้อ้างตนเป็นผู้สื่อข่าว Al Jazeera อ้างอย่างไม่มีหลักฐานว่าระเบิดเป็นฝีมือของฝั่งฮามาส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตื่นกลางดึก

27 ตุลาคม 2566 – ทำไมเราต้องตื่นกลางดึก ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ เป็นอันตรายหรือไม่ ตื่นแล้วนอนต่อไม่ได้ควรทำอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ : 3 ตุลาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จัก โปรตีนเกษตร

29 ตุลาคม 2566 – ทำไมอาหารชนิดนี้ จึงเรียกว่า โปรตีนเกษตร ที่มาเป็นอย่างไร มีส่วนผสมอะไรบ้าง และควรกินอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.หทัยชนก กันตรง นักวิจัยชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายกระบวนการผลิตและแปรรูป สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โปรตีนเกษตรมีที่มาอย่างไร ? โปรตีนเกษตร เป็นแหล่งโปรตีนที่ได้จากพืช ส่วนใหญ่เป็นโปรตีนจากถั่วเหลือง ผ่านการสกัดเอาน้ำมันออก ผลิตขึ้นรูปโดยกระบวนการ เอกซ์ทรูชัน (extrusion) ผลิตและค้นคว้าโดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ พ.ศ.2512  โดยในช่วงแรก ใช้ชื่อเรียกว่า “เกษตรโปรตีน” จากนั้น มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนสูตร วัตถุดิบหลักและกรรมวิธีการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาเป็นตัวช่วยให้มีรสชาติ สี กลิ่นให้น่ากินมากขึ้น ระยะเวลาการเตรียมและนำไปประกอบอาหารได้สะดวกขึ้น  โปรตีนเกษตร ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้หรือไม่ ? โปรตีนเกษตรจากถั่วเหลืองถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย การกินโปรตีนเกษตร เพื่อทดแทนโปรตีนจากสัตว์สามารถทำได้ แต่ไม่แนะนำให้กินติดต่อกันเป็นเวลานาน แม้ว่าโปรตีนเกษตรจะสามารถทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ แต่โปรตีนเกษตรไม่ได้มีโปรตีนเพียงอย่างเดียว ยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่ให้พลังงาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ภาพเด็กอิสราเอลถูกลักพาตัวที่กาซา จริงหรือ?

คลิปเด็กถูกขังในกรงได้รับการยืนยันว่าเป็นการล้อเล่นของคนในครอบครัวและถูกอัปโหลดก่อนสงครามเริ่มหลายวัน คลิปเด็กหญิงหลงทางถ่ายก่อนสงครามเริ่มนับเดือน ไม่มีหลักฐานว่าเกิดขึ้นในกาซา

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนกลางวัน

26 ตุลาคม 2566 – การง่วงกลางวันมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง และการนอนกลางวันที่ดีเป็นแบบไหน ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ 29 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต กรดไหลย้อน จริงหรือ ?

25 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับกรดไหลย้อนเอาไว้มากมาย ทั้งอันตราย ห้ามนอนตะแคงขวา และการกลั้นผายลมเสี่ยงให้เกิดกรดไหลย้อน ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่  1 : กรดไหลย้อน ห้ามนอนตะแคงขวา จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความว่า คนที่เป็นกรดไหลย้อนห้ามนอนตะแคงขวาโดยเด็ดขาด บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : อ.นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช อายุรแพทย์ระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ ผศ.นพ.โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า มีการวิจัยว่านอนตะแคงขวามีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนมากกว่านอนตะแคงซ้าย  และแม้ว่ากรดไหลย้อนจะไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่เป็นโรคที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต โดยในต่างประเทศคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนรุนแรงนำไปสู่การเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้ แต่ในประเทศไทยยังไม่พบว่ามีอาการรุนแรงเช่นนั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าการนอนให้ศีรษะอยู่สูงจะช่วยป้องกันโรคกรดไหลย้อนได้ดีกว่านอนตะแคง โดยต้องหนุนเตียงให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้วขึ้นไป ไม่ใช่หนุนหมอนสูง ส่วนวิธีป้องกันโรคกรดไหลย้อน คือ ต้องควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป อย่าใส่เสื้อผ้ารัด เลี่ยงอาหารทอด-มัน-รสเปรี้ยวจัด และควรนอนหลังกินอาหารมื้อเย็นแล้วอย่างน้อย 3 ชั่วโมงขึ้นไป ด้าน ผศ.นพ.โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ […]

1 67 68 69 70 71 278
...